English Sitemap
Thesis Preparation and Submission
ความแตกต่างของวิทยา
นิพนธ์
ส่วนประกอบของวิทยานิพนธ์
การพิมพ์วิทยานิพนธ์ /
สารนิพนธ์
ขั้นตอนการสอบวิทยานิพนธ์
ปริญญาเอก
ขั้นตอนการสอบวิทยานิพนธ์/
สารนิพนธ์ ปริญญาโท
คณะกรรมการในการทำวิทยา
นิพนธ์/สารนิพนธ์
รายงานความก้าวหน้าและ
การประเมินผล การทำวิทยา
นิพนธ์/สารนิพนธ์
กรรมการ สอบวิทยานิพนธ์ไม่
สามารถ มาทำการสอบได้
ตามกำหนด
เกณฑ์การตัดสินผลการสอบ
วิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์
การส่งวิทยานิพนธ์/สาร
นิพนธ์และแผ่นบันทึกข้อมูล
วิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์
การยกเลิกผลการสอบวิทยา
นิพนธ์/สารนิพนธ์
การเผยแพร่วิทยานิพนธ์์เพื่อ
ขอสำเร็จการศึกษาปริญญาโท
การเผยแพร่วิทยานิพนธ์เพื่อ
ขอสำเร็จการศึกษาปริญญา
เอก
การขออนุมัติปริญญา
กำหนดวันสำเร็จการศึกษา
การส่งวิทยานิพนธ์/สาร
นิพนธ์ไปยังห้องสมุดต่าง ๆ
กลับหน้าแรก > ส่วนประกอบของวิทยานิพนธ์

วิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ ประกอบด้วย 3 ส่วน

  1. ส่วนนำ
  2. ส่วนเนื้อความ
  3. ส่วนอ้างอิงหรือส่วนท้าย

  1. ส่วนนำ ( Preliminary Section) ประกอบด้วย

    • ปกนอก ( Outer Cover) ระบุชื่อวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์, ชื่อ นามสกุล ของผู้เขียน วิทยานิพนธ์ /สารนิพนธ์, ปริญญาที่ได้รับ, ปี พ.ศ. ที่สำเร็จการศึกษา และข้อความแสดงลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล

      วิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ ปริญญาโท ให้ใช้ปกสีดำ อักษรตัวทอง
      วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ให้ใช้ปกสีน้ำเงินเข้ม อักษรตัวทอง
      ขอบสันปกนอก ของเล่มวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ ให้ระบุ ชื่อวิทยานิพนธ์ ,ชื่อนักศึกษา, ปี พ.ศ. ที่สอบวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ ผ่าน ( กรณีไม่สามารถระบุชื่อวิทยานิพนธ์ ที่ขอบสันปกนอก ให้ระบุเฉพาะ ชื่อนักศึกษา และปีพ.ศ. สำเร็จการศึกษา ได้)

    • หน้าว่าง (Blank page) กระดาษว่าง 1 แผ่น

    • หน้าปกใน (Title page) ข้อความในหน้าปกในให้มีข้อความเหมือนกับปกนอก

    • หน้าเสนอวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ (Entitled Page ) ประกอบด้วยข้อมูลชื่อวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์, ชื่อ-นามสกุลของผู้เขียนวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ โดยมีคำนำน้านาม คือ นาย/นาง/นางสาว และหากมียศ ฐานันดรศักดิ์ ราชทินนาม หรือสมณศักดิ์ ก็ให้ใส่ไว้ด้วย, รายนามคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ โดยมีตำแหน่งทางวิชาการนำหน้า และมีคุณวุฒิ (ควรระบุคุณวุฒิสูงสุดที่ได้รับ) ท้าย ชื่อ- นามสกุล, ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และชื่อคณะ/สถาบัน/วิทยาลัย ที่นักศึกษาศึกษาอยู่, และชื่อ-นามสกุล คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

    • หน้าอนุมัติวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ (Approval Page) ประกอบด้วยข้อมูล ชื่อวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์, ชื่อ-นามสกุลของผู้เขียนวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์, รายนามคณะกรรมการ สอบวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์, คณบดี/ผู้อำนายการ คณะ/สถาบัน/วิทยาลัย ที่นักศึกษาศึกษาอยู่, และ ชื่อ-นามสกุล คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

    • หน้ากิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement Page) เป็นหน้าที่เขียนแสดงความขอบคุณบุคคลและหน่วยงานที่ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือในการทำวิจัย, รวมถึงคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์, คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์, แหล่งทุน โดยใช้ภาษาเขียน ไม่ใช้ภาษาพูด ดังนั้นการกล่าวถึงบุคคลต่างๆ จึงต้องเขียน ชื่อ-สกุล โดยมีคำนำหน้าและหากมีตำแหน่งทางวิชาการ หรือ ยศ ฐานันดรศักดิ์ ราชทินนาม หรือสมณศักดิ์ ต้องเขียนระบุให้ครบถ้วนและถูกต้องด้วย

      หน้ากิตติกรรมประกาศนี้ ให้มีความยาวไม่เกิน 1 หน้า

    • หน้าบทคัดย่อ (Abstract Page) ประกอบด้วย ข้อมูลชื่อวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์, ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์, ชื่อปริญญา (ใช้ชื่อย่อ) และชื่อสาขาวิชา, รายนามคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์, คำสำคัญ (Key Word) ไม่เกิน 5 คำ ที่แสดงเนื้อหาของวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ และช่วยในการสืบค้นวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์, และจำนวนหน้าทั้งหมดตลอดเล่ม

      การเขียนบทคัดย่อ ควรระบุถึงวัตถุประสงค์, ขอบเขตของการวิจัย, วิธีการการวิจัยเครื่องมือวิจัย จำนวนและลักษณะของกลุ่มที่ศึกษา,และผลการวิจัย โดยเขียนให้ยึดหลักความถูกต้อง ตรงตามที่ปรากฏในวิทยานิพนธ์ เขียนให้สั้นและกระชับ ชัดเจน คงความสมบูรณ์ของเนื้อหา มีข้อมูลตัวเลขที่สำคัญที่ได้จากการวิจัย ใช้ถ้อยคำสละสลวย น่าอ่าน

      หน้าบทคัดย่อให้มีความยาวไม่เกิน 1 หน้า

    • สารบัญ (Contents) แสดงถึงส่วนประกอบสำคัญทั้งหมดของรูปเล่มวิทยานิพนธ์/
      สารนิพนธ์โดยมีเลขหน้ากำกับ และเรียงตามลำดับของเนื้อหาในเล่มวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์

    • สารบัญตาราง (List of Tables) (ถ้ามี) เป็นรายการที่แจ้งตำแหน่งหน้าของตารางทั้งหมดที่มีอยู่ในวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์

    • สารบัญภาพหรือสารบัญแผนภูมิ (List of Figures or Charts) (ถ้ามี) เป็นรายการที่แจ้งตำแหน่งหน้าของรูปภาพ (รูปภาพ แผนที่ แผนภูมิ กราฟ ฯลฯ) ทั้งหมดที่ปรากฏในวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์

    • คำอธิบายสัญลักษณ์และคำย่อ (List of Abbreviations) (ถ้ามี) เป็นส่วนที่อธิบายถึงสัญลักษณ์และคำย่อต่างๆ ที่ใช้ในวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์



  2. ส่วนเนื้อความ ( Body of Text)

    แบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ บทนำ ตัวเรื่อง ข้อสรุปและ/หรือข้อเสนอแนะ
    • บทนำ (Introduction) กล่าวถึงความเป็นมา ความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ และขอบเขตของการวิจัย วิธีที่จะดำเนินการวิจัยโดยย่อ ประโยชน์ที่จะได้รับจากการวิจัย

    • ตัวเรื่อง (Text or Body of Contents) เป็นเนื้อหาของวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์
      ประกอบด้วย การปริทัศน์วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (Literature Review), วิธีการที่ใช้ในการวิจัยอย่างละเอียด การวิเคราะห์, รายงานผล, อภิปรายผลการวิจัย, รายละเอียดให้อยู่ในดุลยพินิจของอาจารย์ ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก และหลักสูตร

    • ข้อสรุปและ/หรือข้อเสนอแนะ (Conclusion and Recommendations)
      สรุปผลของการวิจัย ข้อจำกัดของการวิจัย (ถ้ามี) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการวิจัยในขั้นต่อไป และประโยชน์ในทางประยุกต์ผลวิจัยที่ได้

  3. ส่วนอ้างอิงหรือส่วนท้าย (Reference Section)

    • ส่วนอ้างอิง (References) ได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์ โสตทัศนวัสดุที่ใช้ประกอบการศึกษาค้นคว้า และ/หรืออ้างอิงในส่วนเนื้อหา

    • ภาคผนวก (Appendix) คือ ข้อความที่ไม่สามารถบรรจุอยู่ในส่วนเนื้อหา เป็นส่วนเสริมให้เกิดความเข้าในชัดเจนขึ้น

    • ประวัติผู้วิจัย (Biography) อยู่หน้าสุดท้ายของวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ มีรายละเอียดเกี่ยวกับ ชื่อ-สกุลผู้วิจัย / วันเดือนปีเกิด / สถานที่เกิด (จังหวัดและประเทศที่เกิด)/ ประวัติการศึกษา ระบุคุณวุฒิ- สถาบันการศึกษา และปีที่สำเร็จการศึกษา โดยเริ่มตั้งแต่ระดับปริญญาตรี/ ทุนการศึกษา ทุนวิจัยที่ได้รับระหว่างศึกษา / ที่อยู่ / ที่ทำงาน / ตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน / ผลงานที่ตีพิมพ์และผลงานทางวิชาการ /รางวัลที่ได้รับระหว่างศึกษา หรือรางวัลจากการเผยแพร่วิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์