เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันอังคารที่   19   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประชากรและสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์(หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
เว็บไซต์ http://www.ipsr.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(ประชากรและสุขภาพทางเพศและ อนามัยเจริญพันธุ์ )

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

๑. สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทุกสาขา จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
รับรอง
๒.ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า ๒.๗๕ และ/หรือมีประสบการณ์ในสาขา
ที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า ๒ ปี
๓. มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
๔.ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
เข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาบังคับ 18            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิจัย
- นักวิชาการ/วิทยากร
- นักวางแผน/นักบริหาร/จัดการ
- นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
- นักพัฒนาสังคม
- นักประเมินผลโครงการ
- นักประชากรศาสตร์

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
วจปพ๕๑๐ : มิติด้านพฤติกรรมและสังคมของโรคเอดส์ 3
วจปพ๕๕๐ : สารัตถประชากรศาสตร์ 3
วจปพ๕๕๕ : เทคนิคเชิงวิเคราะห์ทางประชากรศาสตร์ 3
วจปพ๕๕๖ : มุมมองและประเด็นสำคัญทางสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ 3
วจปพ๕๕๗ : สัมมนาประชากรและสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ 3
วจปพ๕๖๖ : วิทยาระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคม 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
วจปพ๕๒๑ : บทบาทชายหญิงกับการพัฒนาสุขภาพ 3
วจปพ๕๕๘ : เชื่อมโยงการสื่อสารงานวิจัยด้านประชากรและสุขภาพสู่ผู้กำหนดนโยบาย 3
วจปพ๕๖๕ : สถิติเพื่อการวิเคราะห์ทางสังคม 3
วจปพ๖๓๖ : การติดตามและประเมินผลโครงการประชากรและสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ 3
วจปพ๖๓๘ : เทคนิคทางสถิติสำหรับการวิเคราะห์เชิงพหุ 3
วจปพ๖๓๙ : นโยบายสุขภาพโลก 3
วจปพ๖๔๐ : การจัดการข้อมูลสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ 1
วจปพ๖๔๔ : การย้ายถิ่นและสุขภาพ 3
วจปพ๖๔๕ : ปัจจัยกำหนดสุขภาพทางสังคม 3
วจปพ๖๔๖ : สุขภาพและการบริการสุขภาพในอาเซียน 3
วจปพ๖๔๗ : ประชากร สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
วจปพ๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

อาจารย์ประจำหลักสูตร

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดุสิตา พึ่งสำราญ   (ประธานหลักสูตร)
  2. รองศาสตราจารย์ จงจิตต์ ฤทธิรงค์
  3. รองศาสตราจารย์ จรัมพร โห้ลำยอง
  4. รองศาสตราจารย์ เฉลิมพล แจ่มจันทร์
  5. รองศาสตราจารย์ ภูเบศร์ สมุทรจักร
  6. รองศาสตราจารย์ มนสิการ กาญจนะจิตรา
  7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มาลี สันภูวรรณ์
  8. รองศาสตราจารย์ ศุทธิดา ชวนวัน
  9. รองศาสตราจารย์ สุชาดา ทวีสิทธิ์
  10. รองศาสตราจารย์ อุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์
  11. อาจารย์ ธีรธร ยูงทอง
  12. รองศาสตราจารย์ ปิยวัฒน์ เกตุวงศา
  13. ศาสตราจารย์ ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์
  14. รองศาสตราจารย์ โยธิน แสวงดี
  15. รองศาสตราจารย์ รศรินทร์ เกรย์
  16. รองศาสตราจารย์ สุรีย์พร พันพึ่ง
  17. รองศาสตราจารย์ อารี จำปากลาย
  18. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กนกวรรณ ธราวรรณ
  19. รองศาสตราจารย์ กาญจนา ตั้งชลทิพย์
  20. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พจนา หันจางสิทธิ์
  21. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สักกรินทร์ นิยมศิลป์
  22. รองศาสตราจารย์ มาร์ก เฟิลเคอร์
  23. รองศาสตราจารย์ ตะวันชัย จิรประมุขพิทักษ์
  24. รองศาสตราจารย์ สุดารัตน์ มุสิกะวงศ์
  25. รองศาสตราจารย์ ธีรนงค์ สกุลศรี
  26. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วากาโกะ ทาเคดะ
  27. รองศาสตราจารย์ สิรินทร์ยา พูลเกิด