เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันอังคารที่   19   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนศาสตร์ 

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน โครงการร่วม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สถาบันโภชนาการ
เว็บไซต์ http://www.inmu.mahidol.ac.th/th/academics/curriculum/index.php
http://med.mahidol.ac.th/nutrition

ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(โภชนศาสตร์)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

๑. สำเร็จการศึกษาหรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษาในระดับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต 
สาขาใดสาขาหนึ่งด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ แพทยศาสตรบัณฑิต ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต เภสัชศาสตรบัณฑิต 
สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต พยาบาลศาสตรบัณฑิต สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต และสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันการศึกษา
ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้การรับรอง 
๒. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
๓. มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
๔. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา 
ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 18            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิจัย นักวิชาการด้านโภชนศาสตร์ ในสถาบันศึกษา สถาบันวิจัย อุตสาหกรรมอาหาร โรงพยาบาล
- นักโภชนาการในโรงพยาบาล สถาบันสุขภาพ สถานบริการอาหาร สถานออกกำลังกาย บริษัท ผู้ประกอบการด้านอาหารและโภชนาการ หรือกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ
- ที่ปรึกษา ผู้บริหารองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน องค์การระหว่างประเทศ โครงการวิจัย หน่วยงานส่งเสริมสุขภาพ บริษัทผู้ประกอบการ ด้านอาหารและโภชนาการ

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
รมภศ501 : พื้นฐานโภชนชีววิทยาและชีวเคมี 2
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
รมภศ๖๐๑ : วิทยาศาสตร์โภชนาการ 3
รมภศ๖๐๓ : ชีวสถิติทางโภชนาการ 2
รมภศ๖๐๔ : การสื่อสารโภชนาการ 2
รมภศ๖๐๘ : การประเมินทางโภชนาการ 3
รมภศ๖๐๙ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางโภชนาการ 3
รมภศ๖๑๑ : การศึกษาโดยใช้ปัญหาทางโภชนาการเป็นฐาน 2
รมภศ๖๒๙ : พิษวิทยาโภชนาการ 1
รมภศ๖๓๗ : การอ่านและการคิดเชิงวิพากษ์ทางโภชนศาสตร์ 2
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
   กลุ่มโภชนาการคลินิก
รมภศ๖๑๓ : โภชนาการกับโรค 2
รมภศ๖๓๘ : โภชนาการในเวชปฏิบัติ ๑ 3
รมภศ๖๓๙ : โภชนาการในเวชปฏิบัติ ๒ 3
รมภศ๖๔๐ : ประเด็นสำคัญทางโภชนาการ 1
รมภศ๖๔๑ : แผนบริการด้านโภชนาการ 2
   กลุ่มโภชนาการเชิงการทดลองและชีวเคมี
รมภศ๖๑๘ : เครื่องมือและวิธีการวิเคราะห์ด้านอาหารและโภชนาการ 3
รมภศ๖๒๔ : การประยุกต์เทคนิคระดับเซลล์และโมเลกุลในการศึกษาทางอาหารและโภชนาการ 1
รมภศ๖๓๑ : บทบาทและหน้าที่ของสารอาหาร และ สารออกฤทธิ์ชีวภาพในอาหาร 3
รมภศ๖๔๒ : โครงการพิเศษในงานวิจัยโภชนาการ 1
รมภศ๖๔๓ : เทคนิคพิเศษทางสารอาหารและสมบัติการทำงานของสารอาหาร 1
รมภศ๖๔๔ : เทคนิคพิเศษในการวิเคราะห์สารอาหารและสารพฤกษเคมี 1
รมภศ๖๔๕ : เทคนิคพิเศษทางการประเมินปริมาณและประสิทธิผลของสารต้านอนุมูลอิสระ 1
รมภศ๖๔๖ : การใช้สัตว์ทดลองเพื่อการวิจัยทางโภชนาการ 2
   กลุ่มพิษวิทยาทางอาหารและโภชนาการ
รมภศ๖๒๓ : การวิเคราะห์สารพิษในอาหารและการทดสอบสารที่เป็นพิษ 2
รมภศ๖๔๗ : ความปลอดภัยอาหารเพื่อสุขภาพผู้บริโภค 2
รมภศ๖๔๘ : พิษวิทยาโภชนาการประยุกต์ 3
รมภศ๖๔๙ : ผลกระทบของภาวะเครียดออกซิเดชันและสารต้านอนุมูลอิสระต่อ สุขภาพและโรค 3
รมภศ๖๕๐ : ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพสำหรับการประเมินภาวะโภชนาการและการรับสัมผัสสารพิษจากอาหาร 3
   กลุ่มโภชนาการชุมชน
รมภศ๖๕๑ : โภชนาการชุมชน 2
รมภศ๖๕๒ : ระบาดวิทยาทางโภชนาการ 2
รมภศ๖๕๓ : การดูแลทางโภชนาการสำหรับโรคที่พบบ่อยในชุมชน 2
รมภศ๖๕๔ : โภชนาการ การสัมผัสทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน 2
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
รมภส๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

อาจารย์ประจำหลักสูตร