เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันอังคารที่   19   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน คณะวิศวกรรมศาสตร์
เว็บไซต์ https://www.eg.mahidol.ac.th/dept/egen/

ชื่อปริญญา

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต(วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

๑. สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต หรือวิทยาศาสตรบัณฑิต ทุกสาขาวิชา
๒. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ 
๓.  มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
๔.  ผู้มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้อ ๒.๒.๑ และ ๒.๒.๒ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเพื่อรับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของ
ประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
๕.  สำหรับนักศึกษาที่เลือกไปศึกษาที่ Graduate School of Global Environmental Studies, Kyoto University ประเทศญี่ปุ่นจะต้อง
มีคุณสมบัติเพิ่มเติมดังนี้
      (๑) มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) ในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ (หลักสูตรนานาชาติ) 
เมื่อสิ้นภาคการศึกษาที่ ๑ ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
      (๒) สามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี 
      (๓) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้อ (๑) และ (๒) ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเพื่อรับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของ
คณะกรรมการกลั่นกรองคุณสมบัติสำหรับผู้ที่เลือกไปศึกษาที่ Kyoto University

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 15            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- วิศวกรสิ่งแวดล้อมหรือวิศวกรสุขาภิบาลที่สามารถทำงานในหน่วยงานภาครัฐและบริษัทเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
- วิศวกรทรัพยากรน้ำหรือวิศวกรชลประทานที่สามารถทำงานในหน่วยงานภาครัฐและ บริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องกับงานด้านวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ
- นักวิจัยที่มีทักษะในการประยุกต์องค์ความรู้ด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำใน การพัฒนางานวิจัย

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
วศสท๕๐๑ : วิศวกรรมน้ำและน้ำเสีย 3
วศสท๕๐๒ : วิศวกรรมชลศาสตร์ 3
วศสท๕๐๓ : อุทกวิทยาประยุกต์ 3
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
วศสท๕๑๑ : วิศวกรรมคุณภาพน้ำ 3
วศสท๕๑๓ : การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย 3
วศสท๕๑๔ : การศึกษาความเหมาะสมสำหรับโครงการทรัพยากรน้ำ 3
วศสท๕๑๕ : การวิเคราะห์และการวางแผนจัดการระบบทรัพยากรน้ำ 3
วศสท๕๑๙ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยและการเพิ่มทักษะการเรียนรู้จากพื้นฐานปัญหาสำหรับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
วศสท๕๑๒ : วิศวกรรมมลพิษทางอากาศ 3
วศสท๕๓๑ : กระบวนการทางเคมีกายภาพ 3
วศสท๕๓๒ : กระบวนการทางชีวภาพ 3
วศสท๕๓๔ : เทคโนโลยีเมมเบรน 3
วศสท๕๓๕ : การนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ 3
วศสท๕๓๗ : วิศวกรรมมลพิษในดิน 3
วศสท๕๓๘ : การสร้างแบบจำลองมลภาวะทางอากาศและการประยุกต์ 3
วศสท๕๓๙ : การประเมินวัฏจักรชีวิต 3
วศสท๕๔๐ : วิศวกรรมการควบคุมสารมลพิษขนาดเล็ก 3
วศสท๕๔๑ : จุลชีววิทยาน้ำเสียประยุกต์ 3
วศสท๕๔๒ : การเคลื่อนย้ายของตะกอนและสารมลพิษ 3
วศสท๕๔๓ : การจัดการอุทกภัยและภัยแล้ง 3
วศสท๕๔๔ : การวางแผนและการจัดการระบบอ่างเก็บน้ำ 3
วศสท๕๔๕ : อุทกสารสนเทศทางวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ 3
วศสท๕๔๖ : ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ 3
วศสท๕๔๗ : ระบบภูมิสารสนเทศสำหรับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ 3
วศสท๕๔๘ : การสัมผัสระยะไกลสำหรับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ 3
วศสท๕๔๙ : การศึกษาพิเศษ 3
วศสท๕๕๐ : วิศวกรรมประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ 3
วศสท๕๕๑ : การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม 3
วศสท๕๕๓ : การวางแผนและการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติสำหรับวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
วศสท๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

อาจารย์ประจำหลักสูตร