เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันอังคารที่   19   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะศิลปศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.la.mahidol.ac.th/th/

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(ภาษาศาสตร์ประยุกต์)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาใน แบบ ๑.๑
      (๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจาก
สถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
      (๒) ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
      (๓) มีประสบการณ์ทำงานไม่น้อยกว่า ๒ ปีและมีผลงานทางวิชาการที่ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นภาษา
อังกฤษในวารสารหรือประมวลเอกสารในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่เชื่อถือได้อย่างน้อย ๒ เรื่อง
      (๔) มีโครงร่างการวิจัยที่ชัดเจน ที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาเห็นว่ามีคุณภาพสำหรับ
การวิจัยด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์ในระดับปริญญาเอก
      (๕) มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด
      (๖) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
เข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาใน แบบ ๒.๑
      (๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจากสถาบันอุดมศึกษาที่
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
      (๒) ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
      (๓) มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด
      (๔) มีโครงร่างการวิจัยที่ชัดเจน ที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาเห็นว่ามีคุณภาพสำหรับ
การวิจัยด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์ในระดับปริญญาเอก
      (๕) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
เข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาใน แบบ ๒.๒
     (๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาศาสตร์หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจากสถาบันอุดม
ศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
     (๒) ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ หรือได้รับเกียรตินิยม
     (๓) มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด
     (๔) มีโครงร่างการวิจัยที่ชัดเจน ที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาเห็นว่ามีคุณภาพสำหรับ
การวิจัยด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์ในระดับปริญญาเอก
     (๕) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
เข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๑ วิทยานิพนธ์
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า -            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
แบบ 2 ศึกษารายวิชาและวิทยานิพนธ์
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 12            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 51            หน่วยกิต
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 21            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 75            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1. นักวิจัยด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์หรือการสอนภาษาต่างประเทศ
2. นักวิชาการด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์หรือการสอนภาษาต่างประเทศ	
3. ผู้ที่ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับภาษาศาสตร์ประยุกต์หรือการสอนภาษาต่างประเทศ

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 1

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
   นักศึกษาที่ไม่เคยเรียนรายวิชาทางภาษาศาสตร์ต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชานี้ โดยไม่นับหน่วยกิต
ศศภป๗๐๐ : การศึกษาทางภาษาศาสตร์ 3
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
   ศึกษารายวิชาโดยไม่นับหน่วยกิต
ศศภป๗๐๑ : สัมมนาดุษฎีบัณฑิตภาษาศาสตร์ประยุกต์ 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
ศศภป๘๙๘ : วิทยานิพนธ์ 48

แบบ 2

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
   นักศึกษาที่ไม่เคยเรียนรายวิชาทางภาษาศาสตร์ต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชานี้ โดยไม่นับหน่วยกิต
ศศภป๗๐๐ : การศึกษาทางภาษาศาสตร์ 3
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
ศศภป๕๐๓ : การเขียนเพื่อจุดมุ่งหมายทางวิชาการ 3
ศศภป๕๐๖ : หลักการสอนภาษา 3
ศศภป๕๐๗ : กระบวนทรรศน์ทางการพัฒนาหลักสูตรภาษา 3
ศศภป๗๐๑ : สัมมนาดุษฎีบัณฑิตภาษาศาสตร์ประยุกต์ 3
ศศภป๗๑๐ : ลักษณะของภาษาและการใช้ภาษาสำหรับการสอนภาษาต่างประเทศ 3
ศศภป๗๑๑ : ประเด็นสำคัญของการศึกษาทางภาษาศาสตร์ประยุกต์ขั้นสูง 3
ศศภป๗๑๒ : การสร้างแบบทดสอบและประเมินผลภาษา 3
ศศภป๗๒๑ : การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางภาษาศาสตร์ประยุกต์ขั้นสูง 3
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
ศศภป๗๐๑ : สัมมนาดุษฎีบัณฑิตภาษาศาสตร์ประยุกต์ 3
ศศภป๗๑๐ : ลักษณะของภาษาและการใช้ภาษาสำหรับการสอนภาษาต่างประเทศ 3
ศศภป๗๑๑ : ประเด็นสำคัญของการศึกษาทางภาษาศาสตร์ประยุกต์ขั้นสูง 3
ศศภป๗๑๒ : การสร้างแบบทดสอบและประเมินผลภาษา 3
ศศภป๗๒๑ : การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางภาษาศาสตร์ประยุกต์ขั้นสูง 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
ศศภป๗๕๐ : ประเด็นเกี่ยวกับการรับภาษาที่สองขั้นสูง 3
ศศภป๗๕๑ : ภาษา วัฒนธรรมและการรู้คิด 3
ศศภป๗๕๒ : สัทศาสตร์สำหรับการสอนและวิจัยภาษาที่สอง 3
ศศภป๗๕๓ : การศึกษาอิสระ 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
ศศภป๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
ศศภป๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36