Mahidol University
Home Message from the Dean Feedback Sitemap
English Version
เกี่ยวกับบัณฑิตวิทยาลัย ข้อมูลด้านการศึกษา การรับสมัคร ข้อมูลหลักสูตรการศึกษา กิจกรรมต่างๆ งานวิจัย/วิทยานิพนธ์ ทุนการศึกษา กระดานข่าว
       
 
  ปฏิทินการศึกษา  
  ข้อบังคับ กฎ ระเบียบต่างๆ  
  ข้อกำหนดวิทยานิพนธ์  
  อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา  
  อัตราค่าใช้จ่ายอื่นๆ  
  Download แบบฟอร์มต่างๆ  
  ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ม.มหิดล  
  บริการนักศึกษา  
  ระบบพัฒนาและประกันคุณภาพ
หลักสูตรบัณฑิตศึกษา(Intranet)
 
  การจัดทำเอกสารหลักสูตรระดับ
บัณฑิตศึกษา (Intranet)
 
  จริยธรรมการวิจัย  
  การสอบ/อบรมภาษาอังกฤษ  
  Class Schedule  
Academic Information
Mahidol University
 
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการเกี่ยวกับนักศึกษาทุจริตการทำวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ พ.ศ. 2549
 
 
 
     
     

โดยที่ เป็นการสมควร กำหนดหลักเกณฑ์และ วิธีดำเนินการ เมื่อนักศึกษาของ มหาวิทยาลัย ถูกกล่าวหาว่า ทุจริตการทำ วิทยานิพนธ์หรือ สารนิพนธ์
อาศัยอำนาจ ตามความใน ข้อ 47.2 แห่งข้อบังคับ มหาวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2549 จึงกำหนด หลักเกณฑ์และ วิธีดำเนินการเกี่ยวกับ นักศึกษาทุจริตการทำวิทยานิพนธ์หรือ สารนิพนธ์ ดังนี้

ข้อ 1  
ให้ยกเลิก ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง หลักเกณฑ์และ วิธีดำเนินการเกี่ยวกับ นักศึกษาทุจริต การทำวิทยานิพนธ์หรือ สารนิพนธ์ พ.ศ. 2548
 
ข้อ 2  
ในประกาศนี้

  "มหาวิทยาลัย"   หมายความว่า มหาวิทยาลัยมหิดล
  "บัณฑิตวิทยาลัย"   หมายความว่า บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
  " คณะ"  
หมายรวมถึง วิทยาลัย สถาบัน ศูนย์ สำนักและ โครงการที่ สังกัดมหาวิทยาลัย รวมทั้ง สถาบันสมทบ
  "อธิการบดี"   หมายความว่า อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
  "คณบดี"   หมายความว่า คณบดีของคณะ ผู้อำนวยการวิทยาลัย สถาบัน ศูนย์ สำนัก และโครงการที่สังกัดมหาวิทยาลัย
  "นักศึกษา"  
หมายความว่า นักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล
  "คณะกรรมการ"  
หมายความว่า คณะกรรมการพิจารณาทุจริตการทำวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์
  "ทุจริตการทำวิทยานิพนธ์
หรือสารนิพนธ์"  หมายความว่า การแสวงหา ผลประโยชน์ โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรือ คำสั่งของมหาวิทยาลัย สำหรับตนเอง หรือผู้อื่น เกี่ยวกับวิทยานิพนธ์หรือ สารนิพนธ์ โดยการคัดลอก ลอกเลียนผลงาน ทางวิชาการของผู้อื่น การละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น การจ้างผู้อื่นทำ หรือรับจ้างทำ การวิจัยวิทยานิพนธ์หรือ สารนิพนธ์ หรือให้ผู้อื่นทำให้ หรือกระทำอื่นใด มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
  "การจ้างหรือรับจ้างทำการ
วิจัยวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์"  หมายความว่า การจ้างทำหรือ การรับจ้างทำ ในขั้นตอนสำคัญของ การดำเนิน การวิจัยวิทยานิพนธ์หรือ สารนิพนธ์ ตามที่ บัณฑิตวิทยาลัย กำหนด
  "การให้ผู้อื่นทำให้"
หมายความว่า การให้ผู้อื่น ทำให้ใน ขั้นตอนสำคัญของ การดำเนินการวิจัย เพื่อวิทยานิพนธ์หรือ สารนิพนธ์ ตามที่ บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด

ข้อ 3  
ขั้นตอนสำคัญ ของการดำเนินการวิจัยวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ ได้แก่

  1.   ขั้นตอน ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
  2.   ขั้นตอน การจัดทำโครงร่างวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์
  3.   ขั้นตอน การทำการทดลอง (ถ้ามี)
  4.   ขั้นตอน การเขียนรายงานการวิจัย
  5.   ขั้นตอน อื่นๆ ตามที่หลักสูตรกำหนด
 
นอกเหนือจาก ขั้นตอนดังกล่าว นี้ หากนักศึกษา มีความจำเป็น ไม่สามารถดำเนินการ ด้วยตนเอง ให้ขออนุมัติ ต่อประธานคณะกรรมการ ควบคุมวิทยานิพนธ์หรือ สารนิพนธ์

ข้อ 4  
เมื่อมีผู้กล่าวหาว่านักศึกษาทุจริตการทำวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์เป็นลายลักษณ์อักษร ให้อธิการบดีแต่งตั้งคณะกรรมการ ประกอบด้วย

  1.   รองอธิการบดี เป็นประธาน
  2.   คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย หรือรองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย เป็นกรรมการ
  3.   คณบดีหรือรองคณบดีคณะที่จัดการเรียนการสอน เป็นกรรมการ
  4.   ผู้เกี่ยวข้องที่อธิการบดีเห็นสมควรอย่างน้อย 2 คน เป็นกรรมการ
  5.   ผู้แทนกองกฎหมาย เป็นเลขานุการ
  6.   เจ้าหน้าที่บัณฑิตวิทยาลัย เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

ข้อ 5  
คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

  1.  
ดำเนินการสอบสวน รวมถึง ให้มีอำนาจ เรียกบุคคลผู้เกี่ยวข้อง มาให้ถ้อยคำหรือ ให้ถ้อยคำเป็น ลายลักษณ์อักษร เรียกเอกสารที่อยู่ ในครอบครองของ บุคคล หรือหน่วยงาน ภายในมหาวิทยาลัย และรวบรวม พยานหลักฐาน ที่เกี่ยวข้อง
  2.  
สรุปผลการสอบสวนและเสนอบทลงโทษต่ออธิการบดี

ข้อ 6  
ในการสอบสวน ตามข้อ 5 คณะกรรมการ จะต้องให้โอกาส ผู้ถูกกล่าวหา ได้ชี้แจง ข้อเท็จจริง หรือนำพยาน หลักฐานมาชี้แจง แก้ข้อกล่าวหาด้วย

ข้อ 7  
ให้คณะกรรมการ ดำเนินการ สอบหาข้อเท็จจริง ให้แล้วเสร็จ ภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่ประธาน ได้รับทราบคำสั่ง แต่งตั้งกรรมการ กรณี ไม่อาจสอบสวน ให้แล้วเสร็จ ตามวรรคก่อน ให้ขอขยายเวลา สอบสวนได้ ไม่เกินสามสิบวัน

 
กรณี ไม่อาจสอบสวน ให้แล้วเสร็จ ตามวรรคก่อน ให้ขอขยายเวลา สอบสวนได้ ไม่เกินสามสิบวัน

ข้อ 8  
เมื่อคณะกรรมการ ดำเนินการสอบสวนเสร็จสิ้นแล้ว ให้เสนอมหาวิทยาลัยพิจารณาลงโทษตามควรแก่กรณี ดังนี้

  1.  
คณะกรรมการ เห็นว่า เป็นเหตุกรณี ที่มิได้เป็นการจงใจ หรือเป็นกรณีที่ นักศึกษาละเลย การดำเนินการ ตามขั้นตอน การทำวิทยานิพนธ์ ที่กำหนดไว้และ ไม่ร้ายแรง อาจปรับให้ การสอบวิทยานิพนธ์หรือ สารนิพนธ์ ปรากฏผลเป็น " ตก " และ นักศึกษาต้องเริ่มขั้นตอน การทำวิทยานิพนธ์หรือ สารนิพนธ์ใหม่ ทั้งนี้ ต้องไม่ถือเป็นเหตุ ให้ต้องมีการ ต่ออายุการศึกษา
  2.  
หากเป็นการทุจริตร้ายแรง ให้เสนอบทลงโทษ ต่ออธิการบดี เพื่อสั่งให้พ้นสภาพนักศึกษา ในกรณีที่ยังคงมีสภาพ เป็นนักศึกษา หรือกรณีที่ นักศึกษาสำเร็จการศึกษาแล้ว ให้เสนอสภามหาวิทยาลัย ถอดถอนปริญญา
  3.  
กรณี คณะกรรมการเห็นว่า มีการละเลยหน้าที่ ของผู้ที่มี ส่วนเกี่ยวข้องกับ การควบคุมวิทยานิพนธ์หรือ สารนิพนธ์ของนักศึกษา ให้เสนอบทลงโทษ ทางวินัยเช่นกัน

ข้อ 9  
คณะกรรมการ จะต้องแจ้งผลการสอบ ข้อเท็จจริง ให้นักศึกษาทราบ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ภายใน เจ็ดวันทำการ นับจากคณะกรรมการ สอบสวนข้อเท็จจริง เสร็จสิ้นแล้ว

ข้อ 10  
การลงโทษนักศึกษาที่ กระทำผิดวินัย ให้ทำเป็นหนังสือ และให้มหาวิทยาลัยแจ้งสิทธิและ กำหนดเวลา ในการอุทธรณ์

 
เมื่อได้สั่งลงโทษนักศึกษา ผู้ใดแล้ว ให้รีบแจ้งต่อบิดา มารดา หรือผู้ปกครองของ นักศึกษาผู้นั้น และอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อทราบ

ข้อ 11  
นักศึกษาที่ ถูกลงโทษวินัย ให้มีสิทธิอุทธรณ์ได้ ภายในกำหนดเจ็ดวัน ทำการ นับจากวันทราบคำสั่ง ลงโทษนั้น หลักเกณฑ์และ วิธีการอุทธรณ์ ให้เป็นไปตาม ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยวินัยนักศึกษา

ข้อ 12  
ให้อธิการบดี เป็นผู้รักษาการ ตามประกาศนี้ ในกรณี ที่มีปัญหาเกี่ยวกับ การปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้อธิการบดีมีอำนาจสั่งและ ปฏิบัติ ตามที่เห็นสมควร


  (ศาสตราจารย์เกียรติคุณพรชัย มาตังคสมบัติ)
  อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล



Back Go to top page
You are visitor number
Since 14-11-2013
Graduate Studies
Mahidol University