เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันอังคารที่   19   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน คณะพยาบาลศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.ns.mahidol.ac.th/english/th/index.html

ชื่อปริญญา

พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต(การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต)

จุดเด่นของหลักสูตร

คณาจารย์มีความเชี่ยวชาญและมีงานวิจัยเกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยโรคจิตเภท โรคอารมณ์แปรปรวน โรคติดสารเสพติด และโรคทางจิตเวชเด็กและวัยรุ่น

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ก  แบบ ก๒
(๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ หรือเทียบเท่า  จากสถาบันการศึกษา
ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสภาการพยาบาลรับรอง และมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบ
วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้น ๑ สำหรับผู้เข้าศึกษาต่างชาติต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตร
ปริญญาตรี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ หรือเทียบเท่า  และได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
โดยสภาวิชาชีพหรือองค์กรที่รับผิดชอบในแต่ละประเทศ
(๒)ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
(๓) มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานทางการพยาบาล หลังจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ไม่น้อยกว่า ๑ ปี
(นับถึงวันรายงานตัวเข้าศึกษา)
(๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้อ (๒) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
เข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ข  
(๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ หรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษา
ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสภาการพยาบาลรับรอง และมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบ
วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้น ๑ สำหรับผู้เข้าศึกษาต่างชาติต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตร
ปริญญาตรี  สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ หรือเทียบเท่า  และได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลโดยสภาวิชาชีพหรือองค์กรที่รับผิดชอบในแต่ละประเทศ 
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
(๓) มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานทางการพยาบาล หลังจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ไม่น้อยกว่า ๒ ปี
(นับถึงวันรายงานตัวเข้าศึกษา)
(๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้อ (๒) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
เข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาแกน 9            หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 12            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต
แผน ข
หมวดวิชาแกน 9            หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 18            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
สารนิพนธ์ 6            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- พยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญทางการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
- นักวิชาการทางการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
- นักวิจัยเกี่ยวกับการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาแกน หน่วยกิต
พยคร๖๑๐ : ทฤษฎีและแนวคิดทางการพยาบาล 2
พยคร๖๑๓ : สถิติและการวิจัยทางการพยาบาล 3
พยคร๖๒๐ : การพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ 2
พยคร๖๒๗ : นโยบายสุขภาพกับภาวะผู้นำ 2
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
พยสจ๖๒๑ : พื้นฐานทางประสาทชีววิทยาของพฤติกรรมมนุษย์และจิตเภสัชวิทยา 3
พยสจ๖๓๐ : การส่งเสริมสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชในชุมชน 3
พยสจ๖๓๑ : ปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันการเจ็บป่วยทางจิต 3
พยสจ๖๓๒ : ปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชชุมชน 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
พยคร๖๐๐ : การให้การปรึกษาด้านสุขภาพ 3
พยคร๖๒๕ : การวัดและการจัดการผลลัพธ์ 3
พยคร๖๒๙ : การสอนทางการพยาบาล 3
พยคร๖๓๑ : การพัฒนาบทบาทของพยาบาลปฏิบัติการขั้นสูง 3
พยสจ๖๓๕ : สัมมนาการวิจัยทางการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
พยคร๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

แผน ข

หมวดวิชาแกน หน่วยกิต
พยคร๖๑๐ : ทฤษฎีและแนวคิดทางการพยาบาล 2
พยคร๖๑๓ : สถิติและการวิจัยทางการพยาบาล 3
พยคร๖๒๐ : การพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ 2
พยคร๖๒๗ : นโยบายสุขภาพกับภาวะผู้นำ 2
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
พยสจ๖๒๑ : พื้นฐานทางประสาทชีววิทยาของพฤติกรรมมนุษย์และจิตเภสัชวิทยา 3
พยสจ๖๓๐ : การส่งเสริมสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชในชุมชน 3
พยสจ๖๓๑ : ปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันการเจ็บป่วยทางจิต 3
พยสจ๖๓๒ : ปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชชุมชน 3
พยสจ๖๓๒ : ปฏิบัติการบำบัดทางการพยาบาลจิตเวชและการฟื้นฟู 3
พยสจ๖๓๓ : การบำบัดทางการพยาบาลจิตเวชและการฟื้นฟู 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
พยคร๖๐๐ : การให้การปรึกษาด้านสุขภาพ 3
พยคร๖๒๕ : การวัดและการจัดการผลลัพธ์ 3
พยคร๖๒๙ : การสอนทางการพยาบาล 3
พยคร๖๓๑ : การพัฒนาบทบาทของพยาบาลปฏิบัติการขั้นสูง 3
พยสจ๖๒๙ : สัมมนาปัญหาทางคลินิกในการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช 3
สารนิพนธ์ หน่วยกิต
พยคร๖๙๗ : สารนิพนธ์ 6

อาจารย์ประจำหลักสูตร