Mahidol University
Home Message from the Dean Feedback Sitemap
English Version
เกี่ยวกับบัณฑิตวิทยาลัย ข้อมูลด้านการศึกษา การรับสมัคร ข้อมูลหลักสูตรการศึกษา กิจกรรมต่างๆ งานวิจัย/วิทยานิพนธ์ ทุนการศึกษา กระดานข่าว
       
 
  ข่าวประชาสัมพันธ์  
  ประชุมวิชาการ  
  อบรมและสัมมนา  
  กิจกรรมนักศึกษา  
  บัณฑิตศึกษาสารสนเทศ  
  ข่าวรับสมัครงาน  
  ภาพกิจกรรม  
  Visual media of Interest  
Events
Mahidol University
   
   
เรื่อง บัณฑิตวิทยาลัยขอเชิญ ร่วมโครงการบริจาคโลหิตเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ประจำปี 2553
  Post Date 18 มิ.ย. 2553
 
บัณฑิตวิทยาลัยขอเชิญ ร่วมโครงการบริจาคโลหิตเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ประจำปี 2553

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริจาคเลือด

คุณสมบัติของผู้บริจาคเลือด

1.  อายุ

  • 17 -  60 ปี
  • ผู้ที่มีอายุ 16 ปี จะต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้ปกครองก่อนล่วงหน้าทุกครั้ง

2.  น้ำหนักตัว

  • ไม่ต่ำกว่า 45 ก.ก.

3.  สุขภาพ

  • สุขภาพแข็งแรง
  • นอนหลับอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
  • ควรรับประทานอาหารก่อนการบริจาคเลือด
  • ไม่อยู่ในระหว่างกินยาปฏิชีวนะ หรือ ยากันเลือดแข็ง
  • ไม่ได้รับการถอนฟัน ภายใน 72 ชั่วโมงก่อนการบริจาคเลือด รวมทั้ง ไม่มีบาดแผลสด หรือแผลติดเชื้อตามร่างกาย

4.  ประวัติความเจ็บป่วยด้วยโรคที่อาจถ่ายทอดไปยังผู้ป่วย

  • ไม่มีประวัติเคยเป็นโรคติดเชื้อ โรคไวรัสตับอักเสบชนิดบี หรือชนิดซี
  • ไม่มีประวัติเคยตรวจพบเชื้อโรคตับอักเสบชนิดบี หรือชนิดซีในเลือด
  • ไม่มีประวัติเคยติดเชื้อโรคเอดส์ หรือมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ ได้แก่มีความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้ขายบริการ ทั้งหญิงและชาย, มีพฤติกรรมรักร่วมเพศหรือ เคยใช้ยาเสพติดชนิดฉีด หรือเคยถูกต้องโทษคุมขัง
  • ไม่มีประวัติเป็นโรคมาลาเรียในระยะ 3 ปี
  • ไม่มีประวัติเป็นผู้เสพยาเสพติดชนิดฉีด
  • ไม่เคยได้รับเลือดหรือส่วนประกอบของเลือดภายใน 1 ปี
  • ไม่เคยได้รับการสัก เจาะหู ฝังเข็มภายใน 1 ปี

5.  ไม่มีประวัติความเจ็บป่วยที่การบริจาคเลือดอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเอง ได้แก่

  • โรคเลือดจาง โรคลมชัก โรคความดันโลหิตสูง  เบาหวาน  โรคเลือดออกง่าย
  • โรคหัวใจ  วัณโรค  โรคตับ  โรคไต  มะเร็ง

6.  การฉีดวัคซีนก่อนการบริจาคเลือด

  • Rabies (โรคพิษสุนัขบ้า),Encephalitis (โรคเยื่อหุ้มอักเสบ), Hepatites B Immunoglobulin (ฉีดยาภายหลังการสัมผัสเชื้อ) เว้นระยะ 1 ปี
  • Rubella (หัดเยอรมัน), Chickenpox (อีสุกอีใส),Anti – Tetanus IgG เว้นระยะเวลา   4  สัปดาห์
  • Horse serum เว้นระยะเวลา 3 สัปดาห์
  • Tetanus toxoid เว้นระยะเวลา 48 ชั่วโมง
  • Hepatitis B vaccine บริจาคเลือดได้ ถ้าไม่มีอาการผิดปกติ (สำหรับกรณีให้ vaccine เพื่อป้องกันการติดเชื้อในผู้ที่ไม่เคยได้รับเชื้อมาก่อน)

 

7. ความถี่ของการบริจาคเลือด

  • ผู้ชาย บริจาคเลือดได้ทุก  3 เดือน
  • ผู้หญิง บริจาคเลือดได้ทุก  6 เดือน แต่ต้องไม่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์, ให้นมบุตร หรือกำลังมีประจำเดือน

ขั้นตอนการบริจาคเลือด

     1. ชั่งน้ำหนักตัว
     2. กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มการบริจาคเลือด ได้แก่ ชื่อ นามสกุล อายุ ที่อยู่ที่ติดต่อได้ หมายเลขโทรศัพท์ ฯลฯ
     3. อ่านคำถามสำหรับผู้บริจาคเลือดและตอบตามความเป็นจริง  พร้อมทั้งลงชื่อ
     4. เจ้าหน้าที่ซักถามเกี่ยวกับคุณสมบัติ ประวัติสุขภาพในอดีตและปัจจุบัน วัดความดันโลหิต
     5. ตรวจความเข้มข้นของเลือด โดยเจ้าหน้าที่จะเจาะเลือดที่ปลายนิ้ว ซึ่งถ้าต่ำกว่ามาตรฐาน ห้ามบริจาคเลือด
     6. บริจาคเลือด โดยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญจะเจาะเลือดจากบริเวณข้อพับแขน        (ผู้ที่ต้องการยาชาควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนเจาะ)

  • การบริจาคเลือดกินเวลาประมาณ 5 – 6 นาที
  • อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการเจาะเลือด เป็นของใหม่ที่ผ่านการฆ่าเชื้อเรียบร้อยและใช้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
  • เมื่อบริจาคเลือดเสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่จะปิดแผลให้สำลีและปลาสเตอร์ ควรใช้นิ้วมือกดทับตรงตำแหน่งที่เจาะและเหยียดแขนตรงไม่ง้อพับแขน จนกว่าเลือดจะหยุดไหล

ระยะเวลาในการเจาะเลือด

  • รวมระยะเวลาทั้งสิ้นประมาณ  30 -  45  นาที

การปฏิบัติตัวภายหลังการบริจาค

  • นอนพักสักครู่หลังการบริจาคเลือด ห้ามลุกขึ้นจากเตียงทันที เพราะอาจเวียนศีรษะเป็นลมได้
  • ควรรับประทานขนมหวานและน้ำหวานที่จัดเตรียมไว้ให้
  • เปลี่ยนสำลีปิดแผลด้วยปลาสเตอร์ปิดแผล ซึ่งควรดึงออกทิ้งในตอนเย็นของวันนั้น
  • หากมีอาการผิดปกติ ทั้งก่อน ขณะหรือหลังการบริจาคเลือด เช่น หน้ามืดเวียนศีรษะ ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบทันที
  • หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับคุณสมบัติหรือประวัติที่ทำให้ไม่สามารถบริจาคเลือดได้ กรุณาสอบถามจากเจ้าหน้าที่และขอคำปรึกษาแนะนำจากแพทย์
  • หากมีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นหลังการบริจาคเลือด ควรติดต่อภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด โรงพยาบาลศิริราช ตึก 72 ปี ชั้น 3 หรือโทรศัพท์แจ้งที่หมายเลข  0 – 2412 – 2424

ผลการตรวจเลือด

1.  เลือดของท่านจะได้รับการตรวจต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

    1. หมู่เลือด ABO (A,B,AB,O ) และ Rh (บวกหรือลบ)
    2. ตรวจกรองหาแอนติบอดีต่อแอนติเจนของหมู่เลือดระบบต่างๆ
    3. ตรวจหาร่องรอยการติดเชื้อต่างๆ ที่ถ่ายทอดได้ทางเลือด
    4. โรคเอดส์ (anti-HIV,HIV antigen)
    5. โรคตับอักเสบชนิดบี (HBsAg)
    6. โรคตับอักเสบชนิด ซี (anti – HCV)
    7. โรคซิฟิลิส (VDRL)

2.  การส่งผลการตรวจเลือด
ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือดจะส่งผลดังกล่าวไปให้ท่านที่แจ้งความประสงค์ไว้ พร้อมกับบัตรประจำตัวผู้บริจาคเลือด ภายในเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ สำหรับท่านที่ไม่ต้องการทราบผลการตรวจหาร่องรอยการติดเชื้อ จะแจ้งเฉพาะผลหมู่ตรวจเลือด ABO และ Rh พร้อมกับแจ้งกำหนดนัดวันเจาะเลือด ครั้งต่อไป

                                                                        ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด
คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิดล



ข้อมูลเพิ่มเติม ข้อมูลโดย
โทรศัพท์. 0-2441-4125 ต่อ 214-216 งานบริหารและจัดการทั่วไป
 
ข่าวอื่นๆ
แบบฟอร์มการลงทะเบียน
 
ชื่อ*
ระดับ ปริญญาโท       ปริญญาเอก       อื่นๆ
สาขา
คณะ*
โทรศัพท์ มือถือ
แฟกซ์ อีเมล์

     


Back Go to top page
You are visitor number
Since 14-11-2013
Graduate Studies
Mahidol University