เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันพฤหัสบดีที่   25   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะเทคนิคการแพทย์
เว็บไซต์ http://www.mt.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(เทคนิคการแพทย์)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

แผนการศึกษา แบบ ๑ (ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว)
๑. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์หรือสาขาอื่นๆ    ที่เกี่ยวข้องโดย
      ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕ หรือ
๒. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์หรือสาขาอื่นๆ   ที่เกี่ยวข้องจาก
       สถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรองด้วยคะแนนเกียรตินิยม 
๓. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว  อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเพื่อคัดเลือกเข้า
       ศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

แผนการศึกษา แบบ ๒ (เรียนรายวิชา และทำวิทยานิพนธ์)
๑. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาโทสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยได้
      แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕ หรือ
๒. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจาก
       สถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง ด้วยคะแนนเกียรตินิยม
๓. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว อาจได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้สมัคร เข้าศึกษาตาม
       ดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๑
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 72            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 72            หน่วยกิต
แบบ ๒
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์เกิน ๕ ปี หรือสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง           
หมวดวิชาบังคับ 10            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 15            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 61            หน่วยกิต
สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ไม่เกิน ๕ ปี
หมวดวิชาบังคับ 6            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดวิชาบังคับ 10            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 73            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 15            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

ผู้เข้าศึกษาในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว สามารถ
ประกอบอาชีพต่างๆ ในองค์กรภาครัฐ และเอกชน ทั้งในและต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย
จำแนกลักษณะของงานที่ปฏิบัติได้ ดังนี้

- ปฏิบัติงานในสายวิชาการ (Academic sector) เช่น เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ นักวิจัย นักวิชาการ นักวิทยา ศาสตร์ ซึ่งปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัยภาครัฐ หรือเอกชน
- ปฏิบัติงานในสายวิชาชีพ (Professional sector or Health Promotion sector) เช่น เป็นผู้เชี่ยวชาญ/ ชำนาญการทางเทคนิคการแพทย์ หรือเฉพาะด้านในสาขาเทคนิคการแพทย์ หรือผู้บริหารห้องปฏิบัติการ เวชศาสตร์ชันสูตร หรือทำงานร่วมกับทีมสร้างเสริมสุขภาวะให้แก่ชุมชน
- ปฏิบัติงานในภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม (Business/Industrial or Inventor sector) เช่น เป็นนักวิจัย (Researcher) หรือนวัตกร (Innovator) ในองค์กรภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม ที่ผลิตเทคโนโลยี เครื่องมือ/ อุปกรณ์ทางการแพทย์ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นผู้ประกอบการอิสระในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับงานเทคนิค การแพทย์ และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอื่นๆ

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 1

วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
ทนคร๘๙๘ : วิทยานิพนธ์ 48
ทนคร๘๙๙ : วิทยานิพนธ์ 72

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาตรี
ทนคร๖๐๑ : การบริหารห้องปฏิบัติการทางคลินิก 2
ทนคร๖๐๕ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัย 3
ทนคร๖๑๓ : สัมมนาขั้นสูง 2
วทคร๕๐๐ : ชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล 3
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์เกิน ๕ ปี หรือสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ทนคร๖๐๑ : การบริหารห้องปฏิบัติการทางคลินิก 2
ทนคร๖๐๕ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัย 3
ทนคร๖๑๓ : สัมมนาขั้นสูง 2
วทคร๕๐๐ : ชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล 3
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ ไม่เกิน ๕ ปี
ทนคร๖๐๔ : หัวข้อเลือกสรรทางเทคนิคการแพทย์ 2
ทนคร๖๐๘ : เทคโนโลยีทางการตรวจวินิจฉัยในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต 2
ทนคร๖๑๓ : สัมมนาขั้นสูง 2
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
MTID607 : การฝึกงานในห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ 5
ทนคค๖๐๑ : เคมีคลินิกขั้นสูง 4
ทนคค๖๐๗ : พิษวิทยาคลินิกชั้นสูง 2
ทนคค๖๐๙ : โภชนาการคลินิก 1
ทนคค๖๑๐ : วิธีปฏิบัติการทดลองและเครื่องมือทางเคมีคลินิก 2
ทนคค๖๑๑ : พันธุศาสตร์ระดับโมเลกุลทางการแพทย์ 2
ทนคค๖๑๒ : หัวข้อเลือกสรรทางเคมีคลินิก 1
ทนคค๖๑๓ : ไบโอเซนเซอร์ทางเคมีคลินิก 1
ทนคม๕๐๒ : หัวข้อเรื่องปัจจุบันทางโลหิตวิทยา 2
ทนคม๖๐๕ : เทคนิคทางคลังเลือดและวิทยาภูมิคุ้มกันโลหิตวิทยา 2
ทนคม๖๐๙ : จุลทรรศนศาสตร์คลินิกขั้นสูง 4
ทนคม๖๑๒ : พันธุศาสตร์ทางการแพทย์ขั้นสูง 2
ทนคร๕๐๖ : การออกแบบและสร้างเครื่องมือขั้นพื้นฐานสำหรับห้องปฏิบัติการคลินิก 4
ทนคร๕๑๓ : อิเล็กทรอนิกส์เชิงตัวเลข 2
ทนคร๕๑๕ : วิทยาการห้องปฏิบัติการคลินิก 3
ทนคร611 : สุขภาพประชากร และเทคนิคการแพทย์ชุมชน 3
ทนคร๖๐๖ : เทคโนโลยีปัจจุบันทางด้านชีววิทยาระดับโมเลกุล 2
ทนคร๖๐๙ : การจัดการงานวิจัยและเทคโนโลยี 2
ทนคร๖๑๐ : หัวข้อเลือกสรรอิสระทางด้านเทคโนโลยีประยุกต์และชีวการแพทย์ 1
ทนคร๖๑๒ : ชีวสารสนเทศและสุขภาพชุมชน 2
ทนจค๖๐๑ : จุลชีววิทยาคลินิกขั้นสูง 3
ทนจค๖๐๔ : วิธีปัจจุบันทางวิทยาภูมิคุ้มกันคลินิก 2
ทนจค๖๐๖ : วิธีปัจจุบันทางด้านจุลชีววิทยาคลินิก 2
ทนจค๖๐๘ : เอนไซม์และผลิตผลของจุลินทรีย์ 1
ทนจค๖๑๐ : หัวข้อเลือกสรรทางด้านจุลชีววิทยาระดับโมเลกุล 1
ทนจค๖๑๑ : เทคนิคการเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อ 1
ทนจค๖๑๒ : หัวข้อเลือกสรรในด้านจุลชีววิทยาของอาหาร 1
ทนจค๖๑๓ : หัวข้อเลือกสรรอิสระทางด้านจุลชีววิทยา 1
ทนจน๖๑๔ : วิทยาการขั้นสูงทางด้านสารต้านจุลชีพและการดื้อยา 1
ทนปร๖๐๖ : หัวข้อเลือกสรรทางปรสิตวิทยาทางการแพทย์และกีฏวิทยาทางการแพทย์ 2
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
ทนคร๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36
ทนคร๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48

อาจารย์ประจำหลักสูตร