เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   29   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุลและพันธุวิศวกรรมศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล
เว็บไซต์ http://www.mb.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(พันธุศาสตร์ระดับโมเลกุลและพันธุวิศวกรรมศาสตร์)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

๑. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาเคมี ชีวเคมี ชีววิทยา จุลชีววิทยา  เทคโนโลยีชีวภาพ
พันธุศาสตร์  เทคนิคการแพทย์  เภสัชศาสตร์  สัตวแพทยศาสตร์  แพทยศาสตร์  หรือสาขาวิชาที่
เกี่ยวข้อง  
๒.ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
๓. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น  อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
เข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาบังคับ 15            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุลและพันธุวิศวกรรมศาสตร์
- นักวิจัยด้านพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุลและพันธุวิศวกรรมศาสตร์
- ผู้ถ่ายทอดความรู้ในสถาบันอุดมศึกษา

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
ชมพพ๕๐๑ : พันธุวิศวกรรมศาสตร์ 3
ชมพพ๕๐๒ : พันธุศาสตร์ระดับโมเลกุล 3
ชมพพ๕๑๑ : เทคนิคด้านพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุลและพันธุวิศวกรรมศาสตร์ 3
ชมพพ๕๒๑ : สัมมนาด้านพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุลและพันธุวิศวกรรมศาสตร์ ๑ 1
ชมพพ๕๒๒ : สัมมนาด้านพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุลและพันธุวิศวกรรมศาสตร์ ๒ 1
ชมพพ๖๐๒ : การประยุกต์คอมพิวเตอร์ทางชีววิทยาระดับโมเลกุล 2
ชมพพ๖๐๓ : เครื่องมือทางชีววิทยาระดับโมเลกุล 2
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
ชมพพ๖๐๑ : หัวข้อปัจจุบันทางชีววิทยาระดับโมเลกุล 1
ชมพพ๖๐๖ : โครงสร้างของโปรตีน 2
ชมพพ๖๑๓ : โครงการวิจัยขั้นสูงด้านพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุลและพันธุวิศวกรรมศาสตร์ 3
วทคร๕๐๐ : ชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล 3
วทคร๕๐๖ : หลักการทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพระดับโมเลกุล 2
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
ชมพพ๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

อาจารย์ประจำหลักสูตร