เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   29   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ชีวภาพ (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะเภสัชศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.pharmacy.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(เภสัชศาสตร์ชีวภาพ)

วิชาเอก

  • วิชาเอกจุลชีววิทยา
  • วิชาเอกชีวเคมี
  • วิชาเอกเภสัชวิทยา
  • วิชาเอกสรีรวิทยา
  • จุดเด่นของหลักสูตร

    เป็นหลักสูตรที่มีการบูรณาการระว่างสาขาวิชาจุลชีววิทยา ชีวเคมี เภสัชวิทยา และสรีรวิทยา คณาจารย์ มีประสบการณ์ การสอน การวิจัย และบริการวิชาการอย่างต่อเนื่อง มีเครือข่ายทั้งในและนอกประเทศ มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ ได้รับการตอบรับจากหน่วยงานราชการและเอกชน ผู้ใช้บัณฑิต ทั้งในและต่างประเทศ หลักสูตรได้ผลิตอาจารย์ให้แก่สถาบันการศึกษาอื่นๆ การปรับปรุงหลักสูตร จึงมีโครงสร้างหลักสูตร และเนื้อหาอยู่บนฐานของการปฎิบัติจริง เน้นบูรณาการองค์ความรู้ด้าน เภสัชศาสตร์ชีวภาพ เพื่อการค้นหา พัฒนา และควบคุมคุณภาพเภสัชภัณฑ์ต่างๆ

    คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

    ๑. เป็นผู้สำเร็จการศึกษา   หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้ายในหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต
    วิทยาศาสตรบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือวิทยาศาสตร์ชีวภาพ หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของ
    สถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้การรับรอง และได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสม
    ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ หรือ
    ๒. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้ายในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพหรือวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตของสถาบัน
    การศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้การรับรอง และได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสม
    ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
    ๓. สำหรับนักศึกษาที่เลือกไปศึกษาที่ University of Groningen, The Netherlands เพื่อที่จะได้รับ
    สองปริญญา จะต้องมีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ในข้อตกลงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล
    และ University of Groningen, The Netherlands และผ่านการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

    โครงสร้างหลักสูตร

    (๑) ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
    หมวดวิชาแกน 3            หน่วยกิต
    หมวดวิชาบังคับ (ตามวิชาเอก) 6            หน่วยกิต
    หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
    วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
    รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
    (๒) ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
    หมวดวิชาบังคับ (ตามวิชาเอก) 6            หน่วยกิต
    วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
    หมวดวิชาแกน 12            หน่วยกิต
    หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
    รวมไม่น้อยกว่า 72            หน่วยกิต

    อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


    - นักวิชาการด้านเภสัชศาสตร์ชีวภาพในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน
    - นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางชีวภาพ
    - นักพัฒนาเทคโนโลยีเภสัชศาสตร์ชีวภาพและนวัตกรรม
    - ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชศาสตร์ชีวภาพ

    รายวิชาในหลักสูตร

    แบบ 2

    หมวดวิชาแกน หน่วยกิต
       สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
    บฑคร๖๐๓ : ชีวสถิติ 3
    ภกคร๖๖๘ : สัมมนาทางเภสัชศาสตร์ชีวภาพ 1
    ภกคร๖๖๙ : หัวข้อพิเศษทางเภสัชศาสตร์ชีวภาพ 1
    ภกคร๖๗๙ : หัวข้อปัจจุบันทางเภสัชศาสตร์ชีวภาพ 2
    ภกคร๖๘๕ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยในเภสัชศาสตร์ ๑ 2
    วทคร๕๐๐ : ชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล 3
       สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
    ภกคร๖๖๗ : สัมมนาเชิงบูรณาการทางเภสัชศาสตร์ชีวภาพ 1
    ภกคร๖๗๙ : หัวข้อปัจจุบันทางเภสัชศาสตร์ชีวภาพ 2
    หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
       สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
       วิชาเอกจุลชีววิทยา
    ภกจช๖๘๔ : จุลชีววิทยาประยุกต์ทางเภสัชศาสตร์ 3
    ภกจช๖๘๖ : ผลิตภัณฑ์ชีวเภสัช 3
       วิชาเอกชีวเคมี
    ภกชค๖๖๘ : เทคนิคการใช้เครื่องมือสำหรับการวิจัย 3
       วิชาเอกเภสัชวิทยา
    ภกภว๖๘๔ : หัวข้อพิเศษทางเภสัชวิทยา 3
    ภกภว๖๘๗ : เภสัชวิทยาขั้นสูง 3
       วิชาเอกสรีรวิทยา
    ภกสร๖๙๑ : ระบบควบคุมทางสรีรวิทยา 3
    ภกสร๖๙๒ : หัวข้อเรื่องพิเศษทางสรีรวิทยา 3
       สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
       วิชาเอกจุลชีววิทยา
    ภกจช๖๘๔ : จุลชีววิทยาประยุกต์ทางเภสัชศาสตร์ 3
    ภกจช๖๘๖ : ผลิตภัณฑ์ชีวเภสัช 3
       วิชาเอกชีวเคมี
    ภกชค๖๗๔ : ชีวเคมีทางชีวเภสัชศาสตร์ขั้นสูง 3
    ภกชค๖๗๕ : ความรู้ทางชีวเคมีของอาวุธเคมีและชีวภาพ 3
       วิชาเอกเภสัชวิทยา
    ภกภว๖๘๔ : หัวข้อพิเศษทางเภสัชวิทยา 3
    ภกภว๖๘๗ : เภสัชวิทยาขั้นสูง 3
       วิชาเอกสรีรวิทยา
    ภกสร๖๙๑ : ระบบควบคุมทางสรีรวิทยา 3
    ภกสร๖๙๒ : หัวข้อเรื่องพิเศษทางสรีรวิทยา 3
    หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
       วิชาเอกจุลชีววิทยา
    ภกจช๖๖๔ : จุลชีววิทยาเภสัชอุตสาหกรรม 3
    ภกจช๖๖๕ : การประเมินคุณภาพและการควบคุมทางจุลชีววิทยา 3
    ภกจช๖๙๔ : เทคนิคทางชีวโมเลกุลสำหรับเภสัชศาสตร์ชีวภาพ 3
    ภกจช๖๙๕ : เทคนิคพื้นฐานในการเลี้ยงเซลล์สัตว์ 2
       วิชาเอกเภสัชวิทยา
    ภกภว๖๖๔ : สาระสำคัญทางพิษวิทยา 3
    ภกภว๖๖๖ : เทคนิคการคัดกรองยา ๑ 3
    ภกภว๖๗๘ : ฤทธิ์ไม่พึงประสงค์ของยา 3
       วิชาเอกชีวเคมี
    ภกชค๖๗๐ : เมตาบอลิสมของมนุษย์ 3
    ภกชค๖๗๑ : เทคนิคทางชีวเคมีเพื่อการวิจัยและพัฒนายา 4
    ภกชค๖๗๒ : ปฏิบัติการเทคนิคทางชีวเคมี 2
    ภกชค๖๗๓ : หลักการวิเคราะห์สารชีวโมเลกุล 3
       เป็นรายวิชาเลือกสำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรีเท่านั้น
    ภกชค๖๖๗ : หัวข้อปัจจุบันทางชีวเคมี 2
       วิชาเอกสรีรวิทยา
    ภกสร๖๗๑ : การขนส่งผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ 3
    ภกสร๖๗๓ : ความก้าวหน้าทางพยาธิสรีรวิทยา 3
    ภกสร๖๙๓ : การสูงวัยและการชะลอวัย 3
    ภกสร๖๙๕ : สรีรวิทยาขั้นสูงของระบบไต 3
    ภกสร๖๙๖ : สรีรวิทยาขั้นสูงของระบบไหลเวียนโลหิต 3
    ภกสร๖๙๗ : สรีรวิทยาขั้นสูงของระบบต่อมไร้ท่อ 3
       เป็นรายวิชาเลือกสำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรีเท่านั้น
    ภกสร๖๗๒ : สรีรวิทยาของเซลล์ 2
    ภกสร๖๘๑ : ระบบสรีรวิทยาของมนุษย์ 3
    ภกสร๖๘๒ : การควบคุมสรีรวิทยาของมนุษย์ 3
    วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
       สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
    ภกคร๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48
       สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
    ภกคร๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36
    หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
       สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
       วิชาเอกชีวเคมี
    ภกชค๖๖๙ : ชีวเคมีทางชีวเภสัชศาสตร์ 3

    อาจารย์ประจำหลักสูตร