เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   29   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เว็บไซต์ http://www.ict.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(วิทยาการคอมพิวเตอร์)

จุดเด่นของหลักสูตร

การปรับปรุงหลักสูตรนี้ เพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยมีการปรับให้เข้ากับสถานการณ์จริง และให้เป็นไปตามวิวัฒนาการของเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ และสารสนเทศที่ทันสมัย เพื่อให้สามารถรองรับการแข่งขันทางวิชาการและการวิจัยด้านวิทยาการ คอมพิวเตอร์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ได้มีความร่วมมือกันมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายที่จะ ผลิตบุคลากรทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถและมีศักยภาพสูง สามารถพัฒนางานวิจัยที่มี คุณภาพ ปฏิบัติตนอย่างมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งเป็นไปตามนโยบายและวิสัยทัศน์ ของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางด้านการศึกษาและการวิจัย เพื่อผลิตบัณฑิตที่เก่งและเป็น คนดีของสังคม

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

๑. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือสาขา
ที่เกี่ยวข้องทางเทคโนโลยีสารสนเทศ จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
รับรอง
๒. โดยมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕ หรือเทียบเท่า
๓. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
เข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๑
ศึกษารายวิชา ไม่นับหน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
แบบ ๒
หมวดวิชาบังคับ 9            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา
- นักวิชาการด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์
- นักวิจัยด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์
- ผู้จัดการโครงการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ที่ปรึกษาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรต่างๆ

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 1

ไม่ระบุหมวดวิชา หน่วยกิต
   นักศึกษาที่เลือกแบบ ๑ แต่ต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาสัมมนา ๓ วิชา โดยไม่นับหน่วยกิต
ทสคพ๖๗๑ : การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ ๑ 1
ทสคพ๖๗๒ : การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ ๒ 1
ทสคพ๖๗๓ : การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ ๓ 1
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
ทสคพ๘๙๘ : วิทยานิพนธ์ 48

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
ทสคพ๕๓๑ : คณิตศาสตร์สำหรับวิทยาการคอมพิวเตอร์ 3
ทสคพ๕๓๒ : พื้นฐานของวิทยาศาสตร์เชิงคำนวณ 3
ทสคพ๖๗๑ : การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ ๑ 1
ทสคพ๖๗๒ : การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ ๒ 1
ทสคพ๖๗๓ : การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ ๓ 1
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
   (๓) กลุ่มปัญญาประดิษฐ์
ทสคพ๖๖๐ : วิธีการแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ 3
ทสคพ๖๖๑ : ปัญญาประดิษฐ์ขั้นสูง 3
ทสคพ๖๖๒ : การรู้จำรูปแบบขั้นสูง 3
ทสคพ๖๖๓ : การประมวลผลภาพและสัญญาณ 3
ทสคพ๖๖๕ : การประมวลผลภาษาธรรมชาติ 3
ทสคพ๖๖๗ : คอมพิวเตอร์วิทัศน์ขั้นสูง 3
   (๑) กลุ่มฐานข้อมูล
ทสคพ๖๒๘ : เหมืองข้อมูลและการค้นพบความรู้ 3
ทสคพ๖๒๙ : วิศวกรรมความรู้ 3
ทสคพ๖๘๒ : ระบบฐานข้อมูลขั้นสูง 3
   (๒) กลุ่มเครือข่ายสื่อสารและความมั่นคง
ทสคพ๕๕๑ : การคำนวณเชิงบริการและคลาวด์ 3
ทสคพ๕๕๔ : การจัดการความมั่นคงของสารสนเทศ 3
ทสคพ๖๓๔ : การจำลองแบบแถวคอยในเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์ 3
ทสคพ๖๓๘ : ความมั่นคงของระบบเครือข่ายและระบบแบบกระจาย 3
ทสคพ๖๕๓ : สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ขั้นสูง 3
ทสคพ๖๘๗ : ความมั่นคงของคอมพิวเตอร์ขั้นสูง 3
   (๔) กลุ่มวิศวกรรมซอฟต์แวร์
ทสคพ๖๔๒ : การจัดการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 3
ทสคพ๖๔๔ : การประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ 3
ทสคพ๖๔๖ : วิศวกรรมความต้องการ 3
ทสคพ๖๕๑ : การออกแบบและการพัฒนาที่ขับเคลื่อนด้วยแบบจำลอง 3
ทสคพ๖๕๗ : การตรวจสอบความสมเหตุสมผลและการทวนสอบ 3
   กลุ่มวิชาเลือกอื่นๆ
ทสคพ๕๗๑ : วิธีเชิงตัวเลขสำหรับการทำให้เหมาะสมที่สุดเชิงคณิตศาสตร์ 3
ทสคพ๖๙๕ : การศึกษาอิสระ 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
ทสคพ๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36

อาจารย์ประจำหลักสูตร