เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันอังคารที่   19   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก(หลักสูตรนานาชาติ) (ภาคพิเศษ)

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน คณะเภสัชศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.pharmacy.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต(เภสัชกรรมคลินิก)

จุดเด่นของหลักสูตร

มีการฝึกปฏิบัติงานการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ณ สถานที่จริง ตลอดจนการทำวิจัยทางเภสัชกรรมคลินิก ที่เป็นการส่งเสริมสมรรถนะแก่เภสัชกรคลินิกให้สามารถปฏิบัติงานในสถานพยาบาลทุกระดับ

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

๑.จบปริญญาตรีทางสาขาวิชาเภสัชศาสตร์  
๒.ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
๓.ได้รับใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมจากสภาเภสัชกรรม
๔.ผู้ที่มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อ ๒.๒.๒ และ ๒.๒.๓  อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการ
คัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
รวม ไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 18            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- เภสัชกรคลินิก (ในโรงพยาบาล หรือร้านยา)
- เภสัชกรนักวิจัยยาทางคลินิก
- เภสัชกรผู้ขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ยา
- เภสัชกรนักวิชาการในสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
ภกคร๖๘๕ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยในเภสัชศาสตร์ ๑ 2
ภกภก๖๔๘ : สัมมนาทางเภสัชกรรมคลินิก ๑ 1
ภกภก๖๔๙ : สัมมนาทางเภสัชกรรมคลินิก ๒ 1
ภกภก๖๖๖ : การบริบาลทางเภสัชกรรม ๑ 3
ภกภก๖๖๗ : การบริบาลทางเภสัชกรรม ๒ 3
ภกภก๖๖๘ : งานเภสัชกรรมคลินิกและการฝึกปฏิบัติ ๑ 3
ภกภก๖๖๙ : งานเภสัชกรรมคลินิกและการฝึกปฏิบัติ ๒ 3
ภกภก๖๗๐ : ปัญหาเฉพาะทางเภสัชกรรมคลินิก 2
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
บฑคร๖๐๓ : ชีวสถิติ 3
ภกภก๖๒๓ : การประเมินการใช้ยา 3
ภกภก๖๒๗ : การตรวจติดตามระดับยาเพื่อการบำบัด 3
ภกภก๖๔๔ : การบริการเภสัชสนเทศ 3
ภกภก๖๔๕ : ยาผสมและสารอาหารผสมที่ให้ทางหลอดเลือดดำ 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
ภกคร๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

อาจารย์ประจำหลักสูตร