เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   29   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา(หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.sh.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(พุทธศาสนศึกษา)

วิชาเอก

  • วิชาเอกพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท
  • วิชาเอกพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานและวัชรยาน
  • คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

    ๑. ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแบบ ๑ 
        ๑.๑  ผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท
        (๑) สำเร็จการศึกษา หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้ายในหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชา
              พุทธศาสนศึกษา พุทธปรัชญา บาลี สันสกฤต
        (๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
        (๓) มีพื้นฐานทางภาษาบาลีหรือสันสกฤต
        (๔) มีประสบการณ์การทำงานไม่น้อยกว่า ๓ ปี ในด้านการวิจัยทางพระพุทธศาสนาที่ไม่เป็น 
              ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อจบหลักสูตร และมีผลงานวิชาการทางพระพุทธศาสนาตีพิมพ์
              เผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษในวารสารหรือในประมวลเอกสารการประชุมทางวิชาการที่น่า
               เชื่อถืออย่างน้อย ๒ เรื่อง
        (๕) มีโครงร่างการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาเห็นว่าเหมาะสม
              สำหรับการวิจัยด้านพระพุทธศาสนาระดับปริญญาเอก	
        (๖) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
             เข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
    
    ๒. ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแบบ ๒ 
         ๒.๑ ผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท
         (๑)  สำเร็จการศึกษา หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้ายในหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชา
               พุทธศาสนศึกษา พุทธปรัชญา บาลี สันสกฤต   
         (๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
         (๓) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
               เข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
    
         ๒.๒ ผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี
         (๑)  สำเร็จการศึกษา หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้ายในหลักสูตรปริญญาตรี สาขา
                วิชาพุทธศาสนศึกษา พุทธปรัชญา บาลี สันสกฤต หรือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาเปรียญธรรม 
                ๙ ประโยค
         (๒)  มีผลการเรียนดีเด่น (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)
         (๓)  ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
               เข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

    โครงสร้างหลักสูตร

    แบบ ๑
    สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท           
    วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
    แบบ ๒
    สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี           
    หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
    หมวดวิชาแกน 12            หน่วยกิต
    หมวดวิชาบังคับ 15            หน่วยกิต
    หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9            หน่วยกิต
    วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
    สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท           
    หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
    หมวดวิชาแกน 9            หน่วยกิต
    หมวดวิชาบังคับ 12            หน่วยกิต
    หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
    วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต

    อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


    - นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา
    - ผู้นำองค์กรทางศาสนา
    - บรรณาธิการทางด้านพระพุทธศาสนา
    - พระธรรมทูต ผู้เผยแผ่ศาสนา

    รายวิชาในหลักสูตร

    แบบ 1

    วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
       สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท
    สมพศ๘๙๘ : วิทยานิพนธ์ 48

    แบบ 2

    หมวดวิชาแกน หน่วยกิต
       สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี
    สมพศ๕๐๓ : สัมมนาพระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3
    สมพศ๕๐๔ : การตีความและวิธีวิเคราะห์ทางพระพุทธศาสนา 3
    สมพศ๕๐๕ : ต้นฉบับคัมภีร์ใบลานและทฤษฏีการตรวจชำระ 3
    สมพศ๕๐๖ : สัมมนาพระพุทธศาสนาในบริบทของวรรณคดีสันสกฤตของฮินดู 3
       สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท
    สมพศ๕๐๓ : สัมมนาพระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3
    สมพศ๕๐๔ : การตีความและวิธีวิเคราะห์ทางพระพุทธศาสนา 3
    สมพศ๕๐๕ : ต้นฉบับคัมภีร์ใบลานและทฤษฏีการตรวจชำระ 3
    หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
       สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี
       วิชาเอกพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท
    สมพศ๕๐๗ : สัมมนาวรรณคดีบาลีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3
    สมพศ๕๐๘ : วรรณคดีพระวินัย 3
    สมพศ๕๐๙ : วรรณคดีพระสูตร 3
    สมพศ๕๑๐ : วรรณคดีพระอภิธรรม 3
    สมพศ๕๑๑ : สัมมนาพระไตรปิฏกบาลีและอรรถกถา 3
       วิชาเอกพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานและวัชรยาน
    สมพศ๕๑๒ : สัมมนาคัมภีร์มหายานสูตรยุคแรก 3
    สมพศ๕๑๓ : สัมมนาพระสูตรมหายาน 3
    สมพศ๕๑๔ : สัมมนาโยคาจารสูตร 3
    สมพศ๕๑๕ : สัมมนาพระพุทธศาสนาตันตระ 3
    สมพศ๕๑๖ : สัมมนามหายานและพระพุทธศาสนาฝ่ายตันตระ 3
       สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท
       วิชาเอกพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท
    สมพศ๕๐๗ : สัมมนาวรรณคดีบาลีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3
    สมพศ๕๐๘ : วรรณคดีพระวินัย 3
    สมพศ๕๐๙ : วรรณคดีพระสูตร 3
    สมพศ๕๑๐ : วรรณคดีพระอภิธรรม 3
       วิชาเอกพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานและวัชรยาน
    สมพศ๕๑๒ : สัมมนาคัมภีร์มหายานสูตรยุคแรก 3
    สมพศ๕๑๓ : สัมมนาพระสูตรมหายาน 3
    สมพศ๕๑๔ : สัมมนาโยคาจารสูตร 3
    สมพศ๕๑๕ : สัมมนาพระพุทธศาสนาตันตระ 3
    หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
    สมพศ๕๑๗ : สัมมนาพระพุทธศาสนาระยะแรก 3
    สมพศ๕๑๘ : สัมมนาคัมภีร์สันสกฤตและประกฤตที่มิใช่มหายาน 3
    สมพศ๕๑๙ : สัมมนาพระพุทธศาสนาและปรัชญา 3
    สมพศ๕๒๐ : สัมมนาความเคลื่อนไหวของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทสมัยใหม่ 3
    สมพศ๕๒๑ : สัมมนาพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ 3
    สมพศ๕๒๒ : สัมมนาวรรณคดีบาลีของประเทศไทย 3
    สมพศ๕๒๓ : สัมมนาแง่มุมของพระพุทธศาสนาทิเบตหรือจีน 3
    สมพศ๕๒๔ : การศึกษาอิสระ 3
    วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
       สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี
    สมพศ๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48
       สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท
    สมพศ699 : วิทยานิพนธ์ 36
    หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน หน่วยกิต
    สมพศ๕๐๐ : ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาทิเบต หรือภาษาจีน ๑ 3
    สมพศ๕๐๑ : ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาทิเบต หรือภาษาจีน ๒ 3

    อาจารย์ประจำหลักสูตร