Mahidol University
Home Message from the Dean Feedback Sitemap
English Version
เกี่ยวกับบัณฑิตวิทยาลัย ข้อมูลด้านการศึกษา การรับสมัคร ข้อมูลหลักสูตรการศึกษา กิจกรรมต่างๆ งานวิจัย/วิทยานิพนธ์ ทุนการศึกษา กระดานข่าว
       
 
  ปฏิทินการศึกษา  
  ข้อบังคับ กฎ ระเบียบต่างๆ  
  ข้อกำหนดวิทยานิพนธ์  
  อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา  
  อัตราค่าใช้จ่ายอื่นๆ  
  Download แบบฟอร์มต่างๆ  
  ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ม.มหิดล  
  บริการนักศึกษา  
  ระบบพัฒนาและประกันคุณภาพ
หลักสูตรบัณฑิตศึกษา(Intranet)
 
  การจัดทำเอกสารหลักสูตรระดับ
บัณฑิตศึกษา (Intranet)
 
  จริยธรรมการวิจัย  
  การสอบ/อบรมภาษาอังกฤษ  
  Class Schedule  
Academic Information
Mahidol University
 
เรื่อง การเทียบโอนผลการศึกษานอกระบบ และ/หรือ การศึกษาตามอัธยาศัยมาเป็นส่วนหนึ่ง ของการศึกษาในระบบ ของมหาวิทยาลัยมหิดล ระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2553
 
ประกาศ อัตราค่าธรรมเนียมเทียบโอนผลการศึกษาฯ
   

เพื่อให้การเทียบโอนผลการศึกษานอกระบบ และ/หรือการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และคงไว้ซึ่งคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัย

อาศัยอำนาจตามความในข้อ 51 แห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2552 คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2553 จึงกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้
  1. ในประกาศนี้
    "มหาวิทยาลัย" หมายถึง มหาวิทยาลัยมหิดล

    "หลักสูตร" หมายถึง หลักสูตรสาขาวิชาต่างๆ ในระดับบัณฑิตศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยมหิดลให้ความเห็นชอบ ให้เปิดสอนและรับนักศึกษาเข้าศึกษาได้

    "คณะกรรมการบริหารหลักสูตร" หมายถึง คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งจากคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการและพัฒนาหลักสูตร

    "นักศึกษา" หมายถึง นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

    "การเทียบโอนผลการศึกษานอกระบบ และ/หรือ การศึกษาตามอัธยาศัย" หมายถึง การนำผลงาน ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ของผู้เรียนที่เกิดจากการศึกษานอกระบบ และ/หรือ การศึกษาตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือจากประสบการณ์การทำงานมาประเมินเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย


  2. ผู้มีสิทธิขอเทียบโอนผลการศึกษานอกระบบ และ/หรือ การศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกให้เข้าศึกษาในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา และได้ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลแล้ว และมีสถานภาพเป็นนักศึกษาสามัญ

  3. การเทียบโอนผลการศึกษานอกระบบ และ/หรือ การศึกษาตามอัธยาศัย ให้เทียบเป็น รายวิชาตามหลักสูตรที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย โดยเทียบโอนหน่วยกิตได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของหน่วยกิต รายวิชาในหลักสูตร
  4. ผลการศึกษานอกระบบ และ/หรือ การศึกษาตามอัธยาศัย ไม่สามารถเทียบโอนเป็น วิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ในหลักสูตรได้

  5. ผลงาน ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ของผู้ที่ขอเทียบโอนที่เกิดจากการศึกษานอกระบบ และ/หรือ การศึกษาตามอัธยาศัย ที่จะนำมาใช้เทียบโอนต้องเป็นสิ่งที่ได้ดำเนินการหลังจากผู้ที่ขอ เทียบโอนสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีแล้ว และต้องเป็นผลงาน ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่ได้ดำเนินการย้อนหลังจากวันที่ขอเทียบโอนไม่เกิน 5 ปี

  6. หลักเกณฑ์และวิธีการเทียบโอนผลการศึกษานอกระบบ และ/หรือ การศึกษาตามอัธยาศัยมาเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในระบบของมหาวิทยาลัยมหิดล ระดับบัณฑิตศึกษา มีดังนี้
    (1) นักศึกษาแจ้งความประสงค์ขอเทียบโอนผลการศึกษานอกระบบ และ/หรือ การศึกษาตามอัธยาศัย ต่อประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร พร้อมเสนอหลักฐานผลการศึกษานอกระบบ และ/หรือ การศึกษาตามอัธยาศัย และระบุรายวิชาที่ต้องการขอเทียบโอน

    กรณีรายวิชาที่ต้องการขอเทียบโอนเป็นรายวิชาของหลักสูตรอื่น ให้คณะกรรมการบริหารหลักสูตรนั้นเป็นผู้พิจารณาดำเนินการ

    (2) คณะกรรมการบริหารหลักสูตรจะเป็นผู้พิจารณา และกำหนดรายวิชาที่นักศึกษาสามารถเทียบโอนผลการศึกษานอกระบบ และ/หรือ การศึกษาตามอัธยาศัย ตามวิธีการประเมินและหลักเกณฑ์การตัดสิน เพื่อเทียบโอนผลการศึกษานอกระบบ และ/หรือ การศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัย

    (3) วิธีการประเมินและเกณฑ์ตัดสินเพื่อเทียบโอนผลการศึกษานอกระบบ และ/หรือ การศึกษาตามอัธยาศัยทำได้โดยพิจารณา
    จาก
    ก. ผลการทดสอบมาตรฐาน (Standardized testes)
    ข. ผลการทดสอบที่หลักสูตรจัดสอบเอง (Examination) โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประจำหลักสูตร
    ค. ผลการประเมินหรือผลการอบรม (Training) ที่จัดโดยสมาคมวิชาชีพ หรือหน่วยงานที่มิใช่สถาบันอุดมศึกษา และต้องเป็นการอบรมที่สามารถเทียบเคียงมาตรฐานการศึกษาได้ตามมาตรฐานการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
    ง. งานเสนอแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)

    (4) คณะกรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัย จะเป็นผู้พิจารณาตัดสินขั้นสุดท้าย

    (5) ผลการทดสอบหรือผลการประเมิน ต้องเทียบได้ไม่ต่ำกว่าสัญลักษณ์ B หรือแต้มประจำ 3.00 แต่จะไม่นำมาใช้ในการคำนวณแต้มเฉลี่ย

    (6) การบันทึกผลการเรียนให้บันทึกตามวิธีการประเมิน ดังนี้
    ก. หน่วยกิตที่ได้จากการทดสอบมาตรฐานให้บันทึก "CS" (Credits from Standardized Test)
    ข. หน่วยกิตที่ได้จากการทดสอบที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรจัดสอบ ให้บันทึก "CE" (Credits from Examination)
    ค. หน่วยกิตที่ได้จากการประเมิน หรืออบรมที่จัดโดยหน่วยงานต่างๆ ให้บันทึก "CT" (Credits from Training)
    ง. หน่วยกิตที่ได้จากการเสนอแฟ้มสะสมงานให้บันทึก "CP" (Credits from Portfolio)

    (7) การเทียบโอนผลการศึกษานอกระบบ และ/หรือ การศึกษาตามอัธยาศัย ให้นักศึกษาดำเนินการขอเทียบโอนผลการเรียนภายในภาคเรียนแรกที่ขึ้นทะเบียนนักศึกษา และให้หลักสูตรและบัณฑิตวิทยาลัยดำเนินการเทียบโอนผลการศึกษาให้เสร็จสิ้นภายในภาคเรียนเดียวกัน เพื่อให้นักศึกษาได้ทราบจำนวนรายวิชาและจำนวนหน่วยกิตที่จะต้องเพิ่มเติมตามหลักสูตร กรณีมีเหตุจำเป็นไม่สามารถดำเนินการเทียบโอนผลการเรียนภายในกำหนดระยะเวลาได้ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

    (8) นักศึกษาที่ได้รับอนุมัติให้เทียบโอนผลการศึกษานอกระบบ และ/หรือ การศึกษาตามอัธยาศัยมาเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในระบบ ต้องชำระเงินค่าธรรมเนียมการเทียบโอนผลการศึกษาตามอัตราค่าหน่วยกิตของรายวิชาที่ได้รับอนุมัติให้เทียบโอน




Back Go to top page
You are visitor number
Since 14-11-2013
Graduate Studies
Mahidol University