English Sitemap
Thesis Preparation and Submission
ความแตกต่างของวิทยา
นิพนธ์
ส่วนประกอบของวิทยานิพนธ์
การพิมพ์วิทยานิพนธ์ /
สารนิพนธ์
ขั้นตอนการสอบวิทยานิพนธ์
ปริญญาเอก
ขั้นตอนการสอบวิทยานิพนธ์/
สารนิพนธ์ ปริญญาโท
คณะกรรมการในการทำวิทยา
นิพนธ์/สารนิพนธ์
รายงานความก้าวหน้าและ
การประเมินผล การทำวิทยา
นิพนธ์/สารนิพนธ์
กรรมการ สอบวิทยานิพนธ์ไม่
สามารถ มาทำการสอบได้
ตามกำหนด
เกณฑ์การตัดสินผลการสอบ
วิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์
การส่งวิทยานิพนธ์/สาร
นิพนธ์และแผ่นบันทึกข้อมูล
วิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์
การยกเลิกผลการสอบวิทยา
นิพนธ์/สารนิพนธ์
การเผยแพร่วิทยานิพนธ์์เพื่อ
ขอสำเร็จการศึกษาปริญญาโท
การเผยแพร่วิทยานิพนธ์เพื่อ
ขอสำเร็จการศึกษาปริญญา
เอก
การขออนุมัติปริญญา
กำหนดวันสำเร็จการศึกษา
การส่งวิทยานิพนธ์/สาร
นิพนธ์ไปยังห้องสมุดต่าง ๆ
กลับหน้าแรก > การพิมพ์วิทยานิพนธ์ / สารนิพนธ์
  1. ตัวพิมพ์ ตัวอักษรที่ใช้พิมพ์ ต้องเป็นสีดำ คมชัด สะดวกแก่การอ่าน และใช้ตัวพิมพ์แบบเดียวกันตลอดทั้งเล่ม

  2. กระดาษพิมพ์ ให้ใช้กระดาษขาว ไม่มีบรรทัด ขนาดมาตรฐาน A4 และหนาไม่ต่ำกว่า 80 แกรม ให้พิมพ์เพียงหน้าเดียว

  3. รูปแบบการพิมพ์ ให้พิมพ์ตามรูปแบบที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด

  4. การเว้นว่างริมกระดาษ (Page Setup)
    การเว้นที่ว่างจากขอบกระดาษ ด้านซ้ายมือ และด้านบน ให้เว้นว่างห่างจากขอบประมาณ 3.75 เซนติเมตร (ยกเว้นหน้าแรกของแต่ละบท ให้เว้นว่างประมาณ 5 เซนติเมตร) ด้านขวาและด้านล่าง ให้เว้นว่างห่างจากขอบประมาณ 2.5 เซนติเมตร สำหรับตำแหน่งเลขหน้าให้เว้นว่างห่างจากขอบด้านบน 2.5 เซนติเมตร

  5. การลำดับหน้า
    ในการลำดับหน้า ส่วนนำทั้งหมดให้ใช้เลขโรมันตัวเล็ก เริ่มพิมพ์เลข iii ที่หน้ากิตติกรรมประกาศ (สำหรับวิทยานิพนธ์ / สารนิพนธ์ ที่ได้รับพิจารณาให้เขียนเป็นภาษาไทยให้ใช้ตัวอักษรเรียงตามลำดับพยัญชนะในภาษาไทย โดยเริ่มพิมพ์พยัญชนะ ค ที่หน้ากิตติกรรมประกาศ) เว้นเฉพาะหน้าปก หน้าเสนอวิทยานิพนธ์ หน้าอนุมัติ แต่ให้นับจำนวนหน้ารวมไปด้วย ต่อจากนั้น ให้ลำดับหน้าโดยใช้หมายเลข 1, 2, 3, ฯลฯ เริ่มตั้งแต่บทที่ 1 เป็นต้นไป

  6. การกำหนดระยะระหว่างบรรทัด (Spacing)

    • ให้ใช้ระยะห่าง 1.5 lines แต่สำหรับวิทยานิพนธ์ / สารนิพนธ์ ที่เขียนเป็นภาษาไทยให้ใช้ Single line

    • หัวข้อสำคัญให้พิมพ์ห่างจากบรรทัดบน 2 บรรทัด และหัวข้อย่อยให้พิมพ์ห่างจากบรรทัดบน 1 บรรทัด และไม่ต้องเว้นบรรทัดในแต่ละย่อหน้า

    • เมื่อมีย่อหน้า หรือขึ้นย่อหน้าใหม่ ให้เว้นระยะไว้ 2 เซนติเมตร จึงเริ่มพิมพ์ข้อความ

  7. การกำหนดหัวเรื่องเลขหน้า (Header)

    • ให้กำหนดหัวเรื่องเลขหน้า ในหน้าบทคัดย่อ และในส่วนเนื้อความเริ่มตั้งแต่
      บทที่ 1 เป็นต้นไป

    • ตัวพิมพ์และขนาดตัวอักษร ให้ใช้ตัวพิมพ์ Times New Roman ตัวอักษรธรรมดา
      ขนาด 10 ปอยต์ สำหรับวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ ที่ได้รับพิจารณาให้เขียนเป็นภาษาไทย ให้ใช้ตัวพิมพ์ Angsana New ตัวอักษรธรรมดาขนาด 12 ปอยต์

    • ตำแหน่งการพิมพ์เลขหน้า ให้พิมพ์ห่างจากริมกระดาษด้านบน 2.5 เซนติเมตร

    • การกำหนดชื่อหัวเรื่อง
      ก. หน้าบทคัดย่อ
      ให้พิมพ์คำว่า "Fac. of Grad. Studies, Mahidol Univ." ไว้ที่มุมซ้ายบน และพิมพ์คำว่า "Thesis " ไว้ที่มุมขวาบนแนวเดียวกับเลขหน้าโดยใช้เครื่องหมาย " / " คั่น และเว้น 1 ช่วงตัวอักษร ก่อนและหลังเครื่องหมาย " / "
      (สำหรับสารนิพนธ์ ให้พิมพ์คำว่า Thematic Paper)

      สำหรับวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ ที่ได้รับพิจารณาให้เขียนเป็นภาษาไทย ให้ พิมพ์ คำว่า " บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล " ไว้ที่มุมซ้ายบน และพิมพ์คำว่า " วิทยานิพนธ์ / สารนิพนธ์ " ไว้ที่มุมขวาบนแนวเดียวกับเลขหน้าโดยใช้เครื่องหมาย " / " คั่น และเว้น 1 ช่วงตัวอักษรก่อนและหลังเครื่องหมาย " / "

      ข. หน้าที่มีเลขลำดับหน้าเป็นเลขคี่
      ให้พิมพ์คำว่า " Fac. of Grad. Studies, Mahidol Univ. " ไว้ที่มุมซ้ายบน และพิมพ์ปริญญาที่ได้รับ เช่น
      " M.Sc. (Tropical Medicine) หรือ M.Sc. (Trop. Med.) " ไว้ที่มุมขวาบน (หากชื่อสาขาวิชายาวเกินไปสามารถย่อได้ ) แนวเดียวกับเลขหน้า โดยใช้เครื่องหมาย " / " คั่น และเว้น 1 ช่วงตัวอักษรก่อนและหลังเครื่องหมาย
      " / "

      สำหรับวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ ที่ได้รับพิจารณาให้เขียนเป็นภาษาไทย ให้พิมพ์คำว่า "บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล" ไว้ที่มุมซ้ายบน และพิมพ์ปริญญาที่ได้รับ เช่น " ศศ.ม. (ดนตรี)" ไว้ที่มุมขวาบนแนวเดียวกับเลขหน้าโดยใช้เครื่องหมาย " / " คั่น และ เว้น 1 ช่วงตัวอักษรก่อนและหลังเครื่องหมาย " / "

      ค. หน้าที่มีเลขลำดับหน้าเป็นเลขคู่
      ให้พิมพ์ชื่อนักศึกษาไว้ที่มุมซ้ายบน โดยไม่ต้องมีคำนำหน้าชื่อ และตำแหน่ง ยกเว้นหากมียศฐานันดรศักดิ์ ราชทินนาม สมณศักดิ์ และพิมพ์ชื่อบท เช่น " Introduction หรือ Literature Review หรือ References หรือ Bibliography หรือ Appendix หรือ Biography " ไว้ที่มุมขวาบนแนวเดียวกับเลขหน้า โดยใช้เครื่องหมาย " / " คั่น และเว้น 1 ช่วงตัวอักษรก่อนและหลังเครื่องหมาย " / "

  8. การแบ่งบทและหัวข้อในบทและส่วนเนื้อความ

    • 8.1. บท (Chapters)
      เมื่อเริ่มบทใหม่จะต้องขึ้นหน้าใหม่เสมอ และมีเลขประจำบทโดยให้ใช้เลขโรมันและ เลขอารบิก สำหรับวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ ที่เขียนเป็นภาษาไทย ให้พิมพ์คำว่า "บทที่" หรือ "CHAPTER" ไว้ตรงกลางตอนบนสุดของหน้ากระดาษ บรรทัดต่อมาให้พิมพ์ " ชื่อบท " ไว้ตรงกลางหน้ากระดาษ เช่นกัน ถ้าชื่อบท ยาวเกิน 1 บรรทัด ให้แบ่งเป็น 2-3 บรรทัด ตามความเหมาะสม โดยพิมพ์เรียงลงมาเป็นลักษณะสามเหลี่ยมกลับหัว และไม่ต้องขีด เส้นใต้

    • 8.2. หัวข้อสำคัญ
      หัวข้อสำคัญในแต่ละบท หมายความถึง หัวข้อหลักซึ่งมิใช่เป็นชื่อเรื่องประจำบท ให้อยู่ชิดริม ให้พิมพ์ห่างจากบรรทัดบน 2 บรรทัด

      การขึ้นหัวข้อใหม่ ถ้ามีที่ว่างสำหรับพิมพ์ข้อความต่อไปได้ในหน้านั้น ไม่เกินหนึ่งบรรทัด ให้ขึ้นหัวข้อใหม่ในหน้าถัดไป

    • 8.3. หัวข้อย่อย
      ให้พิมพ์หัวข้อย่อย โดยย่อหน้า 2 เซนติเมตร การพิมพ์ให้พิมพ์ห่างจากบรรทัดบน 1 บรรทัด และอาจใช้ตัวอักษรกำกับสลับกับตัวเลข หรือตัวเลขอย่างเดียวก็ได้

    • 8.4. ส่วนเนื้อความ
      ให้พิมพ์ห่างจากชื่อบท 2 บรรทัด และจัดระยะย่อหน้า 2 เซนติเมตร ห่างจากริมด้านซ้าย


  9. การจัดทำตาราง กราฟ แผนภูมิ และรูปประกอบ

    • 9.1 ตาราง
      ให้ใช้คำว่า " ตาราง…" ระบุลำดับที่ของตารางตามเลขที่บทและมีคำอธิบายอยู่เหนือตาราง
      ถ้าตารางมีความยาวมาก ไม่สามารถให้สิ้นสุดในหน้าเดียวได้ ให้พิมพ์ส่วนที่เหลือในหน้าถัดไป แต่ทั้งนี้จะต้องมีลำดับที่ ชื่อของตาราง และมีคำว่า "cont." ในวงเล็บ นอกจากนี้ต้องมีส่วนของข้อความในตารางรวมอยู่ด้วยในแต่ละหน้า อย่างน้อย 2 บรรทัด ในกรณีที่ส่วนข้อความของตารางสิ้นสุดลง และจำเป็นจะต้องอ้างถึงที่มาของตารางในหน้าถัดไป จะต้องบอกข้อความบางส่วนของตารางไว้ในหน้าใหม่อย่างน้อย 2 บรรทัด โดยยอมปล่อยให้มีที่ว่างในตารางหน้าเดิม

      ขนาดความกว้างของตาราง ไม่ควรเกินกรอบของหน้าวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ สำหรับตารางขนาดใหญ่ ให้พยายามลดขนาดของตารางลงโดยใช้การถ่ายย่อส่วน หรือวิธีอื่นๆ ตามความเหมาะสม ส่วนตารางที่กว้างเกินกว่าหน้าของวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ ก็อาจจัดพิมพ์ตามแนวขวางของหน้าได้

    • 9.2. กราฟ แผนภูมิ และรูปภาพประกอบ
      ให้ใช้คำว่า "รูปภาพ…" ระบุลำดับที่ของรูปภาพตามเลขที่บท และมีคำอธิบายประกอบใต้รูปภาพ

      รูปภาพประกอบสามารถใช้ได้ทั้งภาพจริง ภาพจาการถ่ายสำเนาหรือภาพจากระบบคอมพิวเตอร์ โดยต้องเป็นภาพที่มีความชัดเจน และต้อง INSERT ภาพประกอบไว้ในแฟ้มข้อมูลในแผ่นบันทึกข้อมูลวิทยานิพนธ์/
      สารนิพนธ์ ด้วย

      ทั้งนี้อนุญาตให้ติดรูปภาพประกอบได้ที่กระดาษด้านซ้ายที่เป็นหน้าว่าง กรณีที่จะช่วยให้การบรรยายหรือการอธิบายชัดเจนมากขึ้น

  10. การพิมพ์ชื่อวิทยาศาสตร์
    การพิมพ์ชื่อวิทยาศาสตร์ของจุลชีพ พืช สัตว์ ให้ใช้ตามประมวลนามศาสตร์สากล (International Code of Nomenclature) คือ ทำให้เด่นชัด แตกต่างจากอักษรหรือข้อความอื่นๆ โดย ขีดเส้นใต้ หรือ พิมพ์ด้วยตัวเอน

  11. การจัดทำ CD วิทยานิพนธ์ / สารนิพนธ์
    ให้กำหนดชื่อแฟ้มข้อมูล ดังนี้ โดยในแผ่นซีดีรอมจะต้องมีไฟล์ Microsoft Word และ ไฟล์ PDF
         
    1. หน้าปก, หน้าเสนอ, หน้าอนุมัติ, กิตติกรรมประกาศ ให้ใช้ชื่อแฟ้มข้อมูลว่า Cover.doc และ Cover.pdf
       
    2. สารบัญ, สารบัญตาราง, ฯลฯ สัญลักษณ์และ คำย่อ ให้ใช้ชื่อแฟ้มข้อมูลว่า Conts.doc และ Conts.pdf
       
    3. บทคัดย่อ ให้ใช้ชื่อแฟ้มข้อมูลว่า Abstract.doc และ Abstract.pdf
       
    4. บทนำ ให้ใช้ชื่อแฟ้มข้อมูลว่า Intro.doc และ Intro.pdf
       
    5. บททบทวนวรรณกรรม ให้ใช้ชื่อแฟ้มข้อมูลว่า Liter.doc และ Liter.pdf
       
    6. บทวิธีการวิจัย ให้ใช้ชื่อแฟ้มข้อมูลว่า Method.doc และ Method.pdf
       
    7. บทผลการวิจัย ให้ใช้ชื่อแฟ้มข้อมูลว่า Result.docและ Result.pdf
       
    8. บทอภิปราย ให้ใช้ชื่อแฟ้มข้อมูลว่า Discuss.doc และ Discuss.pdf
       
    9. บทสรุป ให้ใช้ชื่อแฟ้มข้อมูลว่า Conclude.doc และ Conclude.pdf
       
    10. รายการอ้างอิง/บรรณานุกรม ให้ใช้ชื่อแฟ้มข้อมูลว่า Refer.doc และ Refer.pdf
       
    11. ภาคผนวก ให้ใช้ชื่อแฟ้มข้อมูลว่า Appendix.doc และ Appendix.pdf
       
    12. ประวัติผู้วิจัย ให้ใช้ชื่อแฟ้มข้อมูลว่า Biography.doc และ Biography.pdf