เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   19   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ 

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
เว็บไซต์ http://www.lc.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(ภาษาศาสตร์)

จุดเด่นของหลักสูตร

นักศึกษาที่เรียนจบหลักสูตรนี้จะสามารถวิเคราะห์ภาษาได้ทั้งด้านเสียงและไวยากรณ์ และสามารถนำทักษะ การวิเคราะห์ที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ทางด้านภาษาศาสตร์ทฤษฎี หรือภาษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือภาษาศาสตร์ประยุกต์เพื่อการพัฒนา ในความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรมในประเทศไทย จีน อินเดีย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถสร้างองค์ความรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรมและเป็น ผู้มีคุณธรรม จริยธรรมทั้งวิชาการและวิชาชีพ

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

แผน ก แบบ ก๒
(๑)  เป็นผู้สำเร็จการศึกษา หรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษาในระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับภาษาศาสตร์จากสถาบันอุดมศึกษาที่สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
รับรอง
(๒)  มีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
(๓)  มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
(๔)  ผู้ที่มีความรู้ภาษาท้องถิ่น ภาษากลุ่มชาติพันธุ์ หรือภาษาประเทศเพื่อนบ้านภาษาใดภาษาหนึ่งจะได้
รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
(๕) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้า
ศึกษาได้ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

แผน ข
(๑) เป็นผู้สำเร็จการศึกษา หรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษาในระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับภาษาศาสตร์จากสถาบันอุดมศึกษาที่สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
รับรอง
(๒) มีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
(๓) เป็นผู้มีประสบการณ์ทำงานในสาขาที่มีความเกี่ยวข้องกับภาษาไม่น้อยกว่า ๓ ปี
(๔) มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
(๕) ผู้ที่มีความรู้ภาษาท้องถิ่น ภาษากลุ่มชาติพันธุ์ หรือภาษาประเทศเพื่อนบ้านภาษาใดภาษาหนึ่งจะได้
รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
(๖) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้า
ศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 15            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต
แผน ข
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 15            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 15            หน่วยกิต
สารนิพนธ์ 6            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- วิทยากรผู้ถ่ายทอดความรู้ หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาศาสตร์
- นักวิจัย
- นักแปล
- ล่าม
- นักพัฒนา
- นักวิชาการประจำหน่วยงาน
- นักวิชาการอิสระ และเจ้าหน้าที่ในองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO)

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
วภภษ๕๐๑ : ภาพรวมภาษาศาสตร์ 3
วภสว๕๐๑ : สารัตถะของวิธีวิทยาระเบียบวิธีวิจัย 2
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
วภภษ๕๐๒ : สัทศาสตร์และสัทวิทยา 3
วภภษ๕๐๕ : วากยสัมพันธ์ 3
วภภษ๕๐๙ : ระเบียบวิธีวิจัยภาคสนามทางภาษาศาสตร์ 3
วภภษ๕๒๕ : ภาษาศาสตร์สังคม 3
วภภษ๕๓๒ : ภาษาศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
วภภษ๕๐๖ : ภาษาศาสตร์ชาติพันธุ์ 3
วภภษ๕๐๗ : ภาษาศาสตร์การศึกษา 3
วภภษ๕๑๐ : กลสัทศาสตร์ 3
วภภษ๕๒๐ : วัจนปฏิบัติศาสตร์ 3
วภภษ๕๒๓ : สัมพันธสารวิเคราะห์ 3
วภภษ๕๓๔ : ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ 3
วภภษ๕๓๕ : การเขียนและระบบการเขียน 3
วภภษ๕๓๖ : อรรถศาสตร์ 3
วภภษ๕๓๘ : การฝึกปฏิบัติการทางภาษาศาสตร์ภาคสนาม 3
วภภษ๕๓๙ : ภาษาศาสตร์คลังข้อมูล 3
วภภษ๕๔๓ : การทำพจนานุกรม 3
วภภษ๕๔๗ : ภาวะพหุภาษา และการศึกษาแบบพหุภาษา 3
วภภษ๕๖๒ : ภาษาศาสตร์ตระกูลออสโตรเอเชียติก 3
วภภษ๕๖๖ : ภาษาศาสตร์ตระกูลออสโตรนีเซียน 3
วภภษ๕๙๗ : อักษรไท 3
วภภษ๖๓๕ : ความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ในเอเชีย 3
วภภษ๖๓๗ : ภาษาและภาษาศาสตร์ภาษาพม่า 3
วภภษ๖๓๘ : เรื่องคัดเฉพาะภาษาและภาษาศาสตร์ภาษาพม่า 3
วภภษ๖๓๙ : ภาษาและภาษาศาสตร์ภาษาจีน 3
วภภษ๖๔๖ : ภาษาศาสตร์ตระกูลจีน 3
วภภษ๖๔๗ : ภาษาและภาษาศาสตร์ภาษาเขมร 3
วภภษ๖๔๘ : เรื่องคัดเฉพาะภาษาและภาษาศาสตร์ภาษาเขมร 3
วภภษ๖๔๙ : ภาษาและภาษาศาสตร์ภาษาเวียดนาม 3
วภภษ๖๖๙ : เรื่องคัดเฉพาะทางภาษาและภาษาศาสตร์ภาษาเวียดนาม 3
วภภษ๖๗๗ : ภาษาและภาษาศาสตร์ภาษามลายู 3
วภภษ๖๙๐ : เรื่องคัดเฉพาะทางภาษาและภาษาศาสตร์ภาษามาเลย์ 3
วภภษ๖๙๑ : เรื่องคัดเฉพาะทางภาษาและภาษาศาสตร์ตระกูลไท-กะได 3
วภภษ๖๙๒ : ภาษาศาสตร์ตระกูลไท-กะได 3
วภภษ๖๙๕ : วิทยาภาษาถิ่น 3
วภภษ๖๙๖ : การวิจัยตามกำหนด 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
วภภษ๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

แผน ข

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
วภภษ๕๐๑ : ภาพรวมภาษาศาสตร์ 3
วภสว๕๐๑ : สารัตถะของวิธีวิทยาระเบียบวิธีวิจัย 2
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
วภภษ๕๐๒ : สัทศาสตร์และสัทวิทยา 3
วภภษ๕๐๕ : วากยสัมพันธ์ 3
วภภษ๕๐๙ : ระเบียบวิธีวิจัยภาคสนามทางภาษาศาสตร์ 3
วภภษ๕๒๕ : ภาษาศาสตร์สังคม 3
วภภษ๕๓๒ : ภาษาศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
วภภษ๕๐๖ : ภาษาศาสตร์ชาติพันธุ์ 3
วภภษ๕๐๗ : ภาษาศาสตร์การศึกษา 3
วภภษ๕๑๐ : กลสัทศาสตร์ 3
วภภษ๕๒๐ : วัจนปฏิบัติศาสตร์ 3
วภภษ๕๒๓ : สัมพันธสารวิเคราะห์ 3
วภภษ๕๓๔ : ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ 3
วภภษ๕๓๕ : การเขียนและระบบการเขียน 3
วภภษ๕๓๖ : อรรถศาสตร์ 3
วภภษ๕๓๘ : การฝึกปฏิบัติการทางภาษาศาสตร์ภาคสนาม 3
วภภษ๕๓๙ : ภาษาศาสตร์คลังข้อมูล 3
วภภษ๕๔๓ : การทำพจนานุกรม 3
วภภษ๕๔๗ : ภาวะพหุภาษา และการศึกษาแบบพหุภาษา 3
วภภษ๕๖๒ : ภาษาศาสตร์ตระกูลออสโตรเอเชียติก 3
วภภษ๕๖๖ : ภาษาศาสตร์ตระกูลออสโตรนีเซียน 3
วภภษ๕๙๗ : อักษรไท 3
วภภษ๖๓๕ : ความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ในเอเชีย 3
วภภษ๖๓๗ : ภาษาและภาษาศาสตร์ภาษาพม่า 3
วภภษ๖๓๘ : เรื่องคัดเฉพาะภาษาและภาษาศาสตร์ภาษาพม่า 3
วภภษ๖๓๙ : ภาษาและภาษาศาสตร์ภาษาจีน 3
วภภษ๖๔๖ : ภาษาศาสตร์ตระกูลจีน 3
วภภษ๖๔๗ : ภาษาและภาษาศาสตร์ภาษาเขมร 3
วภภษ๖๔๘ : เรื่องคัดเฉพาะภาษาและภาษาศาสตร์ภาษาเขมร 3
วภภษ๖๔๙ : ภาษาและภาษาศาสตร์ภาษาเวียดนาม 3
วภภษ๖๖๙ : เรื่องคัดเฉพาะทางภาษาและภาษาศาสตร์ภาษาเวียดนาม 3
วภภษ๖๗๗ : ภาษาและภาษาศาสตร์ภาษามลายู 3
วภภษ๖๙๐ : เรื่องคัดเฉพาะทางภาษาและภาษาศาสตร์ภาษามาเลย์ 3
วภภษ๖๙๑ : เรื่องคัดเฉพาะทางภาษาและภาษาศาสตร์ตระกูลไท-กะได 3
วภภษ๖๙๒ : ภาษาศาสตร์ตระกูลไท-กะได 3
วภภษ๖๙๕ : วิทยาภาษาถิ่น 3
วภภษ๖๙๖ : การวิจัยตามกำหนด 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
วภภษ๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12
สารนิพนธ์ หน่วยกิต
วภวษ๖๙๗ : สารนิพนธ์ 6