Mahidol University
Home Message from the Dean Feedback Sitemap
English Version
เกี่ยวกับบัณฑิตวิทยาลัย ข้อมูลด้านการศึกษา การรับสมัคร ข้อมูลหลักสูตรการศึกษา กิจกรรมต่างๆ งานวิจัย/วิทยานิพนธ์ ทุนการศึกษา กระดานข่าว
       
 
  ปฏิทินการศึกษา  
  ข้อบังคับ กฎ ระเบียบต่างๆ  
  ข้อกำหนดวิทยานิพนธ์  
  อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา  
  อัตราค่าใช้จ่ายอื่นๆ  
  Download แบบฟอร์มต่างๆ  
  ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ม.มหิดล  
  บริการนักศึกษา  
  ระบบพัฒนาและประกันคุณภาพ
หลักสูตรบัณฑิตศึกษา(Intranet)
 
  การจัดทำเอกสารหลักสูตรระดับ
บัณฑิตศึกษา (Intranet)
 
  จริยธรรมการวิจัย  
  การสอบ/อบรมภาษาอังกฤษ  
  Class Schedule  
Academic Information
Mahidol University
 
เรื่อง การรับโอนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจากสถาบันอื่น พ.ศ. 2553
 
 
   
   

เพื่อให้การรับโอนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจากสถาบันอื่น เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และคงไว้ซึ่งคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล

อาศัยอำนาจตามความในข้อ 52 แห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2552 คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2553 จึงกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้
  1. ในประกาศนี้
    "มหาวิทยาลัย" หมายถึง มหาวิทยาลัยมหิดล

    "หลักสูตร" หมายถึง หลักสูตรสาขาวิชาต่างๆ ในระดับบัณฑิตศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยมหิดลให้ความเห็นชอบให้เปิดสอนและรับนักศึกษาเข้าศึกษาได้

    "คณะกรรมการบริหารหลักสูตร" หมายถึง คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการและพัฒนาหลักสูตร

    "นักศึกษา" หมายถึง นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

    "สถาบันอื่น" หมายถึง สถาบันการศึกษาที่มิใช่มหาวิทยาลัยมหิดล แต่มีฐานะ เทียบเท่ามหาวิทยาลัยมหิดล และได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

    "การรับโอนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจากสถาบันอื่น" หมายถึง การรับนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับบัณฑิตศึกษา สถาบันอื่นเข้ามาเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล

  2. คุณสมบัติของนักศึกษาที่ขอโอนมาศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหิดล
    (1) เป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษา และได้ลงทะเบียนเรียนในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของสถาบันอื่นมาแล้วอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษาโดยได้แต้มเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00

    (2) เป็นนักศึกษาที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

  3. การรับโอนนักศึกษาจากสถาบันอื่น เป็นการรับโอนนักศึกษาเพื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรบัณฑิตศึกษาที่มีระดับการศึกษาระดับเดียวกัน ดังนี้
    (1) ให้นักศึกษาที่ประสงค์จะขอโอนเข้าศึกษาในหลักสูตรบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ทำหนังสือถึงคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ระบุสาขาวิชา คณะ/สถาบัน/วิทยาลัย ที่ประสงค์จะโอนเข้าศึกษาพร้อมเหตุผลที่ขอโอนเข้าศึกษาในหลักสูตรบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และต้องแนบหลักฐานประวัติส่วนตัว และหลักฐานการศึกษาซึ่งประกอบด้วยใบรายงานผลการศึกษา และรายละเอียดทั้งหมดของหลักสูตรอาทิรายวิชาที่ศึกษา คำอธิบายรายวิชาและอื่นๆ เป็นต้น

    (2) บัณฑิตวิทยาลัย เสนอประวัตินักศึกษาและประวัติการเรียนพร้อมรายละเอียดต่างๆ ของหลักสูตร สาขาวิชาที่ศึกษา ณ สถาบันเดิมของนักศึกษา ไปยังคณะกรรมการบริหารหลักสูตรที่ นักศึกษาระบุขอโอนเข้าศึกษา เพื่อพิจารณาการรับโอนนักศึกษาเข้าศึกษา และแจ้งผลการพิจารณารับโอนเข้าศึกษาต่อคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

    (3) ผลการศึกษานอกระบบ และ/หรือ การศึกษาตามอัธยาศัยไม่สามารถเทียบโอนเป็นวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ได้

    (4) การรับและเทียบโอนหน่วยกิตจะพิจารณารับและเทียบโอนหน่วยกิตเฉพาะรายวิชาที่เรียนในระดับบัณฑิตศึกษาโดยการพิจารณาเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ดังนี้
    ก. เป็นรายวิชาที่มีในหลักสูตรที่รับเข้าศึกษา และมีเนื้อหาเทียบเคียงกันได้ไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของรายวิชาที่ขอเทียบโอน
    ข. เป็นรายวิชาที่เรียนมาแล้วไม่เกิน 5 ปีการศึกษา นับจากปีการศึกษาที่ ลงทะเบียนรายวิชานั้น
    ค. เป็นรายวิชาที่ได้รับการประเมินผลได้สัญลักษณ์ไม่ต่ำกว่า B (3.00) หรือเทียบเท่าหรือไม่ต่ำกว่าคะแนนตัวอักษร S (Satisfactory)
    ง. จำนวนหน่วยกิตที่สามารถรับและเทียบโอนสำหรับรายวิชาที่เปิดสอนในต่างสถาบันให้กระทำได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของหน่วยกิตรายวิชาในหลักสูตร
    จ. รายวิชาที่เทียบและโอนหน่วยกิตจะรายงานในใบแสดงผลการศึกษาเฉพาะจำนวนหน่วยกิตและชื่อสถานศึกษาที่หลักสูตรรับโอนโดยไม่นำมาคิดแต้มเฉลี่ยสะสม

    (5) นักศึกษาต้องมีระยะเวลาการศึกษาเพียงพอที่จะลงทะเบียนศึกษา และสามารถสำเร็จการศึกษาภายในกำหนดระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตรที่รับโอนเข้าศึกษาได้ ทั้งนี้นักศึกษาต้อง ลงทะเบียนศึกษาในหลักสูตรที่รับโอนไม่น้อยกว่า 1 ปีการศึกษา

    (6) ในกรณีที่เปิดหลักสูตรใหม่จะรับโอนนักศึกษาได้ไม่เกินกว่าชั้นปีและภาค การศึกษาที่ได้รับอนุญาตให้มีนักศึกษาเรียนอยู่ตามหลักสูตรที่ได้รับความเห็นชอบ

  4. การกำหนดเลขประจำตัวนักศึกษาและการนับระยะเวลาการศึกษา
    การกำหนดเลขประจำตัวนักศึกษา ให้กำหนดจากตัวเลขเริ่มต้น 2 หลักแรกแสดงตาม ปีการศึกษาที่รับโอนนักศึกษาเข้าศึกษา ส่วนการนับระยะเวลาการศึกษาในหลักสูตรที่รับโอนให้เริ่มนับตั้งแต่ปีการศึกษาแรกที่นักศึกษาเข้าศึกษาในสถาบันอื่น



Back Go to top page
You are visitor number
Since 14-11-2013
Graduate Studies
Mahidol University