เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   29   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


พยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะพยาบาลศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.ns.mahidol.ac.th/english/th/index.html

ชื่อปริญญา

พยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต

จุดเด่นของหลักสูตร

มุ่งผลิตนักวิชาชีพชั้นนำทางสุขภาพ ที่มีความรู้ ความสามารถ ในการออกแบบและดำเนินการโครงการวิจัย เพื่อการพัฒนาระบบบริการพยาบาลและสุขภาพ และการพัฒนาแนวปฏิบัติหรือนวัตกรรม ทางการพยาบาลและการบริการสุขภาพที่เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและเพิ่มคุณภาพการบริการ

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

๑. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาโททางการพยาบาล  โดยได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่
ต่ำกว่า๓.๕๐ 
๒. มีประสบการณ์การทำงานในหน่วยงานของภาครัฐ หรือเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพไม่น้อยกว่า  ๓ ปี
๓. มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ จากสภาการพยาบาลและยังไม่หมดอายุ
๔. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้อ ๑ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
เข้าศึกษาได้ ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร  และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ 2
หมวดวิชาบังคับ 15            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 54            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิจัยทางระบบการพยาบาลและสุขภาพ
- พยาบาลผู้เชี่ยวชาญทางคลินิกและการพัฒนาคุณภาพการบริการ

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
พยคร๖๐๑ : ปรัชญาประยุกต์ในการพัฒนาความรู้ทางการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 3
พยคร๖๐๒ : ระบบบริการสุขภาพร่วมสมัย 3
พยคร๖๐๓ : สถิติขั้นสูงทางการวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ 3
พยคร๖๐๔ : การฝึกความรอบรู้ทางคลินิก 3
พยคร๖๖๗ : การออกแบบการวิจัยขั้นสูงทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
พยคร๕๒๕ : สัมมนาการพัฒนานโยบายทางการพยาบาลและสุขภาพ 3
พยคร๖๐๕ : ระบาดวิทยาประยุกต์ในการพยาบาลและการบริการสุขภาพ 3
พยคร๖๐๖ : เศรษฐศาสตร์สุขภาพประยุกต์ทางการพยาบาลและการบริการสุขภาพ 3
พยคร๖๐๗ : การวัดผลลัพธ์ 3
พยคร๖๐๘ : การฝึกความรอบรู้ในสาขาที่คัดสรร 3
พยคร๖๐๙ : ระเบียบวิธีเชิงคุณภาพสำหรับการวิจัยบริการสุขภาพ 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
พยคร๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36

อาจารย์ประจำหลักสูตร