เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   29   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
เว็บไซต์ http://www.ss.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(วิทยาศาสตร์การกีฬา)

จุดเด่นของหลักสูตร

มีรายวิชาที่เน้นการพัฒนาบัณฑิตให้มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน ครอบคุลม 5 สาขาหลัก ด้านวิทยา ศาสตร์การกีฬาา ทำให้เกิดการบูรรณาการทางด้านการวิจัยเพื่อตอบปัญหาของประเทศได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นที่ต้องการของสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการบริการ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพและเความเป็นเลิศ อาทิ กระทรวงสาธารณสุข การกีฬาแห่งประเทศไทย ฯลฯ หลักสูตรนี้สามารถผลิตบัรฑิตในระดับปริญญาเอกที่มีความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการ และการวิจัย ที่ได้มาตรฐานระดับนานาชาติ วิทยาลัยมีโครงการความร่วมมือ และอยู่ระหว่างดำเนินการวิจัยกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก เช่น Liverpool John Moores University ในด้าสรีรวิทยาการออกกำลังกาย ชีวกลศาสตร์การกีฬา เวชศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัย Stanford (USA) ในด้านสมดุลอุณหภูมิภายใน นักมวยไทย มหาวิทยาลัย Georgia (USA) ในด้านชีวกลศาสตร์เพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายในนักกีฬา คนพิการ มหาวิทยาลัย Mutah (Jordan) ในด้านการตรวจสอบความตรงของแบบประเมินระดับความรู้สึก เหนื่อย (OMNI scales) ขณะออกกำลังกายฉบับภาษาไทย ฯลฯ จะเกิดผลงานตีพิมพ์ในระดับนานาชาติจาก ผลงานวิจัยเหล่านี้ ซึ่งทำให้วิทยาลัยฯ สามารถเป็นผู้นำทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาอันนำไปสู่ความเป็น ผู้นำด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาในระดับชาติ และนานาชาติ

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา  แบบ ๑ 
(๑) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท  สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
(๒) ผู้สมัครจะต้องมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการหรือตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ ระดับชาติหรือนานาชาติ  
หรือบทความวิจัยอย่างน้อย ๑ เรื่อง ที่เคยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่เป็นที่ยอมรับระดับชาติหรือนานาชาติ ไม่เกิน ๕ ปี
(๓) ได้แต้มคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ 
(๔) มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล 
(๕) มีโครงร่างการวิจัยที่ชัดเจนที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาเห็นว่ามีคุณภาพสำหรับการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา
ในระดับปริญญาเอก
(๖) ผู้มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของ
ประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย  

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา แบบ ๒ 
(๑) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง 
และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
(๒) มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
(๓) มีโครงร่างการวิจัยที่ชัดเจนที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาเห็นว่ามีคุณภาพสำหรับการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา
ในระดับปริญญาเอก 
(๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของ
ประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท และมีผลงานตีพิมพ์
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
แบบ ๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
หมวดวิชาบังคับ 10            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 2            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ในองค์กรกีฬาและหน่วยงานด้านส่งเสริมสุขภาพในประเทศ และต่างประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชน
- เป็นนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และที่ปรึกษา ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากีฬาและการสร้างเสริม สุขภาพทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ
- ผู้เชี่ยวชาญในสถาบันการศึกษา ทั้งภาครัฐและเอกชน

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 1

วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
วกกฬ๘๙๘ : วิทยานิพนธ์ 48

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
วกกฬ๕๑๑ : วิทยาศาสตร์การกีฬาขั้นสูงและสมรรถนะของมนุษย์ 3
วกกฬ๕๑๒ : วิทยาศาสตร์สุขภาพในกีฬาและการออกกำลังกาย 2
วกกฬ๕๑๓ : สัมมนาทางวิทยาศาสตร์การกีฬา 1
วกกฬ๕๑๕ : สถิติทางวิทยาศาสตร์การกีฬาขั้นสูง 3
วกกฬ๖๒๖ : สัมมนางานวิจัยทางวิทยาศาสตร์การกีฬาเฉพาะทาง 1
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
วกกฬ๖๒๑ : ชีวกลศาสตร์ขั้นสูงสำหรับการกีฬาและการออกกำลังกาย 2
วกกฬ๖๒๒ : สรีรวิทยาขั้นสูงสำหรับการฝึกกีฬาและการออกกำลังกาย 2
วกกฬ๖๒๓ : เวชศาสตร์การกีฬาขั้นสูง 2
วกกฬ๖๒๔ : โภชนาการขั้นสูงสำหรับการกีฬาและการออกกำลังกาย 2
วกกฬ๖๒๕ : พฤติกรรมการเล่นกีฬาและการออกกำลังกาย 2
วกกฬ๖๒๗ : วิทยาศาสตร์การเป็นผู้ฝึกสอนกีฬาขั้นสูง 2
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
วกกฬ๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36

อาจารย์ประจำหลักสูตร