เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันพุธที่   24   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา
เว็บไซต์ http://www.ihrp.mahidol.ac.th/

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(สิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา)

จุดเด่นของหลักสูตร

หลักสูตรสิทธิมนุษยชน และสันติศึกษาให้การศึกษาด้านทฤษฎี ระเบียบวิธีวิจัย และการศึกษาปัจจัยทาง สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ของประเทศไทย รวมทั้งในระดับภูมิภาค และระดับโลก ที่มีผลกระทบ ต่อสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ และการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน สันติภาพและสันติวิธีอย่างเชื่อมโยง มีพลวัต และเป็นสหวิทยาการ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและการวิเคราะห์โครงสร้าง บริบทสังคมไทย และการนำ มาตรฐานและกลไกสิทธิมนุษยชนทั้งในระดับสากล และระดับชาติมาใช้ในบริบทท้องถิ่น เพื่อเสริมการทำ งานส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสันติภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และมีความรู้ด้านศีลธรรมและ จริยธรรมของวิชาชีพ อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในมิติและ บริบทต่างๆ ของสังคม

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

แบบ ๑  ทำวิจัยอย่างเดียว
(๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาโท  สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงาน
คณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง โดยได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐      	
(๒) ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยอย่างน้อย ๓-๕ เรื่องในสาขาสังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
ในวารสารที่ได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น
(๓) ผู้มีประสบการณ์การทำงานด้านสิทธิมนุษยชนและสันติภาพหรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องจะได้รับ
การพิจารณาเป็นพิเศษ
(๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
เข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

แบบ ๒ ศึกษารายวิชาและทำวิจัย
(๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงาน
คณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง โดยได้รับแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ 
(๒) ผู้มีประสบการณ์การทำงานด้านสิทธิมนุษยชนและสันติภาพหรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องจะได้รับ
การพิจารณาเป็นพิเศษ
(๓) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
เข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๑
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
แบบ ๒
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ในสาขาวิชาหลักของหลักสูตร(สิทธิมนุษยชน หรือสันติศึกษา)
หมวดวิชาบังคับ 12            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
หมวดวิชาบังคับ 18            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 54            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิชาการด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา
- นักวิจัยด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา
- ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาในองค์กรระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ
- ผู้นำองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ
- ผู้ทำงานด้านการจัดการความขัดแย้ง
- ตลอดจนอาชีพอื่นๆ เช่น ข้าราชการและพนักงานภาคธุรกิจเอกชน ที่มีความจำเป็นต้องใช้ความรู้ด้าน สิทธิมนุษยชนและสันติภาพขั้นสูง

รายวิชาในหลักสูตร

PLAN 1: Research Only

ไม่ระบุหมวดวิชา หน่วยกิต
   สำหรับนักศึกษาที่เรียนแบบ ๑ จะต้องลงทะเบียนเรียนวิชา มสมส ๖๑๘ วิธีวิจัย โดยไม่นับหน่วยกิต
มสมส๖๑๘ : วิธีวิจัย 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท
มสมส๘๙๘ : วิทยานิพนธ์ 48

PLAN 2: Course Work & Dissertation

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ในสาขาวิชาหลักของหลักสูตร (สิทธิมนุษยชน หรือสันติศึกษา)
มสมส๖๑๐ : ทฤษฎีสิทธิมนุษยชน 3
มสมส๖๑๑ : มาตรฐานและกลไกสิทธิมนุษยชน 3
มสมส๖๑๓ : ความขัดแย้งและความมั่นคง 3
มสมส๖๑๔ : สัมมนาเรื่องสิทธิมนุษยชนและสันสิศึกษา 3
มสมส๖๑๘ : วิธีวิจัย 3
มสสม๖๑๗ : ทฤษฎีสันติภาพ 3
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
มสมส๖๑๐ : ทฤษฎีสิทธิมนุษยชน 3
มสมส๖๑๑ : มาตรฐานและกลไกสิทธิมนุษยชน 3
มสมส๖๑๓ : ความขัดแย้งและความมั่นคง 3
มสมส๖๑๔ : สัมมนาเรื่องสิทธิมนุษยชนและสันสิศึกษา 3
มสมส๖๑๘ : วิธีวิจัย 3
มสสม๖๑๗ : ทฤษฎีสันติภาพ 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ในสาขาวิชาหลักของหลักสูตร (สิทธิมนุษยชน หรือสันติศึกษา)
มสมส๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
มสมส๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36

อาจารย์ประจำหลักสูตร