Mahidol University
Home Message from the Dean Feedback Sitemap
English Version
เกี่ยวกับบัณฑิตวิทยาลัย ข้อมูลด้านการศึกษา การรับสมัคร ข้อมูลหลักสูตรการศึกษา กิจกรรมต่างๆ งานวิจัย/วิทยานิพนธ์ ทุนการศึกษา กระดานข่าว
       
 
  Scholarships  
  Awards  
  Apply Scholarship  
Scholarship
Mahidol University
 
 
ทุนภายใน ทุนภายนอก
 
เรื่อง การให้ทุนการศึกษา "ทุนเฉลิมพระเกียรติ 60 ปี ครองราชสมบัติ"
"The 60th Year Supreme Reign of His Majesty King Bhumibol Adulyadej" ประจำปีการศึกษา 2555
 
Download PDF File     Download Form
 
     

  1 หลักการและเหตุผล
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล โดยความร่วมมือ จากหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ของคณะ/สถาบัน/วิทยาลัยต่างๆ ที่สังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล็งเห็นความสําคัญ ของการให้โอกาส ทางการศึกษาต่อ ในระดับบัณฑิตศึกษา อันเป็นกําลังที่สําคัญของชาติ จึงได้ริเริ่มการจัดโครงการ ทุนการศึกษา "ทุนเฉลิมพระเกียรติ 60 ปี ครองราชสมบัติ" ขึ้นเป็นพิเศษเพื่อจัดสรรทุนสนับสนุนค่าเล่าเรียน สําหรับนักศึกษาที่มีผลการเรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ให้มีโอกาส ได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท หรือปริญญาเอก ในหลักสูตร/สาขาวิชาต่างๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีวัตถุประสงค์สําคัญในการร่วมเฉลิมพระเกียรติ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชมหาราช ในวโรกาสอันเป็นมหามงคลที่พระองค์ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

  2 วัตถุประสงค์
2.1
เพื่อดํารงไว้ ซึ่งพระเกียรติยศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในวโรกาสที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก โดยตั้งเป็นกองทุน เพื่อนักศึกษาบัณฑิตศึกษา "ทุนเฉลิมพระเกียรติ 60 ปี ครองราชสมบัติ" โดยมุ่งหวังให้เป็นทุนการศึกษา ที่ทําให้นักศึกษาและสังคม ได้ตระหนักถึงพระมหากรุณาธิคุณ อันหาที่สุดมิได้ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ที่ทรงเป็น "พระมหากษัตริย์นักพัฒนา"
   
2.2
เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติ และเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในโอกาส มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
   
2.3
เพิ่มโอกาสทำความดี โดยช่วยเหลือ และให้โอกาสทางการศึกษา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
   
2.4
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนนักศึกษา ที่มีผลการเรียนดีเยี่ยม และศักยภาพสูง ให้ได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอก ในมหาวิทยาลัยมหิดล และส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรบุคคลรุ่นใหม่ ของประเทศ
2.5
เพื่อสนับสนุนนโยบาย การเพิ่มจํานวนมหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตที่มีศักยภาพ ในสาขาต่างๆ ของประเทศ เพื่อเป้าหมายในการเพิ่มอัตราส่วน ของนักวิชาการ และนักวิจัย ของประเทศไทยให้สูงขึ้น

  3 คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ยื่นขอรับทุน
3.1
เป็นนักศึกษาที่ประสงค์เข้าศึกษา ในระดับปริญญาโทหรือเอก ประจำปีการศึกษา 2555 ทั้งหลักสูตรปกติและหลักสูตรนานาชาติ ที่สังกัดสาขาวิชา/คณะ/สถาบัน/วิทยาลัย ของมหาวิทยาลัยมหิดล และเป็นหลักสูตรที่ได้แจ้งความจํานง ในการเข้าร่วมให้การสนับสนุนทุนฯ โดยสามารถดูรายชื่อของหลักสูตร/สาขาวิชาที่ร่วม ให้การสนับสนุนได้ ในท้ายประกาศของทุนฯ
   
3.2
สําหรับทุนการศึกษาในระดับปริญญาโท ผู้สมัครต้องเป็นผู้ที่จบการศึกษา ระดับปริญญาตรีและ มีผลการศึกษาเฉลี่ยสะสม ตลอดหลักสูตรในระดับเกียรตินิยม (GPA > 3.25) ขึ้นไป หรือเป็นผู้ที่กําลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้าย ของหลักสูตรปริญญาตรี โดยต้องมีผลการศึกษาเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร (GPA) 3.25 ขึ้นไป (เฉลี่ยรวมจนถึงภาคต้น ของปีการศึกษาปัจจุบัน ที่กําลังศึกษาอยู่ในหลักสูตรปริญญาตรี) และมีกําหนดที่จะสําเร็จการศึกษาอย่างสมบูรณ์ ก่อนเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ในภาคต้นของปีการศึกษา 2555
   
3.3
สําหรับทุนการศึกษาในระดับปริญญาเอก ผู้สมัครต้องเป็นผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาโท หรือกําลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาโท โดยมีกําหนดที่จะสําเร็จการศึกษาอย่างสมบูรณ์ก่อนเข้าศึกษาต่อ ในระดับปริญญาเอกที่ มหาวิทยาลัยมหิดล ในภาคต้นของปีการศึกษา 2555
 
3.3.1
มีผลการศึกษาเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร (GPA) ไม่ต่ำกว่า 3.50 หากมีผลงานตีพิมพ์ ในวารสารวิชาการที่ได้รับ การยอมรับในฐานข้อมูลสากล จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ (ยื่นหลักฐานประกอบ)
3.3.2
ต้องได้รับคะแนน TOEFL Computer based ที่ระดับ 173 คะแนนขึ้นไป หรือได้คะแนน IELTS ที่ระดับ 5.5 คะแนนขึ้นไป หรือ TOEFL Internet based ที่ระดับ 61 คะแนนขึ้นไป หรือได้คะแนน TOEFL-ITP ที่จัดสอบโดยสํานักงานโครงการศูนย์ภาษาต่างประเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ระดับ 500 คะแนนขึ้นไป
   
3.4
สําหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่สมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรพิเศษ ระดับปริญญาเอก ผู้สมัครต้องเป็นผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือมีกําหนดที่จะสําเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2552 และต้องมีผลการศึกษา เฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร (GPA) 3.5 ขึ้นไป
   
3.5
ผู้สมัครทุนฯ ทั้งในระดับปริญญาโทและเอก ต้องเป็นนักศึกษาที่มีผลผ่านการสอบข้อเขียน ที่จัดสอบโดยบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเข้าศึกษาต่อในหลักสูตร และสาขาวิชาต่างๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดล ในภาคต้นของปีการศึกษา 2554 ทั้งนี้ให้นักศึกษายื่นใบสมัครขอรับทุนฯ โดยตรงที่หลักสูตร ที่ประสงค์จะเข้าศึกษาก่อน หรือภายในวันสัมภาษณ์ผู้เข้าศึกษาที่สอบผ่านการคัดเลือก

  4 ประเภทของการให้ทุน

ทุนประเภทที่ 1 สนับสนุนทั้งหมด ทุนประเภทที่ 2 สนับสนุนบางส่วน
- ค่าธรรมเนียมการศึกษา - ค่าหน่วยกิต
- ค่าวิทยานิพนธ์
- ค่าหน่วยกิต
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาดูงาน
- ค่าธรรมเนียมอุปกรณ์พิเศษ
- ค่าวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์

  5 จำนวนทุน
 
  • จำนวนทุนทั้งสิ้นไม่เกิน 60 ทุน
  6 การสมัครขอรับทุน
6.1
นักศึกษาสามารถขอรับใบสมัคร ได้ที่หลักสูตรที่เข้าร่วมโครงการทุนเฉลิมพระเกียรติ 60 ปี ครองราชสมบัติและยื่นใบสมัคร ผ่านคณะกรรมการหลักสูตร ที่สังกัด เพื่อให้นำส่งที่งานกิจการนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย อาคารบัณฑิตวิทยาลัย (ศาลายา) หรือที่สำนักงานบัณฑิตวิทยาลัยทุกสาขา ภายในวันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 และในกรณีที่ยังมีจำนวนทุนเหลือ บัณฑิตวิทยาลัยจะพิจารณาประกาศรับสมัครเพิ่มเติม ให้กับนักศึกษาในรอบที่ 2 ต่อไป
   
6.2
ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ของหลักสูตรต้นสังกัดที่นักศึกษาสมัครเข้าเรียน จะเป็นผู้ที่ ทำการพิจารณาคัดเลือกและเสนอชื่อนักศึกษาที่สอบผ่านและมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ที่ทุนฯ กำหนดไว้

  7 เอกสารประกอบการสมัครเพื่อขอสมัครรับทุน
นักศึกษาที่ประสงค์สมัครขอรับทุน ใช้แบบฟอร์มใบสมัครขอรับทุน ตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด และแนบเอกสารดังนี้
 
  • สำเนา Transcript
  • ผลสอบ คะแนน TOEFL (สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาเอก)
  • เอกสารอื่น ๆ เพื่อประกอบการพิจารณา ( เช่น ผลงานตีพิมพ์ ฯลฯ)
*** หากนักศึกษาที่สมัครขอรับทุนแนบเอกสารไม่สมบูรณ์ บัณฑิตวิทยาลัยจะไม่รับพิจารณาทุกกรณี

  8 กระบวนการคัดเลือกและการพิจารณาให้ทุน
8.1
การรับสมัคร นักศึกษาผู้สมัคร ต้องได้รับความเห็นชอบ จากประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
   
8.2
การพิจารณาคัดเลือก เพื่อจัดสรรทุน บัณฑิตวิทยาลัยจะแต่งตั้งคณะกรรมการทุนเฉลิมพระเกียรติ 60 ปี ครองราชสมบัติประกอบด้วย คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยเป็นประธาน โดยมีรองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย และผู้ทรงคุณวุฒิ ที่แต่งตั้งโดย บัณฑิตวิทยาลัยเป็นกรรมการ ทำหน้าที่พิจารณาตัดสิน ให้ทุนแต่ละประเภท ในการพิจารณาคัดเลือกนักศึกษา ผู้สมควรได้รับทุน และจํานวนทุนที่สามารถจัดสรรได้ ในแต่ละปีการศึกษาให้แก่ นักศึกษาที่หลักสูตรเสนอชื่อมา การพิจารณาตัดสินของบัณฑิตวิทยาลัยถือเป็นที่สิ้นสุด ไม่มีการอุทธรณ์ใด ๆ ทั้งสิ้น
   

  9 เงื่อนไขการรับทุน
บัณฑิตวิทยาลัย ดำเนินการให้นักศึกษาที่ได้รับทุน ลงนามในข้อตกลงการรับทุน และเริ่มการให้ทุนสําหรับนักศึกษา ในภาคการศึกษาต้น ของปีการศึกษาที่สมัคร

  10 การสิ้นสุดการให้ทุน
10.1
เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการให้ทุน แบ่งเป็น
 
  • ระดับปริญญาเอกมีระยะเวลาการให้ทุนไม่เกิน 3 ปีการศึกษา
  • ระดับปริญญาโทมีระยะเวลาการให้ทุนไม่เกิน 2 ปีการศึกษา
10.2
"ผู้รับทุน" ขอสละสิทธิ์การรับทุน
   
10.3
"ผู้รับทุน" พ้นสภาพ หรือลาออกจากการเป็นนักศึกษา หรือลาพักการศึกษาโดยไม่มีเหตุผล อันสมควร
   
10.4
"ผู้รับทุน" มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือประพฤติผิดระเบียบข้อบังคับและวินัย ของมหาวิทยาลัยมหิดล และ/หรือของหลักสูตร/คณะ/สถาบัน/วิทยาลัย ที่ "ผู้รับทุน" ศึกษาอยู่
   
10.5
ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรของ "ผู้รับทุน" เสนอให้พิจารณาระงับทุน
   
10.6
"ผู้รับทุน" มีผลการศึกษาต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ดังนี้
 
  • ระดับปริญญาเอก นักศึกษาผู้ได้รับทุนต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมประจำปีการศึกษาไม่ต่ำกว่า 3.50
  • ระดับปริญญาโท นักศึกษาผู้ได้รับทุนต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมประจำปีการศึกษาไม่ต่ำกว่า 3.25
10.7
ผลการประเมินรายวิชาที่ลงทะเบียนปรากฏเป็นสัญลักษณ์ C หรือ U

  11 ประกาศผลการพิจารณาจัดสรรทุน
บัณฑิตวิทยาลัยจะประกาศรายชื่อ ผู้ได้รับการพิจารณาให้รับรางวัล ภายในสัปดาห์สุดท้ายของ เดือนเมษายน ณ บัณฑิตวิทยาลัยสาขาทุกแห่ง และที่ www.grad.mahidol.ac.th

  12 การติดต่อ
นักศึกษาผู้สนใจสามารถติดต่อเพื่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ งานกิจการนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย (ศาลายา) โทรศัพท์ 0-2441-4125 ต่อ 211-213 โทรสาร 0-2441-9511

  13 รายชื่อหลักสูตรสาขาวิชา ที่เข้าร่วมสนับสนุนให้ทุนการศึกษา

ที่

หลักสูตรสาขาวิชา

ระดับการศึกษา

จำนวนทุน

ป.โท

ป.เอก

ประเภท ๑

ประเภท ๒

คณะเทคนิคการแพทย์

 

 

 

 

สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ (นานาชาติ)

๑๐

๑๐

สาขาวิชารังสีเทคนิค (นานาชาติ)

 

 

 

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

 

 

 

 

สาขาวิชาพยาธิวิทยาคลินิก

 

สาขาวิชาวิทยาการระบาดคลินิก (นานาชาติ) 

 

 

สาขาวิชาเอกการพยาบาลมารดาและทารกแรกเกิด

 

 

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

 

 

 

สาขาวิชาสรีรวิทยาการแพทย์

 

สาขาวิชาชีวเคมี (นานาชาติ)

 

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์รังสี

 

 

คณะเภสัชศาสตร์

 

 

๑๐

 

สาขาวิชาเภสัชเคมีและพฤกษเคมี

 

 

๑๐

สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ชีวภาพ (นานาชาติ)

 

 

๑๑

สาขาวิชาวิทยาการพฤกษเภสัชภัณฑ์ (นานาชาติ)

 

 

 

๑๒

สาขาวิชาเภสัชการ (นานาชาติ)

 

 

 

๑๓

สาขาวิชาบริหารเภสัชกิจ (นานาชาติ)

 

 

๑๔

สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก (นานาชาติ)

 

 

 

๑๕

สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (จุลชีววิทยา, ชีวเคมี, เภสัชการ, เภสัชเคมี, เภสัชวิทยา, เภสัชวินิจฉัย)

 

 

 

คณะวิทยาศาสตร์

 

 

 

 

๑๖

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกาย (นานาชาติ)

 

 

๑๗

สาขาวิชาฟิสิกส์ (นานาชาติ)

 

๑๘

สาขาวิชาเคมีวิเคราะห์ (นานาชาติ)

 

 

๑๙

สาขาวิชาจุลชีววิทยา (นานาชาติ)

๒๐

๑๐

๒๐

สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (นานาชาติ)

 

๒๑

สาขาวิชาสรีรวิทยา (นานาชาติ)

 

 

ที่

หลักสูตรสาขาวิชา

ระดับการศึกษา

จำนวนทุน

ป.โท

ป.เอก

ประเภท ๑

ประเภท ๒

๒๒

สาขาวิชาเภสัชวิทยา (นานาชาติ)

๒๓

สาขาวิชาเวชศาสตร์ระดับโมเลกุล (นานาชาติ)

 

 

๒๔

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ (นานาชาติ)

๑๑

 

๒๕

สาขาวิชาชีวเคมี (นานาชาติ)

 

๒๖

สาขาวิชาพิษวิทยา (นานาชาติ)

 

๒๗

สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (นานาชาติ)

 

 

๒๘

สาขาวิชาเคมีวิเคราะห์และเคมีอนินทรีย์ประยุกต์

 

 

๒๙

สาขาวิชาสรีรวิทยาการออกกำลังกาย (นานาชาติ)

 

 

๓๐

สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ (นานาชาติ)

 

 

๓๑

สาขาวิชาชีววิทยาสภาวะแวดล้อม (นานาชาติ)

 

 

คณะวิศวกรรมศาสตร์

 

 

 

 

๓๒

สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (นานาชาติ)

 

 

๓๓

สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

 

๓๔

สาขาวิชาวิศวกรรมเคมีบูรณาการ (นานาชาติ)

 

คณะศิลปศาสตร์

 

 

 

 

๓๕

 สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (นานาชาติ)

 

 

คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

 

 

 

 

๓๖

สาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข

 

๓๗

สาขาวิชาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม

 

๓๘

สาขาวิชาสังคมศาสตร์สุขภาพ (นานาชาติ)

 

 

คณะสาธารณสุขศาสตร์

 

 

 

 

๓๙

สาขาวิชาชีวสถิติ

 

 

๔๐

สาขาวิชาสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ (นานาชาติ)

 

 

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

 

 

 

 

๔๑

สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (นานาชาติ)

 

 

๔๒

สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารสิ่งแวดล้อม

 

 

 

ที่

หลักสูตรสาขาวิชา

ระดับการศึกษา

จำนวนทุน

ป.โท

ป.เอก

ประเภท ๑

ประเภท ๒

วิทยาลัยนานาชาติ

 

 

 

 

๔๓

สาขาวิชาการวิเคราะห์และการสร้างตัวแบบธุรกิจ (นานาชาติ)

 

 

วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา

 

 

 

 

๔๔

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา

 

สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล

 

 

 

 

๔๕

สาขาวิชาประสาทวิทยาศาสตร์ (นานาชาติ)

 

๔๖

สาขาวิชาพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุลและพันธุวิศวกรรมศาสตร์ (นานาชาติ)

 

 

สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้

 

 

 

 

๔๗

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา (นานาชาติ)

 

สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน

 

 

 

 

๔๘

สาขาวิชาวิทยาการเสพติด

 

 

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม

 

 

 

 

๔๙

สาขาวิชาประชากรศาสตร์

 

 

๕๐

สาขาวิชาวิจัยประชากรและสังคม

 

 

สถาบันวิจัยโภชนาการ

 

 

 

 

๕๑

สาขาวิชาพิษวิทยาทางอาหารและโภชนาการ

 

 

๕๒

สาขาวิชาอาหารและโภชนาการเพื่อการพัฒนา (นานาชาติ)

 

 

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว

 

 

 

 

๕๓

สาขาวิชาพัฒนาการมนุษย์

 

 

 

 

 


Back Go to top page
You are visitor number
Since 14-11-2013
Graduate Studies
Mahidol University