เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันพฤหัสบดีที่   25   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน คณะพยาบาลศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.ns.mahidol.ac.th/english/th/index.html

ชื่อปริญญา

พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

วิชาเอก

  • วิชาเอกการพยาบาลเด็ก
  • วิชาเอกการพยาบาลผู้ใหญ่
  • วิชาเอกการพยาบาลผู้สูงอายุ
  • วิชาเอกการผดุงครรภ์
  • วิชาเอกการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
  • วิชาเอกการพยาบาลอนามัยชุมชน
  • วิชาเอกการบริหารการพยาบาล
  • จุดเด่นของหลักสูตร

    หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการพัฒนาพยาบาลวิชาชีพ ให้มีความรู้ความสามารถในการบูรณาการ ประสบการณ์ทางคลินิก งานวิจัย และความรู้เชิงทฤษฎี รวมทั้ง มุมมองของภาวะสุขภาพประชาคมโลก มาใช้ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศนั้นๆ

    คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

    ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ก  แบบ ก ๒
    (๑) สำหรับผู้เข้าศึกษาไทย: ต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ 
    จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง   และมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบ
    วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้น ๑  สำหรับผู้เข้าศึกษาต่างชาติ: ต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตร
    ปริญญาตรี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ หรือเทียบเท่า และได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
    โดยสภาวิชาชีพในแต่ละประเทศ
    (๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ จากคะแนนเต็ม ๔ หรือเทียบเท่า
    (๓) มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานทางการพยาบาล หลังจบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
    ไม่น้อยกว่า ๑ ปี  (นับถึงวันรายงานตัวเข้าศึกษา)
    (๔)ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้อ (๒) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
    เข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
    
    ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ข  
    (๑) สำหรับผู้เข้าศึกษาไทย: ต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ 
    จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง   และมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบ
    วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้น ๑ สำหรับผู้เข้าศึกษาต่างชาติ: ต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตร
    ปริญญาตรี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ หรือเทียบเท่า และได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
    โดยสภาวิชาชีพในแต่ละประเทศ
    (๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ จากคะแนนเต็ม ๔ หรือเทียบเท่า
    (๓) มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานทางการพยาบาล หลังจบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
     ไม่น้อยกว่า ๒ ปี  (นับถึงวันรายงานตัวเข้าศึกษา)
    (๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้อ (๒) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
    เข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

    โครงสร้างหลักสูตร

    แผน ก แบบ ก๒
    หมวดวิชาแกน 11            หน่วยกิต
    หมวดวิชาบังคับ (ตามวิชาเอก) 12            หน่วยกิต
    หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
    วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
    รวมไม่น้อยกว่า 38            หน่วยกิต
    แผน ข
    หมวดวิชาแกน 11            หน่วยกิต
    หมวดวิชาบังคับ (ตามวิชาเอก) 18            หน่วยกิต
    หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
    สารนิพนธ์ 6            หน่วยกิต
    รวมไม่น้อยกว่า 38            หน่วยกิต

    อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


    - พยาบาลวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญทางการพยาบาลในสาขาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ สุขภาพจิตและจิตเวช ผดุงครรภ์ และอนามัยชุมชน
    - นักวิชาการทางการพยาบาล
    - นักวิจัยทางการพยาบาล
    - ผู้บริหารการพยาบาล

    รายวิชาในหลักสูตร

    แผน ก แบบ ก2

    หมวดวิชาแกน หน่วยกิต
    พยคร๖๑๐ : ทฤษฎีและแนวคิดทางการพยาบาล 2
    พยคร๖๑๓ : สถิติและการวิจัยทางการพยาบาล 3
    พยคร๖๒๐ : การพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ 2
    พยคร๖๓๒ : ภาวะผู้นำในระบบบริการสุขภาพ 2
    พยคร๖๓๓ : ความกลมกลืนในความหลากหลายของวัฒนธรรมและสุขภาพประชาคมโลก 2
    หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
       วิชาเอกการพยาบาลเด็ก
    พยกม๖๐๑ : การประเมินภาวะสุขภาพในเด็กขั้นสูง 2
    พยกม๖๐๒ : พยาธิสรีรวิทยาและเภสัชวิทยาในเด็ก 3
    พยกม๖๐๓ : การพยาบาลเด็ก ๑ 4
    พยกม๖๐๔ : ปฏิบัติการพยาบาลเด็ก ๑ 3
       วิชาเอกการพยาบาลผู้ใหญ่
    พยผญ๖๑๑ : การประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูงในผู้ใหญ่ 2
    พยผญ๖๑๒ : พยาธิสรีรวิทยาและเภสัชวิทยาในการพยาบาลผู้ใหญ่ 3
    พยผญ๖๒๔ : ทฤษฎีและศาสตร์ในการพยาบาลผู้ใหญ่ที่มีปัญหาสุขภาพซับซ้อน ๑ 4
    พยผญ๖๒๕ : ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ที่มีปัญหาสุขภาพซับซ้อน ๑ 3
       วิชาเอกการพยาบาลผู้สูงอายุ
    พยรฐ๖๑๑ : การประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูงในผู้สูงอายุ 2
    พยรฐ๖๑๒ : พยาธิสรีรวิทยาและเภสัชวิทยาในผู้สูงอายุ 3
    พยรฐ๖๑๓ : การพยาบาลผู้สูงอายุ ๑ 4
    พยรฐ๖๑๔ : ปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ ๑ 3
       วิชาเอกการผดุงครรภ์
    พยสน๖๐๑ : การประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูงสำหรับผดุงครรภ์ 2
    พยสน๖๐๒ : พยาธิสรีรและเภสัชวิทยาสำหรับผดุงครรภ์ 3
    พยสน๖๐๓ : การผดุงครรภ์ ๑ 4
    พยสน๖๐๔ : ปฏิบัติการผดุงครรภ์ ๑ 3
       วิชาเอกการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
    พยสจ๖๒๑ : พื้นฐานทางประสาทชีววิทยาของพฤติกรรมมนุษย์และจิตเภสัชวิทยา 3
    พยสจ๖๒๒ : การประเมินภาวะสุขภาพทางจิตเวชขั้นสูง 2
    พยสจ๖๒๓ : การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช 4
    พยสจ๖๒๔ : ปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช 3
       วิชาเอกการพยาบาลอนามัยชุมชน
    พยสธ๖๐๘ : การประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูง 2
    พยสธ๖๐๙ : พยาธิสรีรวิทยาและเภสัชวิทยา 3
    พยสธ๖๑๗ : การพยาบาลอนามัยชุมชน ๑ 4
    พยสธ๖๑๘ : ปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน ๑ 3
       วิชาเอกการบริหารการพยาบาล
    พยรฐ๖๑๙ : การจัดการเชิงกลยุทธ์ในองค์การดูแลสุขภาพ 3
    พยรฐ๖๒๐ : การบริหารการพยาบาลในศตวรรษที่ ๒๑ 3
    พยรฐ๖๒๑ : การจัดการทรัพยากรบุคคล 3
    พยรฐ๖๒๒ : ปฏิบัติการบริหารการพยาบาล ๑ 3
    หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
    พยคร๖๐๐ : การให้การปรึกษาด้านสุขภาพ 3
    พยคร๖๒๕ : การวัดและการจัดการผลลัพธ์ 3
    พยคร๖๒๙ : การสอนทางการพยาบาล 3
    พยคร๖๓๑ : การพัฒนาบทบาทของพยาบาลปฏิบัติการขั้นสูง 3
    พยคร๖๓๕ : สัมมนาการวิจัยทางการพยาบาล 3
    วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
    พยคร๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

    แผน ข

    หมวดวิชาแกน หน่วยกิต
    พยคร๖๑๐ : ทฤษฎีและแนวคิดทางการพยาบาล 2
    พยคร๖๑๓ : สถิติและการวิจัยทางการพยาบาล 3
    พยคร๖๒๐ : การพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ 2
    พยคร๖๓๒ : ภาวะผู้นำในระบบบริการสุขภาพ 2
    พยคร๖๓๓ : ความกลมกลืนในความหลากหลายของวัฒนธรรมและสุขภาพประชาคมโลก 2
    หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
       วิชาเอกการพยาบาลเด็ก
    พยกม๖๐๑ : การประเมินภาวะสุขภาพในเด็กขั้นสูง 2
    พยกม๖๐๒ : พยาธิสรีรวิทยาและเภสัชวิทยาในเด็ก 3
    พยกม๖๐๓ : การพยาบาลเด็ก ๑ 4
    พยกม๖๐๔ : ปฏิบัติการพยาบาลเด็ก ๑ 3
    พยกม๖๐๕ : การพยาบาลเด็ก ๒ 3
    พยกม๖๐๖ : ปฏิบัติการพยาบาลเด็ก ๒ 3
       วิชาเอกการพยาบาลผู้ใหญ่
    พญผญ๖๒๖ : ทฤษฎีและศาสตร์ในการพยาบาลผู้ใหญ่ที่มีปัญหาสุขภาพซับซ้อน ๒ 3
    พยผญ๖๑๑ : การประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูงในผู้ใหญ่ 2
    พยผญ๖๑๒ : พยาธิสรีรวิทยาและเภสัชวิทยาในการพยาบาลผู้ใหญ่ 3
    พยผญ๖๒๔ : ทฤษฎีและศาสตร์ในการพยาบาลผู้ใหญ่ที่มีปัญหาสุขภาพซับซ้อน ๑ 4
    พยผญ๖๒๕ : ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ที่มีปัญหาสุขภาพซับซ้อน ๑ 3
    พยผญ๖๒๗ : ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ที่มีปัญหาสุขภาพซับซ้อน ๒ 3
       วิชาเอกการพยาบาลผู้สูงอายุ
    พยรฐ๖๑๑ : การประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูงในผู้สูงอายุ 2
    พยรฐ๖๑๒ : พยาธิสรีรวิทยาและเภสัชวิทยาในผู้สูงอายุ 3
    พยรฐ๖๑๓ : การพยาบาลผู้สูงอายุ ๑ 4
    พยรฐ๖๑๔ : ปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ ๑ 3
    พยรฐ๖๑๕ : การพยาบาลผู้สูงอายุ ๒ 3
    พยรฐ๖๑๖ : ปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ ๒ 3
       วิชาเอกการผดุงครรภ์
    พยสน๖๐๑ : การประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูงสำหรับผดุงครรภ์ 2
    พยสน๖๐๒ : พยาธิสรีรและเภสัชวิทยาสำหรับผดุงครรภ์ 3
    พยสน๖๐๓ : การผดุงครรภ์ ๑ 4
    พยสน๖๐๔ : ปฏิบัติการผดุงครรภ์ ๑ 3
    พยสน๖๐๕ : การผดุงครรภ์ ๒ 3
    พยสน๖๐๖ : ปฏิบัติการผดุงครรภ์ ๒ 3
       วิชาเอกการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
    พยสจ๖๒๑ : พื้นฐานทางประสาทชีววิทยาของพฤติกรรมมนุษย์และจิตเภสัชวิทยา 3
    พยสจ๖๒๒ : การประเมินภาวะสุขภาพทางจิตเวชขั้นสูง 2
    พยสจ๖๒๓ : การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช 4
    พยสจ๖๒๔ : ปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช 3
    พยสจ๖๒๕ : การบำบัดทางการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชสำหรับบุคคลและครอบครัว 3
    พยสจ๖๒๖ : ปฏิบัติการบำบัดทางการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชสำหรับบุคคลและครอบครัว 3
       วิชาเอกการพยาบาลอนามัยชุมชน
    พยสธ๖๐๘ : การประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูง 2
    พยสธ๖๐๙ : พยาธิสรีรวิทยาและเภสัชวิทยา 3
    พยสธ๖๑๗ : การพยาบาลอนามัยชุมชน ๑ 4
    พยสธ๖๑๘ : ปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน ๑ 3
    พยสธ๖๑๙ : การพยาบาลอนามัยชุมชน ๒ 3
    พยสธ๖๒๐ : ปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน ๒ 3
       วิชาเอกการบริหารการพยาบาล
    พยรฐ๖๑๙ : การจัดการเชิงกลยุทธ์ในองค์การดูแลสุขภาพ 3
    พยรฐ๖๒๐ : การบริหารการพยาบาลในศตวรรษที่ ๒๑ 3
    พยรฐ๖๒๑ : การจัดการทรัพยากรบุคคล 3
    พยรฐ๖๒๒ : ปฏิบัติการบริหารการพยาบาล ๑ 3
    พยรฐ๖๒๓ : ประเด็นและแนวโน้มในการจัดการอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ 3
    พยรฐ๖๒๔ : ปฏิบัติการบริหารการพยาบาล ๒ 3
    หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
    พยคร๖๐๐ : การให้การปรึกษาด้านสุขภาพ 3
    พยคร๖๒๕ : การวัดและการจัดการผลลัพธ์ 3
    พยคร๖๒๙ : การสอนทางการพยาบาล 3
    พยคร๖๓๑ : การพัฒนาบทบาทของพยาบาลปฏิบัติการขั้นสูง 3
    พยคร๖๓๖ : สัมมนาปัญหาทางคลินิกในการพยาบาล 3
    สารนิพนธ์ หน่วยกิต
    พยคร๖๙๗ : สารนิพนธ์ 6

    อาจารย์ประจำหลักสูตร