เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันอังคารที่   19   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการพืช (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน โครงการร่วม คณะวิทยาศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.sc.mahidol.ac.th
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(วิทยาการพืช)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

๑. สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาขาวิชาพฤกษศาสตร์ ชีววิทยา เทคโนโลยีชีวภาพ เกษตรศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และแพทย์แผนไทย 
หรือในสาขาวิชาอื่นที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯเห็นสมควรจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการ
การอุดมศึกษา
๒. ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ หรือร้อยละ ๗๕
๓. มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนด
๔. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวอาจได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้สมัคร
เข้าศึกษาตามดุลยพินิจของ
ประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาบังคับ 12            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 12            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- ผู้ถ่ายทอดความรู้ และนักวิชาการทางวิทยาการพืช
- นักวิจัยทางวิทยาการพืชตามสถาบันอุดมศึกษา หรือสถาบันต่าง ๆ
- เป็นตัวแทนส่งเสริมการขายเครื่องมือวิทยาศาสตร์ วัสดุเคมี และอุปกรณ์ของบริษัทต่าง ๆ

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
ภกภพ๖๑๒ : การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืชสมุนไพร 3
ภกภพ๖๒๑ : เภสัชพฤกษศาสตร์บูรณาการ 2
วทคร๕๑๖ : ชีวสถิติ 3
วทคร๕๑๘ : ทักษะทั่วไปในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ 1
วทพฤ๕๖๒ : วิทยาการพืชบูรณาการ 2
วทพฤ๖๗๒ : สัมมนาทางวิทยาการพืช ๑ 1
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
ภกภพ๖๐๑ : การแพทย์แผนไทย 3
ภกภพ๖๐๔ : พฤกษศาสตร์พื้นบ้านทางการแพทย์ 3
ภกภพ๖๐๗ : การพัฒนายาจากสมุนไพร 3
ภกภพ๖๑๐ : หัวข้อเรื่องปัจจุบันทางเภสัชพฤกษศาสตร์ 2
ภกภพ๖๒๒ : การสร้างและจัดการฐานข้อมูลพืช 3
ภกวพ๖๙๕ : เทคโนโลยีชีวภาพประยุกต์ด้านพืชทางเภสัชศาสตร์ 3
วทพฤ๕๐๑ : พฤกษอนุกรมวิธานขั้นสูง 3
วทพฤ๕๐๒ : พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน 3
วทพฤ๕๐๓ : ชีววิทยาเรณู 3
วทพฤ๕๑๑ : สารควบคุมทางชีววิทยาของพืช 2
วทพฤ๕๒๑ : พันธุศาสตร์ของเซลล์พืช 3
วทพฤ๕๒๒ : ชีววิทยาระดับโมเลกุลของพืชขั้นสูง 3
วทพฤ๕๒๓ : เทคนิคทางชีววิทยาระดับโมเลกุลของพืช 3
วทพฤ๕๒๔ : การกลายพันธุ์ในพืช 3
วทพฤ๕๔๑ : การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชขั้นสูง 3
วทพฤ๕๔๓ : พฤกษเคมีขั้นสูง 3
วทพฤ๕๔๔ : เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชขั้นสูง 1
วทพฤ๕๖๓ : ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพืชและจุลชีพ 3
วทพฤ๕๖๔ : การส่งเสริมการเติบโตพืช 3
วทพฤ๕๗๑ : หัวข้อเรื่องปัจจุบันทางวิทยาการพืช 2
วทพฤ๕๗๒ : สถิติประยุกต์เพื่อวิทยาการพืช 1
วทพฤ๖๐๑ : การวิจัยทางพฤกษศาสตร์ขั้นสูง 1
วทพฤ๖๐๒ : ทักษะทางการถ่ายทอดความรู้ทางพฤกษศาสตร์ 1
วทพฤ๖๑๑ : การปรับตัวของพืชในสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง 2
วทพฤ๖๒๑ : พันธุศาสตร์ของพืชขั้นประยุกต์ 2
วทพฤ๖๗๑ : ปัญหาพิเศษทางวิทยาการพืช 2
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
ภกภพ๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12
วทพฤ๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

อาจารย์ประจำหลักสูตร

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เบญญากาญจน์ พงศ์กิจวิทูร   (ประธานหลักสูตร)
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ งามนิจ ชื่นบุญงาม
  3. รองศาสตราจารย์ ณัฏฐินี พันธ์วิศวาส
  4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทยา เจนจิตติกุล
  5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พนิดา คงสวัสดิ์วรกุล
  6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิษุวัต สงนวล
  7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศศิวิมล แสวงผล
  8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อัญชีรา วิบูลย์จันทร์
  9. รองศาสตราจารย์ อุษณีษ์ พิชกรรม
  10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธนิกา ปฐมวิชัยวัฒน์
  11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นิศารัตน์ ศิริวัฒนเมธานนท์
  12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภานุพงษ์ พงษ์ชีวิน
  13. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อลิสา สจ๊วต
  14. ศาสตราจารย์ ครรชิต ธรรมศิริ
  15. รองศาสตราจารย์ ปวีณา ไตรเพิ่ม
  16. รองศาสตราจารย์ พวงผกา อัมพันธ์จันทร์
  17. รองศาสตราจารย์ สมภพ ประธานธุรารักษ์
  18. รองศาสตราจารย์ ดวงใจ ตั้งมั่นในธรรม
  19. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล
  20. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เมธี พุ่มทุ่ม