เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันอังคารที่   19   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน คณะสาธารณสุขศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.ph.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

๑. สำเร็จการศึกษาปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต  สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต 
เภสัชศาสตรบัณฑิต วิทยาศาสตรบัณฑิต พยาบาลศาสตรบัณฑิต  สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต หรือปริญญา
ตรีสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
รับรอง โดยมีการเทียบเคียงคุณวุฒิตามเกณฑ์ของกระทรวงศึกษาธิการ 
๒. ต้องได้แต้มเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ หรือคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๕
๓. มีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพหลังจบปริญญาตรี มาแล้ว ไม่น้อยกว่า ๑ ปี 
ก่อนวันสมัคร โดยไม่นับแพทย์ฝึกหัด
๔. มีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด
๕. ผู้สมัครเข้าศึกษาซึ่งมีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับ
การคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานบริหารหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 21            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 39            หน่วยกิต
แผน ข
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 24            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9            หน่วยกิต
สารนิพนธ์ 6            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 39            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้แล้ว สามารถประกอบอาชีพในตำแหน่งงานต่างๆ ในหน่วยงาน
ภาครัฐ และเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ และองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ได้แก่ ผู้บริหารงาน
สาธารณสุข นักวิจัย นักวิชาการสาธารณสุขในหน่วยงานสาธารณสุข และสถาบันการศึกษา ทุกระดับ ทั้งใน
ภาครัฐและเอกชน องค์กรที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในประเทศและระดับนานาชาติ รวมทั้งสามารถประกอบ
อาชีพอิสระในตำแหน่งผู้บริหาร หรือผู้ดำเนินการ หรือนักวิชาการสาธารณสุข ในงานอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
กับสุขภาพ

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
สศคร๕๐๑ : สถานการณ์ด้านสุขภาพปัจจุบันและแนวโน้ม 3
สศชส๕๐๐ : ชีวสถิติวิเคราะห์ขั้นแนะนำ 3
สศอช๖๐๔ : การสาธารณสุขทั่วไป 3
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
สศคร๖๐๔ : อนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย 3
สศคร๖๖๙ : การพัฒนาทักษะด้านสาธารณสุขและภาวะผู้นำ 3
สศคร๗๐๒ : การสาธารณสุขบนพื้นฐานเชิงประจักษ์ 3
สศคร๗๐๔ : การวิจัยทางสาธารณสุข 3
สศชส๖๓๘ : ชีวสถิติพื้นฐาน 3
สศบส๖๐๒ : การบริหารงานสาธารณสุข 3
สศรบ๖๐๒ : หลักวิทยาการระบาด 3
สศสษ๖๐๒ : พฤติกรรมศาสตร์และสุขศึกษา 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
สคสษ๖๕๐ : สื่อและการชี้แนะสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ 3
สศคร๖๐๙ : กลยุทธ์และวิธีการส่งเสริมสุขภาพ 3
สศคร๖๒๔ : เทคนิคการควบคุมโรคและสิ่งแวดล้อม 3
สศคร๖๒๕ : การกำกับดูแลและการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ 3
สศคร๖๔๗ : ภาพรวมอนามัยการเจริญพันธุ์: มุมมองในภูมิภาคอาเซียน 3
สศคร๖๗๕ : ภาวะผู้นำและการพัฒนาระบบสุขภาพ 3
สศจว๖๐๒ : นิเวศวิทยาและวิทยาการระบาดของโรคติดเชื้อ 3
สศชส๖๕๐ : เทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพ 3
สศบส๖๐๕ : เศรษฐศาสตร์สุขภาพประยุกต์ 3
สศบส๖๒๐ : หลักการบริหารโรงพยาบาล 3
สศบส๖๔๕ : สาธารณสุขมูลฐาน 3
สศบส๖๕๕ : การประเมินผลทางเศรษฐศาสตร์และการประเมินเทคโนโลยีทางสุขภาพ 3
สศบส๖๗๑ : ระบบสุขภาพและการพัฒนา 3
สศบส๖๗๓ : เศรษฐศาสตร์สุขภาพ : ทฤษฎีและทางเลือกนโยบาย 3
สศบส๖๗๗ : ประเด็นด้านกฎหมายและจริยธรรมสำหรับนักวิชาชีพสาธารณสุข 3
สศปว๖๑๘ : ชีวสารสนเทศศาสตร์ทางโรคติดเชื้อ 3
สศภว๖๐๐ : กลยุทธ์และวิธีการส่งเสริมโภชนาการ 3
สศภว๖๐๒ : โภชนาการสาธารณสุข 3
สศรบ๖๓๒ : วิธีการศึกษาทางวิทยาการระบาดและการสำรวจโรคในช่องปาก 3
สศรบ๖๓๔ : การศึกษาพิเศษการวิจัยสุขภาพในช่องปาก 3
สศรบ๖๖๘ : คอมพิวเตอร์และการจัดการระบบสารสนเทศทางการศึกษาวิทยาการระบาด 3
สศวส๕๖๔ : แนะนำระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์และภาพถ่ายระยะไกล 3
สศสษ๖๓๖ : การพัฒนาสื่อในงานสาธารณสุข 3
สศอค๖๑๖ : ผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมต่ออนามัยการเจริญพันธุ์ 3
สศอช๖๐๘ : การจัดการบริการดูแลขั้นปฐมภูมิ 3
สศอช๖๑๗ : สุขภาพประชากรและการพัฒนาบริการอนามัยชุมชน 3
สศอช๖๗๘ : สัมมนาปัญหาสาธารณสุขและบริการสุขภาพ 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
สศคร๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

แผน ข

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
สศคร๕๐๑ : สถานการณ์ด้านสุขภาพปัจจุบันและแนวโน้ม 3
สศชส๕๐๐ : ชีวสถิติวิเคราะห์ขั้นแนะนำ 3
สศอช๖๐๔ : การสาธารณสุขทั่วไป 3
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
สศคร๖๐๔ : อนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย 3
สศคร๖๖๙ : การพัฒนาทักษะด้านสาธารณสุขและภาวะผู้นำ 3
สศคร๗๐๒ : การสาธารณสุขบนพื้นฐานเชิงประจักษ์ 3
สศคร๗๐๔ : การวิจัยทางสาธารณสุข 3
สศชส๖๓๘ : ชีวสถิติพื้นฐาน 3
สศบส๖๐๒ : การบริหารงานสาธารณสุข 3
สศรบ๖๐๒ : หลักวิทยาการระบาด 3
สศสษ๖๐๒ : พฤติกรรมศาสตร์และสุขศึกษา 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
สคสษ๖๕๐ : สื่อและการชี้แนะสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ 3
สศคร๖๐๙ : กลยุทธ์และวิธีการส่งเสริมสุขภาพ 3
สศคร๖๒๔ : เทคนิคการควบคุมโรคและสิ่งแวดล้อม 3
สศคร๖๒๕ : การกำกับดูแลและการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ 3
สศคร๖๔๗ : ภาพรวมอนามัยการเจริญพันธุ์: มุมมองในภูมิภาคอาเซียน 3
สศคร๖๗๕ : ภาวะผู้นำและการพัฒนาระบบสุขภาพ 3
สศจว๖๐๒ : นิเวศวิทยาและวิทยาการระบาดของโรคติดเชื้อ 3
สศชส๖๕๐ : เทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพ 3
สศบส๖๐๕ : เศรษฐศาสตร์สุขภาพประยุกต์ 3
สศบส๖๒๐ : หลักการบริหารโรงพยาบาล 3
สศบส๖๔๕ : สาธารณสุขมูลฐาน 3
สศบส๖๕๕ : การประเมินผลทางเศรษฐศาสตร์และการประเมินเทคโนโลยีทางสุขภาพ 3
สศบส๖๗๑ : ระบบสุขภาพและการพัฒนา 3
สศบส๖๗๓ : เศรษฐศาสตร์สุขภาพ : ทฤษฎีและทางเลือกนโยบาย 3
สศบส๖๗๗ : ประเด็นด้านกฎหมายและจริยธรรมสำหรับนักวิชาชีพสาธารณสุข 3
สศปว๖๑๘ : ชีวสารสนเทศศาสตร์ทางโรคติดเชื้อ 3
สศภว๖๐๐ : กลยุทธ์และวิธีการส่งเสริมโภชนาการ 3
สศภว๖๐๒ : โภชนาการสาธารณสุข 3
สศรบ๖๓๒ : วิธีการศึกษาทางวิทยาการระบาดและการสำรวจโรคในช่องปาก 3
สศรบ๖๓๔ : การศึกษาพิเศษการวิจัยสุขภาพในช่องปาก 3
สศรบ๖๖๘ : คอมพิวเตอร์และการจัดการระบบสารสนเทศทางการศึกษาวิทยาการระบาด 3
สศวส๕๖๔ : แนะนำระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์และภาพถ่ายระยะไกล 3
สศสษ๖๓๖ : การพัฒนาสื่อในงานสาธารณสุข 3
สศอค๖๑๖ : ผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมต่ออนามัยการเจริญพันธุ์ 3
สศอช๖๐๘ : การจัดการบริการดูแลขั้นปฐมภูมิ 3
สศอช๖๑๗ : สุขภาพประชากรและการพัฒนาบริการอนามัยชุมชน 3
สศอช๖๗๘ : สัมมนาปัญหาสาธารณสุขและบริการสุขภาพ 3
สารนิพนธ์ หน่วยกิต
สศคร๖๙๗ : สารนิพนธ์ 6

อาจารย์ประจำหลักสูตร