เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันพฤหัสบดีที่   25   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยาสาธารณสุข (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะสาธารณสุขศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.ph.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(จุลชีววิทยาสาธารณสุข)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

๑. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์ สาขาจุลชีววิทยา สาขาชีววิทยา
    สาขาพยาบาลศาสตร์ สาขาเทคนิคการแพทย์ สาขาเภสัชศาสตร์ สาขาเกษตรศาสตร์ หรือสาขาอื่น
    ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีด้านสาธารณสุขศาสตร์
    หรือหลักสูตรปริญญาตรีด้านแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ โดย
    ได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ หรืออาจได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้สมัครเข้าศึกษา
    ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย หรือ
๒. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์ หรือสาขา
     อื่นๆ หรือสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาโท สาขาชีววิทยาหรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยได้ระดับ
     คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ตํ่ากว่า ๓.๕๐ หรืออาจได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้สมัครเข้าศึกษาตาม
     ดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย หรือ
๓. กำลังศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาโรคติดเชื้อ
     และวิทยาการระบาด และต้องการเปลี่ยนสถานภาพเป็นนักศึกษาในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
     สาขาจุลชีววิทยาสาธารณสุข นักศึกษาผู้นั้นต้องศึกษารายวิชาของหลักสูตรปริญญาโทมาแล้วไม่น้อย
     กว่า ๒ ใน ๓ ของจำนวนหน่วยกิตรายวิชาในหมวดวิชาบังคับในโครงสร้างหลักสูตรดังกล่าว และ
     ต้องมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า ๓.๕๐ และต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหาร
     หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาโรคติดเชื้อและวิทยาการระบาด
     คณะกรรมการบริหารหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาจุลชีววิทยาสาธารณสุข
     และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดวิชาบังคับ 9            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 15            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
หมวดวิชาบังคับ 9            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา
- นักวิชาการจุลชีววิทยาสาธารณสุข
- นักวิจัยจุลชีววิทยาสาธารณสุข
- นักวิชาการ นักวิจัยในสถาบันวิชาการของภาครัฐและเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ และองค์กรอิสระ
- งานอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
สศจว๖๒๔ : จุลชีววิทยาสาธารณสุขขั้นสูง 3
สศจว๖๓๑ : สัมมนาการวิจัยขั้นสูงด้านจุลชีววิทยาสาธารณสุข 2
สศจว๖๓๓ : หัวข้อพิเศษด้านจุลชีววิทยาสาธารณสุข 2
สศจว๖๓๗ : การประเมินและการจัดการความเสี่ยงทางจุลชีววิทยา 2
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
สศจว๖๓๔ : จุลชีววิทยาอาหารทางสาธารณสุขขั้นสูง 3
สศจว๖๓๕ : ชีวนิรภัย และชีวจริยธรรม 2
สศจว๖๓๖ : การเปลี่ยนแปลงของสารประกอบอินทรีย์โดยใช้จุลชีพ 2
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี
: 0
สศคร๖๑๑ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยในงานด้านโรคติดเชื้อและวิทยาการระบาด 2
สศจว๖๐๒ : นิเวศวิทยาและวิทยาการระบาดของโรคติดเชื้อ 3
สศจว๖๑๐ : จุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อมประยุกต์ 2
สศจว๖๑๒ : วิธีการทางห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาสาธารณสุขและวิทยาภูมิคุ้มกัน 3
สศจว๖๑๗ : วิธีการทางห้องปฏิบัติการวิทยาภูมิคุ้มกันทางสาธารณสุข 2
สศจว๖๒๐ : การตรวจวินิจฉัยทางจุลชีววิทยาระดับโมเลกุล 2
สศจว๖๒๑ : การป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อระดับโลก 2
สศจว๖๒๓ : การประยุกต์เทคโนโลยีวัคซีนทางสาธารณสุข 2
สศจว๖๒๕ : วิธีการระดับโมเลกุลด้านโรคติดเชื้อ 2
สศจว๖๒๗ : วิทยาภูมิคุ้มกันของโรคติดเชื้อ 2
สศชส๖๔๔ : การออกแบบวิจัยและการประเมินผลสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ 3
สศชส๖๗๗ : สนเทศศาสตร์ทางสาธารณสุข 3
สศรบ๖๐๔ : วิธีการทางสถิติในงานวิทยาการระบาด ๑ 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
สศจว๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36
สศจว๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48

อาจารย์ประจำหลักสูตร