|
 |
 |
|
ประธานหลักสูตรเสนอคณะกรรมการสอบ Qualifying
Examination (จบ ป.เอก/ เป็น รศ. จำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน
โดยประธานต้องเป็นอาจารย์ประจำ) และกำหนดการสอบ ตามแบบฟอร์ม
บฑ.35 ไปยังบัณฑิตวิทยาลัย ก่อนวันสอบ 15 วันทำการ (การสอบ
Qualifying Exam. เป็นการสอบข้อเขียน และ/หรือปากเปล่า
เพื่อประเมินความรู้ความสามารถของ นักศึกษาในการเป็นผู้มีสิทธิเสนอวิทยานิพนธ์
เพื่อขอรับปริญญาเอก) |
|
|
 |
 |
|
บัณฑิตวิทยาลัยออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบ
Qualifying Examination และกำหนดสอบ |
|
|
 |
 |
|
นักศึกษาสอบ Qualifying Examination
ตามหลักเกณฑ์ที่หลักสูตรกำหนด
และตามกำหนดการในคำสั่งของบัณฑิตวิทยาลัย |
|
|
 |
 |
|
ประธานหลักสูตร ส่งผลการสอบ Qualifying
Examination
ตามแบบฟอร์ม บฑ. 38 ไปยังบัณฑิตวิทยาลัย ภายใน 15 วันทำการ
หลังจากวันสอบ |
|
|
 |
 |
|
นักศึกษาลงทะเบียนทำวิทยานิพนธ์ |
|
|
 |
 |
|
ประธานหลักสูตรเสนออาจารย์ผู้ทำหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาโครงร่างวิทยานิพนธ์
(อาจารย์ประจำจบ ป.เอก / เป็น รศ.) ตามแบบฟอร์ม บฑ.44
ไปยังบัณฑิตวิทยาลัยเพื่อแต่งตั้ง
|
|
|
 |
 |
|
นักศึกษาจัดทำโครงร่างวิทยานิพนธ์ ตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาโครงร่างวิทยานิพนธ์
และเสนอขอสอบโครงร่างฯ ภายใน 2 ภาคการศึกษานับแต่เริ่มลงทะเบียนวิทยานิพนธ์
|
|
|
 |
 |
|
อาจารย์ที่ปรึกษาโครงร่างวิทยานิพนธ์
เสนอผู้ทำหน้าที่อาจารย์สอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ร่วม
และกำหนดสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ไปยังประธานหลักสูตร |
|
|
 |
 |
|
ประธานหลักสูตร เสนอคณะกรรมการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์
จำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน และกำหนดสอบ
ตามแบบฟอร์ม บฑ. 39 ไปยังบัณฑิตวิทยาลัย ก่อนกำหนดสอบ
15 วันทำการ
คณะกรรมการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย
- ประธานคณะกรรมการสอบโครงร่าง คือ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงร่างวิทยานิพนธ์
- กรรมการสอบโครงร่าง คือ อาจารย์ประจำ / ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
ที่จบ ป.เอก / เป็น รศ./ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ |
|
|
 |
 |
|
บัณฑิตวิทยาลัยออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์
และกำหนดการสอบ |
|
|
 |
 |
|
นักศึกษาสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ตามกำหนดการในคำสั่งของบัณฑิตวิทยาลัย |
|
|
 |
 |
|
ประธานหลักสูตร ส่งผลการสอบโครงร่าง
ฯ ตามแบบฟอร์ม บฑ. 33 ไปยังบัณฑิตวิทยาลัย ภายใน 15 วันทำการหลังจากวันสอบ
(กรณีผลสอบเป็น "ผ่าน" ต้องส่ง บฑ.1 พร้อมกันไปด้วย)
กรณีผลสอบเป็น " ผ่านโดยมีเงื่อนไข " หรือ "ไม่ผ่าน"
อาจารย์ที่ปรึกษา
โครงร่างฯ ต้องติดตามและตรวจสอบการแก้ไขโครงร่างฯ ให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการสอบโครงร่างฯ
และส่งผลการแก้ไข / ผลสอบโครงร่างฯใหม่ ตามแบบฟอร์ม บฑ.37
ไปยังบัณฑิตวิทยาลัยโดยผ่านประธานหลักสูตร และส่งพร้อม
บฑ.1 |
|
|
 |
 |
|
ประธานหลักสูตร เสนอคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
จำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน
และหัวข้อวิทยานิพนธ์ ไปยังบัณฑิตวิทยาลัย ตามแบบฟอร์ม
บฑ.1
คณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย
- อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก คือ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงร่างวิทยานิพนธ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม คือ อาจารย์ประจำ /
ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ที่จบ ป.เอก /
เป็น รศ./ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ
|
|
|
 |
 |
|
บัณฑิตวิทยาลัยออกคำสั่งอนุมัติหัวข้อเรื่องวิทยานิพนธ์
และแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ |
|
|
 |
 |
|
คณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์มีหน้าที่ให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษาแก่นักศึกษาเกี่ยวกับเนื้อหาทางทฤษฎี
แนวคิด วิธีการศึกษา วิจัย การเขียนวิทยานิพนธ์ และการใช้ภาษา
แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และป้องกันมิให้เกิดการทุจริตในการทำวิทยานิพนธ์
ติดตามการทำวิจัยให้เป็นไปตามแผนงานและประเมินผลการทำวิทยานิพนธ์ทุกภาคการศึกษา |
|
|
 |
 |
|
- หากวิทยานิพนธ์เป็นงานวิจัยที่จะทำการวิจัยในคนหรือเกี่ยวกับคน
นักศึกษาต้องเข้ารับการอบรม หรือเข้าเรียนชั่วโมง
จริยธรรมการ วิจัยในคนที่มีการเรียนการสอนในหลักสูตรบัณฑิตศึกษาของ
ม.มหิดล ดูรายละเอียดได้จาก
www.grad.mahidol.ac.th
- นักศึกษาต้องเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอคำรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนประจำมหาวิทยาลัยมหิดล
(MU-IRB) ภายใน 90 วัน หลังจากสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ก่อนเริ่มดำเนินการวิจัยโดยดำเนินการผ่านบัณฑิตวิทยาลัย
เฉพาะคณะที่ไม่มีคณะกรรมการวิจัยในคน (IRB)
- หากเป็นงานวิจัยที่ทำในสัตว์ทดลองขอให้ติดต่อขอคำรับรองจากกองบริหารงานวิจัย
ม.มหิดล โดยตรง เอกสาร
คำรับรองการทำวิจัยในคนหรือในสัตว์ทดลอง ต้องใส่ไว้ในภาคผนวกของรูปเล่มวิทยานิพนธ์ด้วย
|
|
|
 |
|
 |
|
 |
|
นักศึกษาทำวิทยานิพนธ์ตามหัวข้อเรื่องที่ได้รับการอนุมัติจากบัณฑิตวิทยาลัยและต้องติดต่อกับคณะกรรมการที่ปรึกษา วิทยานิพนธ์อย่างใกล้ชิด
เนื่องจากนักศึกษาต้องทำรายงานความก้าวหน้าการทำวิทยานิพนธ์ในภาคเรียนที่กำลังศึกษา
และ เสนอแผนการทำวิทยานิพนธ์ในภาคการศึกษาถัดไป ตามแบบฟอร์ม
บฑ. 42 เสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก เพื่อ เป็นข้อมูลแกอาจารย์ในการประเมินผลการทำวิทยานิพนธ์
ในแต่ละภาคการศึกษาส่งบัณฑิตวิทยาลัย |
|
|
 |
 |
|
การขอเปลี่ยนแปลงหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
สามารถกระทำได้โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและประธานหลักสูตร
และต้องได้รับอนุมัติจากคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย (ยื่นคำร้องทั่วไป
(AS-3-10) พร้อมระบุเหตุผล) |
|
|
 |
 |
|
นักศึกษาขอสอบวิทยานิพนธ์ ได้ต่อเมื่อ ได้ตรวจสอบว่าปฏิบัติตามเกณฑ์ต่างๆ
ต่อไปนี้ครบถ้วนแล้ว
- ใช้เวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน ในการทำวิทยานิพนธ์ นับจากวันที่ได้รับอนุมัติหัวข้อฯ
จนถึงวันที่ขอสอบวิทยานิพนธ์ (นับรวมวันหยุดราชการ)
- สอบผ่านทุกรายวิชา ครบตามจำนวนหน่วยกิต ที่กำหนดในโครงสร้างหลักสูตรและได้
GPA 3.00
- สอบผ่านความรู้ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด
- ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ให้สอบได้
- เสนอเอกสารต้นฉบับวิทยานิพนธ์ที่เขียนด้วยภาษาที่ได้รับอนุมัติจากบัณฑิตวิทยาลัย
ให้คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์อ่านล่วงหน้า ก่อนวันสอบอย่างน้อย
15 วันทำการ
|
|
|
 |
|
 |
|
 |
|
ประธานหลักสูตร เสนอกำหนดการสอบวิทยานิพนธ์
และคณะกรรมการสอบฯ ไปยังบัณฑิตวิทยาลัย
ตามแบบฟอร์ม บฑ.2 ก่อนกำหนดสอบ 15 วันทำการ คณะกรรมการสอบฯ
ต้อง จบ ป.เอก / เป็น รศ. มีจำนวนไม่น้อยกว่า 4 คน
ประกอบด้วย (1) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก (2) ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล
อย่างน้อย 1 คน และ (3) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม
หรืออาจารย์ประจำ
กรณีมีความจำเป็นอาจแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะให้เป็นกรรมการสอบ
โดยอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก และอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมต้องไม่เป็นประธานกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ |
|
|
 |
 |
|
บัณฑิตวิทยาลัยตรวจสอบเกณฑ์การขอสอบวิทยานิพนธ์
และออกคำสั่ง
แต่งตั้งคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และกำหนดวัน เวลา และสถานที่สอบ |
|
|
 |
 |
|
- การสอบวิทยานิพนธ์ต้องเป็นการสอบอย่างเปิดเผย และสอบตามกำหนดการในคำสั่งของบัณฑิตวิทยาลัย
- คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ มีหน้าที่พิจารณาความสามารถของนักศึกษาในการทำวิจัย
ความรอบรู้ในเนื้อหา
ความสามารถในการนำเสนอผลงานด้านการพูดและการเขียนตลอดจนปฏิภาณและไหวพริบในการตอบคำถาม
โดย
- ประธานกรรมการสอบให้มีหน้าที่กำกับและดำเนินการสอบและสรุปผลการสอบ
- กรรมการสอบผู้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก
ต้องแจ้งผลการสอบให้นศ.ทราบภายใน 5 วันทำการนับจากวันสอบ,
ส่งผลการสอบมายังบัณฑิตวิทยาลัยโดยผ่านประธานหลักสูตรภายใน
15 วันทำการนับจากวันสอบ, ติดตามควบคุมการจัดทำรูปเล่มวิทยานิพนธ์ตามมติคณะกรรมการสอบ
- หากกรรมการสอบไม่สามารถมาสอบได้ ให้ปฏิบัติ
- ให้บัณฑิตวิทยาลัยออกคำสั่งเลื่อนกำหนดการสอบ
- หากไม่สามารถขอเลื่อนกำหนดการสอบได้ ประธานหลักสูตรต้องขอผลการตรวจวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์จาก
กรรมการผู้ขาดสอบ เสนอไปยังคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
เพื่อขออนุมัติผลการสอบและต้องชี้แจงสาเหตุการที่กรรมการ
ไม่สามารถมาสอบได้
|
|
|
 |
 |
|
นักศึกษาที่ทำการวิจัยในคนหรือในสัตว์ทดลองต้องแจ้งปิดโครงการวิจัยไปยังคณะกรรมการ
จริยธรรมการวิจัยในคน หรือในสัตว์ทดลองด้วย |
|
|
 |
|
 |
|
 |
|
การจัดทำต้นฉบับวิทยานิพนธ์/และการขอรับบริการตรวจรูปแบบการจัดพิมพ์วิทยานิพนธ์
- นักศึกษาควรจัดพิมพ์ต้นฉบับวิทยานิพนธ์ในส่วนหน้าปก
หน้าเสนอวิทยานิพนธ์/หน้าอนุมัติวิทยานิพนธ์/ และหน้าบทคัดย่อ
ส่งให้เจ้าหน้าที่งานบริการการศึกษาตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบการจัดพิมพ์
ก่อนวันสอบวิทยานิพนธ์ เพื่อนักศึกษาจะได้นำหน้าเสนอวิทยานิพนธ์/และหน้าอนุมัติวิทยานิพนธ์/
ไปเสนอให้คณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ลงนามได้หลังจากที่สอบวิทยานิพนธ์/ปรากฏผล
"ผ่าน" แล้ว
- เมื่อนักศึกษาสอบวิทยานิพนธ์ ปรากฏผล "ผ่าน"
แล้ว จากนั้นจึงนำต้นฉบับวิทยานิพนธ์ (hard copy และ
file ข้อมูลวิทยานิพนธ์) ไปให้เจ้าหน้าที่งาานบริการการศึกษาตรวจสอบรูปแบบการจัดพิมพ์
(ใช้เวลาประมาณ 2 วันทำการ)
- สำหรับบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ฉบับภาษาอังกฤษ ที่ต้องการเสนอให้อาจารย์ชาวต่างประเทศ
ของหน่วยภาษาต่างประเทศตรวจสอบความถูกต้องของการใช้ภาษา
ต้องจัดพิมพ์ด้วยระยะห่างบรรทัด 2 บรรทัด (Double
Space) แล้วนำไปเสนอที่หน่วยภาษาต่างประเทศบัณฑิตวิทยาลัย
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ด้วยตนเอง
- นักศึกษาต้องเสนอบทคัดย่อฉบับที่อาจารย์ชาวต่างประเทศแก้ไข
และบทคัดย่อฉบับที่แก้ไขเรียบร้อยแล้วแนบพร้อมกับหน้าเสนอวิทยานิพนธ์
และหน้าอนุมัติวิทยานิพนธ์ เสนอให้คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยลงนาม
(คณบดีบัณฑิตจะลงนามเป็นท่านสุดท้ายหลังจากที่คณะกรรมการท่านอื่น
ๆ ประธานหลักสูตรและคณบดีต้นสังกัดลงนามเรียบร้อยแล้ว)
|
|
|
 |
|
 |
|
 |
|
- นักศึกษานำรูปเล่มวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ (ฉบับจริง
1 เล่ม และฉบับสำเนา 1 เล่ม) และ CD วิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์
(word file และ PDF file) 1 ชุด ส่งบัณฑิตวิทยาลัย
พร้อมกับแบบฟอร์ม บฑ.40 แจ้งความประสงค์การเผยแพร่วิทยานิพนธ์บน
Website ของบัณฑิตวิทยาลัย
- บัณฑิตวิทยาลัยจะตรวจสอบข้อมูลในรูปเล่มวิทยานิพนธ์
/ สารนิพนธ์ ให้ถูกต้องตรงกับข้อมูลที่อยู่ใน CD
- นักศึกษาต้องส่งรูปเล่มวิทยานิพนธ์ / สารนิพนธ์พร้อม
CD ภายใน 21 วัน (นับรวมวันหยุดราชการ) นับจากวันที่สอบวิทยานิพนธ์
/ สารนิพนธ์ ปรากฎผล "ผ่าน" หากเกินกว่านี้ถือเป็นการส่งวิทยานิพนธ์
/ สารนิพนธ์ล่าช้าต้องชำระค่าปรับ วันละ 200 บาท
ระยะเวลาส่งวิทยานิพนธ์ / สารนิพนธ์ล่าช้าต้องไม่เกิน
90 วัน (นับรวมวันหยุดราชการ) นับจากวันครบกำหนดส่งวิทยานิพนธ์
/ สารนิพนธ์ หากเกิน 90 วัน บัณฑิตวิทยาลัย จะยกเลิกผลการสอบวิทยานิพนธ์
/ สารนิพนธ์ หากนักศึกษา ยังคงต้องการรับปริญญานั้นอีก
ต้องขอลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ใหม่ และเริ่มขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์ใหม่ทั้งหมด
|
|
|
 |
|
 |
|
 |
|
นักศึกษา ป.เอก ต้องส่งหลักฐานการตีพิมพ์หรือได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติ
ที่อยู่ในฐานข้อมูลสากลและมีผู้ประเมิน และเป็นไปตามหลักเกณฑ์การตีพิมพ์ผลงานวิจัยตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัย
|
|
|
 |
 |
|
ประธานหลักสูตรเสนอขออนุมัติปริญญา มายังบัณฑิตวิทยาลัยตามแบบฟอร์ม
บฑ. 5 |
|
|
 |
 |
|
นักศึกษาได้รับเอกสารหนังสือรับรองการสำเร็จการศึกษาและ
Transcript หลังจากที่สภามหาวิทยาลัยอนุมัติปริญญาบัตร |
|
|
 |
|