เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันพฤหัสบดีที่   25   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
เว็บไซต์ http://www.music.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(ดนตรี)

วิชาเอก

  • วิชาเอกดนตรีวิทยา
  • วิชาเอกดนตรีศึกษา
  • วิชาเอกธุรกิจดนตรี
  • วิชาเอกดนตรีบำบัด
  • คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

    ๑. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาดนตรี หรือกำลังศึกษาในภาคการศึกษา
    สุดท้ายจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
    รับรอง โดยได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
    ๒. ผู้สมัครเข้าศึกษาที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัคร
    เข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

    โครงสร้างหลักสูตร

    แบบ ๒
    หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
    หมวดวิชาแกน 8            หน่วยกิต
    หมวดวิชาบังคับ 8            หน่วยกิต
    หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 12            หน่วยกิต
    วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
    รวมไม่น้อยกว่า 64            หน่วยกิต

    อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


    - ครูหรืออาจารย์ผู้สอนวิชาดนตรีในสถาบันการศึกษาทุกระดับทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน
    - นักการศึกษาหรือผู้บริหารในสถาบันที่มีการเปิดสอนวิชาดนตรีทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน
    - นักวิจัยดนตรีในสถาบันการศึกษาทุกระดับทั้งของภาครัฐและภาคเอกชนหรือในสถาบันวิจัยต่างๆ
    - ผู้ประกอบกิจการด้านดนตรีและ/หรือที่ปรึกษาด้านดนตรีของสถาบันการศึกษาทุกระดับทั้งของภาครัฐ และภาคเอกชน
    - อาชีพที่เกี่ยวข้องกับดนตรี เช่น นักเขียน นักวิจารณ์ นักหนังสือพิมพ์ นักเขียนสารคดี บริหารจัดการ ห้องสมุดดนตรี บริหารพิพิธภัณฑ์ดนตรี บรรณาธิการวารสารดนตรี หรือผลิตสื่อต่างๆ เพื่อการเผยแพร่ ความรู้และแง่มุมต่างๆ ทางด้านดนตรี เช่น พิธีกร นักจัดรายการวิทยุ โทรทัศน์ หรือ ทำสารคดีที่เกี่ยวกับ ดนตรี

    รายวิชาในหลักสูตร

    แบบ 2

    หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
       วิชาปรับพื้นฐานบังคับ
    ดศศท๕๐๒ : เทคโนโลยีดนตรีระดับบัณฑิตศึกษา 3
    ดศศท๗๐๓ : ภาษาอังกฤษขั้นสูงสำหรับวิชาการดนตรี 3
       วิชาปรับพื้นฐานตามเกณฑ์การสอบเข้า
       วิชาปรับพื้นฐานทั่วไป
    ดศดว๕๐๑ : หลักประวัติดนตรีตะวันตก 2
    ดศดว๕๐๒ : หลักประวัติและทฤษฎีดนตรีไทย 2
    ดศทพ๕๐๑ : หลักทฤษฎีดนตรีตะวันตก 2
    ดศทพ๕๐๒ : หลักการวิเคราะห์รูปแบบและโครงสร้างดนตรีตะวันตก 2
    ดศทอ๕๐๑ : หลักการวิเคราะห์รูปแบบและโครงสร้างดนตรีไทย 2
       วิชาปรับพื้นฐานสำหรับนักศึกษาที่ไม่ได้ผ่านการศึกษาในระดับมหาบัณฑิตในสาขาวิชาดนตรีศึกษาหรือดนตรีวิทยา
       ก. วิชาปรับพื้นฐานสำหรับวิชาเอกดนตรีวิทยา
    ดศดว๕๐๓ : หลักดนตรีวิทยา 2
    ดศดว๕๐๔ : หลักมานุษยดนตรีวิทยา 2
    ดศดว๕๐๕ : ดนตรีภาคสนามและการสังเคราะห์ดนตรี 2
    ดศดว๕๐๖ : การบันทึกโน้ตและการวิเคราะห์ดนตรี 2
    ดศดว๕๐๗ : สัมมนาดนตรีในประเทศไทย 2
       ข. วิชาปรับพื้นฐานสำหรับวิชาเอกดนตรีศึกษา
    ดศดษ๕๐๑ : ปรัชญาดนตรีศึกษา 2
    ดศดษ๕๐๒ : หลักสูตรดนตรีศึกษา 2
    ดศดษ๕๐๓ : หลักการเรียนรู้และการสอนวิชาดนตรี 2
    ดศดษ๕๐๔ : ประเมินผลทางการศึกษาดนตรี 2
    ดศดษ๕๐๕ : จิตวิทยาดนตรีศึกษา 2
    หมวดวิชาแกน หน่วยกิต
    ดศดน๗๐๑ : ระเบียบวิธีวิจัยดนตรีเชิงปริมาณ 3
    ดศดน๗๐๒ : ระเบียบวิธีวิจัยดนตรีเชิงคุณภาพและแบบผสม 3
    ดศดน๗๑๔ : การฝึกสอนดนตรี 2
    หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
       วิชาเอกดนตรีวิทยา
    ดศดว๖๒๑ : สัมมนาดนตรีวิทยาระดับดุษฎีบัณฑิต 2
    ดศดว๖๒๒ : สัมมนาดนตรีตะวันออกระดับดุษฎีบัณฑิต 2
    ดศดว๖๒๓ : การสัมมนาดนตรีตะวันตกระดับดุษฎีบัณฑิต 2
    ดศดว๖๒๔ : การสอนดนตรีวิทยา 2
       วิชาเอกดนตรีศึกษา
    ดศดษ๖๒๓ : การสัมมนาดนตรีศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต 2
    ดศดษ๖๒๔ : สัมมนาการสอนดนตรีศึกษาเปรียบเทียบ 2
    ดศดษ๖๒๕ : กระบวนทัศน์ใหม่ในดนตรีศึกษา 2
    ดศดษ๖๒๖ : การบริหารการดนตรีในสถาบันการศึกษา 2
    หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
    ดศดน๗๐๕ : หัวข้อศึกษาเฉพาะ ๑ 2
    ดศดน๗๐๖ : หัวข้อศึกษาเฉพาะ ๒ 2
    ดศดน๗๐๗ : การศึกษาด้วยตนเอง ๑ 2
    ดศดน๗๐๘ : การศึกษาด้วยตนเอง ๒ 2
    ดศดว๖๑๓ : ดนตรีในยุคศตวรรษที่ ๒๐ และ ๒๑ 2
    ดศดว๖๒๐ : สัมมนาดนตรีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2
    ดศดว๖๒๕ : การปฏิบัติงานภาคสนามทางดนตรีวิทยาขั้นสูง 2
    ดศดว๖๒๖ : ประวัติวรรณกรรมดนตรีบรรเลง 2
    ดศดว๖๒๗ : ประวัติวรรณกรรมเพลงร้อง 2
    ดศดว๖๒๘ : ประวัติเครื่องดนตรีและการบรรเลงแสดง 2
    ดศดว๖๒๙ : สื่อโสตทัศนะทางมานุษยดนตรีวิทยา 2
    ดศดว๖๓๐ : สัมมนาดนตรีกับสังคม 2
    ดศดว๖๓๑ : สัมมนามรดกดนตรีนานาชาติ 2
    ดศดว๖๓๒ : ดนตรีเอเชียตะวันออก 2
    ดศดว๖๓๓ : ดนตรีเอเชียใต้ 2
    ดศดว๖๓๔ : ดนตรีตะวันออกกลาง 2
    ดศดว๖๓๕ : ดนตรีในยุคกลาง 2
    ดศดว๖๓๖ : ดนตรีเรเนซองส์ 2
    ดศดว๖๓๗ : ดนตรีบาโรค 2
    ดศดว๖๓๘ : ดนตรียุคคลาสสิก 2
    ดศดว๖๓๙ : ดนตรียุคโรแมนติก 3
    ดศดษ๖๑๑ : ดนตรีศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ 2
    ดศดษ๖๓๐ : สัมมนาครูดนตรีศึกษา 2
    ดศดษ๖๓๑ : สัมมนาดนตรีศึกษาอาเซียน 2
    ดศดษ๖๓๒ : การสอนดนตรีในระดับอุดมศึกษา 2
    ดศดษ๖๓๓ : เทคโนโลยีขั้นสูงทางดนตรีศึกษา 2
    ดศดษ๖๓๔ : จิตวิทยาการสอนดนตรี 2
    ดศดษ๖๓๕ : การจัดการดนตรีศึกษาสำหรับความหลากหลายทางเชื้อชาติและภาษา 2
    ดศทพ๖๑๓ : ประวัติทฤษฎีดนตรี 2
    วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
    ดศดน๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36

    อาจารย์ประจำหลักสูตร