เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   29   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ 

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน คณะสาธารณสุขศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.ph.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(สาธารณสุขศาสตร์)

วิชาเอก

  • วิชาเอกการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน
  • วิชาเอกโภชนวิทยา
  • วิชาเอกอนามัยครอบครัว
  • คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

    ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาใน แผน ก แบบ ก ๒
    ๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชาในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
    จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
    ๒) ได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
    ๓) ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานทางด้านสาธารณสุขและวิชาเอก หรืองานที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุข
    ไม่น้อยกว่า ๑ ปี  ยกเว้น วิชาเอกโภชนวิทยา ไม่ต้องมีประสบการณ์
    ๔) มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
    ๕) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้อ ๒) และ ๓) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัเลือก
    เข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร  และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

    โครงสร้างหลักสูตร

    หมวดวิชาแกน 10            หน่วยกิต
    หมวดวิชาบังคับ 12            หน่วยกิต
    หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
    วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
    รวมไม่น้อยกว่า 37            หน่วยกิต

    อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


    - หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์)
    - ๑ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการในส่วนของสาธารณสุขระหว่างประเทศ องค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง กับสุขภาพ
    - ๒ นักวิชาการ ด้านส่งเสริมพัฒนา ด้านบริการทางวิชาการ ในศูนย์สุขภาพชุมชน องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น (อบต. เทศบาล อบจ.) โรงพยาบาล สถาบันวิชาการของภาครัฐและเอกชน องค์การนอกภาครัฐ (Non-governmental organizations; NGOs) องค์กรระหว่างประเทศ และองค์กรอิสระ
    - ๓ นักวิจัย ในศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาล สถาบันวิชาการของภาครัฐและเอกชน องค์การ นอกภาครัฐ (Non-governmental organizations; NGOs) องค์กรระหว่างประเทศ และองค์กรอิสระ
    - ๔ งานอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
    - อาชีพเฉพาะในวิชาเอก ดังนี้
    - ๑ วิชาเอกการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน ๑) นักวิชาการด้านการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน ๒) นักวิจัยในหน่วยงานของรัฐ องค์กรอิสระ และเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบสุขภาพ
    - ๒ วิชาเอกโภชนวิทยา ๑) นักโภชนาการ ๒) ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และนักวิจัยด้านอาหารและโภชนาการในหน่วยงานของรัฐและเอกชน หรือองค์กรต่างๆ
    - ๓ วิชาเอกอนามัยครอบครัว ๑) นักวิชาการการสาธารณสุข ด้านอนามัยครอบครัว ๒) นักวิจัยในหน่วยงานของรัฐ และเอกชนที่มีบทบาทพัฒนาสุขภาพประชาชนทุกช่วงวัยรวมทั้ง การพัฒนาสุขภาพครอบครัวและชุมชน

    รายวิชาในหลักสูตร

    แผน ก แบบ ก2

    หมวดวิชาแกน หน่วยกิต
    สศคร๖๖๓ : พื้นฐานอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย 2
    สศชส๖๓๘ : ชีวสถิติพื้นฐาน 3
    สศบส๖๗๒ : การบริหารงานสาธารณสุขทั่วไป 2
    สศรบ๖๐๒ : หลักวิทยาการระบาด 3
    สศสษ๖๒๐ : สุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ 2
    หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
       วิชาเอกการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน
    สศบส๖๐๙ : เศรษฐศาสตร์และการคลังในงานอนามัยชุมชน 3
    สศอช๖๑๐ : เทคโนโลยีสารสนเทศและการเฝ้าระวังทางสุขภาพชุมชน 2
    สศอช๖๑๑ : การวิจัยทางระบบสุขภาพชุมชน 2
    สศอช๖๑๗ : สุขภาพประชากรและการพัฒนาบริการอนามัยชุมชน 3
       วิชาเอกโภชนวิทยา
    สศภว๖๐๒ : โภชนาการสาธารณสุข 3
    สศภว๖๒๒ : ระเบียบวิธีวิจัยทางอาหารและโภชนาการ 2
    สศภว๖๒๘ : อาหารและวิถีชีวิต 2
    สศภว๖๓๔ : บูรณาการวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ 3
    สศภว๖๕๖ : สัมมนาทางโภชนวิทยา 1
    สศภว๖๕๗ : สัมมนาเพื่อการวิจัยทางโภชนวิทยา 1
       วิชาเอกอนามัยครอบครัว
    สศอค๕๒๖ : สุขภาพจิตครอบครัวและการให้คำปรึกษา 2
    สศอค๖๐๓ : การวิจัยด้านอนามัยครอบครัว 2
    สศอค๖๐๕ : สัมมนาทางอนามัยครอบครัว 2
    สศอค๖๔๑ : ครอบครัวและอนามัยการเจริญพันธุ์ 2
    สศอค๖๔๒ : การวางแผนงานสุขภาพครอบครัว 2
    สศอค๖๔๕ : พัฒนาการเด็กและการอบรมเลี้ยงดู 2
       สำหรับผู้สำเร็จปริญญาตรีแล้วเข้าศึกษาต่อปริญญาเอก
    สศอช๖๑๒ : การฝึกงานทางการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน 2
    หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
    สศชส๕๐๐ : ชีวสถิติวิเคราะห์ขั้นแนะนำ 3
    สศบส๕๑๖ : จริยธรรมในระบบสุขภาพ 1
    สศภว๖๑๙ : โภชนาการผู้สูงอายุ 2
    สศภว๖๒๕ : การให้คำปรึกษาและการสื่อสารในงานโภชนาการ 2
    สศภว๖๓๕ : นวัตกรรมทางอาหารและโภชนาการ 2
    สศภว๖๔๐ : วิทยาการระบาดทางโภชนาการ 2
    สศภว๖๔๖ : การศึกษาด้วยตนเอง 2
    สศอค๖๑๑ : ชีวิตครอบครัวและเพศศึกษา 2
    สศอค๖๒๕ : การจัดการข้อมูลและการเขียนรายงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ 2
    สศอค๖๒๗ : ครอบครัวกับการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 2
    สศอค๖๓๒ : การศึกษาดูงานต่างประเทศ 2
    สศอค๖๔๓ : สุขภาพเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 2
    สศอค๖๔๔ : สถานการณ์ปัจจุบันด้านอนามัยครอบครัว 2
    สศอค๖๙๔ : การฝึกภาคสนามอนามัยครอบครัว 2
    สศอช๖๐๓ : การฝึกภาคสนามพัฒนาสุขภาพชุมชน 2
    สศอช๖๑๖ : การประเมินผลกระทบสุขภาพชุมชน 2
    สศอช๖๑๙ : การเตรียมความพร้อมและการจัดการภัยพิบัติ 2
    สศอช๖๖๖ : สัมมนาทางการพัฒนาระบบสุขภาพ 2
    วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
       วิชาเอกการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน
    สศอช๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12
       วิชาเอกโภชนวิทยา
    สศภว๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12
       วิชาเอกอนามัยครอบครัว
    สศอค๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

    อาจารย์ประจำหลักสูตร