English Sitemap
Thesis Preparation and Submission
ความแตกต่างของวิทยา
นิพนธ์
ส่วนประกอบของวิทยานิพนธ์
การพิมพ์วิทยานิพนธ์ /
สารนิพนธ์
ขั้นตอนการสอบวิทยานิพนธ์
ปริญญาเอก
ขั้นตอนการสอบวิทยานิพนธ์/
สารนิพนธ์ ปริญญาโท
คณะกรรมการในการทำวิทยา
นิพนธ์/สารนิพนธ์
รายงานความก้าวหน้าและ
การประเมินผล การทำวิทยา
นิพนธ์/สารนิพนธ์
กรรมการ สอบวิทยานิพนธ์ไม่
สามารถ มาทำการสอบได้
ตามกำหนด
เกณฑ์การตัดสินผลการสอบ
วิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์
การส่งวิทยานิพนธ์/สาร
นิพนธ์และแผ่นบันทึกข้อมูล
วิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์
การยกเลิกผลการสอบวิทยา
นิพนธ์/สารนิพนธ์
การเผยแพร่วิทยานิพนธ์์เพื่อ
ขอสำเร็จการศึกษาปริญญาโท
การเผยแพร่วิทยานิพนธ์เพื่อ
ขอสำเร็จการศึกษาปริญญา
เอก
การขออนุมัติปริญญา
กำหนดวันสำเร็จการศึกษา
การส่งวิทยานิพนธ์/สาร
นิพนธ์ไปยังห้องสมุดต่าง ๆ
กลับหน้าแรก > การเผยแพร่วิทยานิพนธ์เพื่อขอสำเร็จการศึกษาปริญญาเอก
 
GR.43 Publication Form เอกสารแนบท้ายประกาศ การตีพิมพ์ผลงานวิจัย
 
     
เพื่อเป็นการปรับปรุง ประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง หลักเกณฑ์ การตีพิมพ์ผลงานวิจัย จากวิทยานิพนธ์ เพื่อขอสำเร็จ การศึกษาระดับ ปริญญาเอก

อาศัยอำนาจ ตามความในข้อ 57.3 แห่งข้อบังคับ มหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วย การศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2549 คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย โดยความเห็นชอบ ของคณะกรรมการ ดำเนินการบัณฑิตวิทยาลัย ในการประชุม ครั้งที่ 4/2550 เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550 จึงกำหนดหลักเกณฑ์ การตีพิมพ์ ผลงานวิจัย จากวิทยานิพนธ์ เพื่อขอสำเร็จ การศึกษา ระดับ ปริญญาเอกไว้ ดังนี้
  1. ให้ยกเลิก ประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง หลักเกณฑ์ การตีพิมพ์ ผลงานวิจัย จากวิทยานิพนธ์ เพื่อขอสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาเอก พ.ศ. 2549 ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2549


  2. บทความวิจัย จากวิทยานิพนธ์ ปริญญาเอก ต้องเป็นบทความ ประเภท Research Article และต้อง ลงตีพิมพ์ในวารสาร ทางวิชาการ ที่ได้รับ การประเมิน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จากภายนอก (Peer-reviewed Academic Journal) และต้อง ระบุชื่อนักศึกษา รวมทั้ง ระบุว่า เป็นผลงาน ที่เกิดขึ้นในกรอบ ของการศึกษาวิจัย ของมหาวิทยาลัยมหิดล


  3. สำหรับบทความ ประเภท Meta-analysis บทความจาก การประชุมวิชาการ (Conference Paper) ที่มีผู้ประเมิน บทความประเภท Original Article ที่ใช้ระเบียบ วิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ มีกระบวนการ ค้นคว้าอย่างมีระบบ ก่อให้เกิด องค์ความรู้ใหม่ และตีพิมพ์ ในหนังสือเฉพาะเรื่อง (Monograph) หรือหนังสือชุด (Book Series) ต้องเสนอ ผู้ทรงคุณวุฒิ ของบัณฑิตวิทยาลัย พิจารณาให้ความเห็นชอบ แต่ละเรื่องไป

  4. วารสารที่ตีพิมพ์ ต้องเป็นวารสาร ทางวิชาการระดับนานาชาติ ที่มีระบบ ประเมินบทความ (International Peer-reviewed Academic Journal) และปรากฏชื่อ อยู่ในฐานข้อมูลสากล ที่ได้รับ ความเห็นชอบ ตามข้อ 1.1 หรือกรณี วารสารที่ตีพิมพ์ ภายในประเทศ หรือ ต่างประเทศ ที่อยู่ในฐานข้อมูลสากล และไม่อยู่ ในฐานข้อมูลสากล ตามข้อ 1.2 เอกสารแนบท้ายประกาศ ฉบับนี้ สามารถลงตีพิมพ์ได้ โดยไม่ต้อง ขออนุญาต จากบัณฑิตวิทยาลัยก่อน


  5. สำหรับวารสาร ที่ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ข้างต้น ต้องเสนอผู้ทรงคุณวุฒิ ของบัณฑิตวิทยาลัย พิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนที่จะส่งผลงานวิจัยหรือ บทความวิจัยไปตีพิมพ์ เพื่อขอสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก วารสารดังกล่าวนี้ได้แก่
    • วารสารที่ไม่มีระบบประเมินบทความ (review) อย่างเคร่งครัด
    • วารสารที่ไม่ปรากฏใน ฐานข้อมูลสากล แต่จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์/ บริษัท/ สมาคมวิชาชีพ/ องค์กรที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ หรือ มีสมาชิก บอกรับวารสารจาก หลากหลาย ประเทศ หรือมีการจำหน่าย เผยแพร่วารสาร ไปทั่วโลก
    • วารสารที่ตีพิมพ์เป็นฉบับพิเศษ หรือฉบับแทรก (Supplement) สำหรับการจัดประชุมวิชาการ

  6. การเสนอวารสาร ให้บัณฑิตวิทยาลัย พิจารณา ให้นักศึกษา ส่งข้อมูลของวารสาร เสนอบัณฑิตวิทยาลัย เพื่อพิจารณา โดยผ่าน ความเห็นชอบ จากอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก และประธานหลักสูตร ก่อนส่งบทความวิจัย ไปตีพิมพ์ โดยกรอกแบบฟอร์ม บฑ.43 เสนอให้บัณฑิตวิทยาลัย พิจารณาวารสาร เพื่อการตีพิมพ์ฯ พร้อมทั้งแนบ บทความวิจัย ที่จะส่งตีพิมพ์ และข้อมูลของวารสาร ที่จะส่งตีพิมพ์ ซึ่งประกอบด้วย
    • ฐานข้อมูลสากลที่ปรากฏชื่อวารสารที่จะส่งตีพิมพ์
    • ตัวเล่มวารสารฉบับล่าสุด (เฉพาะวารสารที่ไม่ปรากฏในฐานข้อมูลสากล)
    • ข้อมูลอื่นๆ ที่สามารถใช้ ยืนยันได้ว่า บทความที่ ลงตีพิมพ์ในวารสารนั้น มีการประเมิน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จากภายนอก หรือบทความที่ตีพิมพ์ลงใน วารสารนั้น ได้รับการอ้างอิงจาก บทความอื่นซึ่งตีพิมพ์ ในวารสารระดับ นานาชาติ
    • หลักฐานอื่นๆ เพื่อประกอบการพิจารณา

  7. ให้ผู้ทรงคุณวุฒิของบัณฑิตวิทยาลัยพิจารณาเอกสารตามข้อ 4 ตามหลักเกณฑ์ ต่อไปนี้
    • เป็นวารสารประเภท International Peer-reviewed Academic Journal หรือ
    • ป็นวารสารที่ ได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และ/ หรือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) หรือ
    • เป็นวารสารที่ ปรากฏบทความที่ได้รับ การอ้างอิง ในฐานข้อมูลสากล การพิจารณาของ ผู้ทรงคุณวุฒิ ของบัณฑิตวิทยาลัย ถือเป็นที่สิ้นสุด

  8. เมื่อบัณฑิตวิทยาลัย ตอบอนุมัติวารสาร เรียบร้อยแล้ว นักศึกษา จึงส่งบทความวิจัย ไปตีพิมพ์ เพื่อขอสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยมหิดล ต่อไปได้