เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   19   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์และสุขภาพ 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.sh.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(สังคมศาสตร์และสุขภาพ)

จุดเด่นของหลักสูตร

๑. เป็นหลักสูตรสหวิทยาการที่นำองค์ความรู้ทางสังคมศาสตร์ทุกด้านมาประยุกต์ใช้กับสาธารณสุข ซึ่งเป็น หลักสูตรที่มีความร่วมมือ และมีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติที่จะเสริมสร้างประสบการณ์และความรู้ให้กับ นักศึกษา เพื่อให้มีคุณสมบัติในระดับเดียวกับที่จบปริญญาเอกจากต่างประเทศ ๒. สาขาการวิจัยที่เน้นหนักทางด้านสังคมศาสตร์สุขภาพทางเพศ เอชไอวี เอดส์ เพศภาวะ ระบบบริการ สุขภาพ สุขภาพวัยรุ่นและผู้ด้อยโอกาส การจัดสรรทรัพยากรสุขภาพกับความเป็นธรรม ประกันคุณภาพ

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

๑. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต หรือทันตแพทยศาสตรบัณฑิต หรือเภสัชศาสตรบัณฑิต โดยมีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ 
๒. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท และได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
๓. นักศึกษาหลักสูตรปริญญาโท ภาควิชาสังคมและสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้ศึกษารายวิชาของหลักสูตรปริญญาโทครบตามหลักสูตร ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐  ได้สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติการเปลี่ยนสถานภาพเป็นนักศึกษาปริญญาเอก และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปริญญาโทที่กำลังศึกษา จากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปริญญาเอกที่ประสงค์เข้าศึกษา  และจากคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล 
๔. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้นอาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดวิชาบังคับ 27            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 84            หน่วยกิต
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
หมวดวิชาบังคับ 9            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิชาการด้านสังคมศาสตร์และสุขภาพ
- นักวิจัยด้านสังคมศาสตร์และสุขภาพ
- นักวิเคราะห์นโยบายด้านสังคมศาสตร์และสุขภาพ
- ผู้นำองค์กรด้านสังคมศาสตร์และสุขภาพ
- ผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์สังคมศาสตร์และสุขภาพในระดับอุดมศึกษา

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้จบปริญญาตรี
สมสภ๕๐๑ : สังคมวิทยาสุขภาพ 3
สมสภ๕๐๒ : มานุษยวิทยาการแพทย์ 3
สมสภ๕๐๓ : จิตวิทยาสุขภาพ 3
สมสภ๕๐๔ : เศรษฐศาสตร์สุขภาพ 3
สมสภ๕๐๕ : สถิติสำหรับนักวิจัย 3
สมสภ๕๐๖ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ 3
สมสภ๖๐๐ : ปรัชญาและทฤษฎีสังคมศาสตร์ 3
สมสภ๖๐๑ : วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ขั้นสูง 3
สมสภ๖๐๒ : สัมมนาทางสังคมศาสตร์สุขภาพ 3
   สำหรับผู้จบปริญญาโท
สมสภ๖๐๐ : ปรัชญาและทฤษฎีสังคมศาสตร์ 3
สมสภ๖๐๑ : วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ขั้นสูง 3
สมสภ๖๐๒ : สัมมนาทางสังคมศาสตร์สุขภาพ 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
สมภส๖๓๑ : บุคลิกภาพ สุขภาพ และความเจ็บป่วย 3
สมสภ๖๐๗ : การศึกษาดูงานทางสังคมศาสตร์สุขภาพ 1
สมสภ๖๑๐ : ทฤษฎีสังคมวิทยาสุขภาพ 3
สมสภ๖๑๑ : ทฤษฎีสังคมวิทยาสุขภาพร่วมสมัย 3
สมสภ๖๑๒ : ทฤษฎีองค์การ 3
สมสภ๖๑๔ : สถาบันการศึกษาและความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพ 3
สมสภ๖๑๕ : งานและความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพ 3
สมสภ๖๑๖ : ทฤษฎีสตรีนิยม 3
สมสภ๖๒๐ : แนวคิดและทฤษฎีทางมานุษยวิทยาและมานุษยวิทยาการแพทย์ 3
สมสภ๖๒๑ : มานุษยวิทยาทางเพศภาวะและเพศวิถี 3
สมสภ๖๒๒ : วัฒนธรรม ความทุกข์ทางสังคมและสุขภาพ 3
สมสภ๖๓๒ : จิตวิทยาสังคมและจิตวิทยาเชิงบวกทางสุขภาพในประเด็นที่เกี่ยวข้อง 3
สมสภ๖๓๓ : จิตวิทยาอปกติ 3
สมสภ๖๓๔ : การวัดพฤติกรรมและการสร้างมาตรวัด 3
สมสภ๖๔๑ : การวางแผนและนโยบายสาธารณสุข 3
สมสภ๖๔๒ : นโยบายสาธารณะและสุขภาพ 3
สมสภ๖๔๓ : ระบบประกันสุขภาพ 3
สมสภ๖๕๐ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ 3
สมสภ๖๕๑ : สถิติหลายตัวแปร 3
สมสภ๖๖๐ : บทอ่านตามกำหนดทางสังคมศาสตร์และสุขภาพ 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
สมสภ๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36
สมสภ๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48

อาจารย์ประจำหลักสูตร