เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   19   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาโรคติดเชื้อและวิทยาการระบาด 

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน คณะสาธารณสุขศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.ph.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(สาธารณสุขศาสตร์)

จุดเด่นของหลักสูตร

๑. หลักสูตรฯ บูรณาการการสอนด้านโรคติดเชื้อ (จุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา) โรคไร้เชื้อ วิทยาการระบาด การสาธารณสุขและสุขภาพ เชื่อมโยงกับวิทยาการทันสมัยด้านชีวโมเลกุลและเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ เพื่อการวินิจฉัยและการควบคุมป้องกันโรค ๒. นักศึกษาเลือกเรียนและทำวิทยานิพนธ์ได้ใน 3 กลุ่มวิชา คือ - กลุ่มวิชากลุ่มวิชาจุลชีววิทยาโรคติดเชื้อ จุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อม สารสนเทศทางจุลชีววิทยา จุลชีววิทยา ระดับโมเลกุล วิทยาภูมิคุ้มกันของโรคติดเชื้อ และโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล - กลุ่มวิชาปรสิตสาธารณสุข ปรสิตวิทยาสิ่งแวดล้อม ปรสิตวิทยาระดับโมเลกุล พาหะนำโรค และ ชีวสารสนเทศปรสิต - กลุ่มวิชาวิทยาการระบาดของโรคติดเชื้อและโรคเรื้องรัง วิทยาการระบาดเชิงสังคม วิทยาการระบาด ระดับโมเลกุล วิทยาการระบาดเชิงพันธุศาสตร์ วิทยาการระบาดด้านพฤติกรรมศาสตร์ อาชีวอนามัยและ สิ่งแวดล้อมวิทยาการระบาดเชิงภูมิสารสนเทศ และแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ทางวิทยาการระบาด ๓. นักศึกษาสามารถทำวิทยานิพนธ์ได้ทั้งด้านโรคติดเชื้อ ปรสิต และพาหะนำโรค โรคติดเชื้อทางจุลชีววิทยา โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล ระบาดวิทยาของการเกิดโรคติดเชื้อและโรคไร้เชื้อ

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

๑. สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ชีววิทยา เทคนิคการแพทย์ 
จุลชีววิทยา เกษตรศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต
พยาบาลศาสตรบัณฑิต เภสัชศาสตรบัณฑิต สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต 
แพทยศาสตรบัณฑิต 
๒. ได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ 
๓. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
เข้าศึกษาได้ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก ๒
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาแกน 8            หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 13            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 39            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิชาการสาธารณสุขด้านโรคติดเชื้อ จุลชีววิทยา ปรสิตวิทยาและกีฏวิทยา ระบาดวิทยา
- นักวิจัยด้านโรคติดเชื้อ จุลชีววิทยา ปรสิตวิทยาและกีฏวิทยา ระบาดวิทยา
- นักวิชาการ และนักวิจัยในสถาบันวิชาการภาครัฐและเอกชน องค์กรระหว่างประเทศและองค์กรอิสระ
- ผู้ถ่ายทอดความรู้ในสถาบันอุดมศึกษาด้านโรคติดเชื้อ จุลชีววิทยา ปรสิตวิทยาและกีฏวิทยา และระบาดวิทยา
- งานอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
สศจว๕๐๐ : จุลชีววิทยาและวิทยาภูมิคุ้มกันสาธารณสุข ๑ 2
สศปว๕๐๓ : ปรสิตวิทยาขั้นหลักมูล 2
สศอช๕๐๒ : การสาธารณสุขใหม่ 3
หมวดวิชาแกน หน่วยกิต
สศชส๖๐๒ : ชีวสถิติ ข 3
สศรบ๖๐๒ : หลักวิทยาการระบาด 3
   และเลือก ๑ รายวิชา จากรายวิชาต่อไปนี้
สศคร๖๖๓ : พื้นฐานอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย 2
สศบส๖๗๒ : การบริหารงานสาธารณสุขทั่วไป 2
สศสษ๖๒๐ : สุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ 2
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
สศคร๖๑๑ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยในงานด้านโรคติดเชื้อและวิทยาการระบาด 2
สศคร๖๑๘ : การจัดการควบคุมโรคติดเชื้อ 2
สศจว๖๑๑ : จุลชีววิทยาและวิทยาภูมิคุ้มกันสาธารณสุข ๒ 3
สศปว๖๒๗ : ปรสิตวิทยาสาธารณสุขขั้นสูง 3
สศรบ๖๐๔ : วิธีการทางสถิติในงานวิทยาการระบาด ๑ 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
   รายวิชาเลือก กลุ่มวิชาจุลชีววิทยา
สศจว๖๐๑ : จุลชีววิทยาขั้นหลักมูล 3
สศจว๖๐๒ : นิเวศวิทยาและวิทยาการระบาดของโรคติดเชื้อ 3
สศจว๖๐๔ : วิทยาภูมิคุ้มกันขั้นหลักมูล 3
สศจว๖๑๐ : จุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อมประยุกต์ 2
สศจว๖๑๒ : วิธีการทางห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาสาธารณสุขและวิทยาภูมิคุ้มกัน 3
สศจว๖๑๓ : สัมมนาโรคติดเชื้อ 2
สศจว๖๑๔ : การควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ 2
สศจว๖๑๗ : วิธีการทางห้องปฏิบัติการวิทยาภูมิคุ้มกันทางสาธารณสุข 2
สศจว๖๑๘ : สุขภาพและการเดินทาง 2
สศจว๖๒๐ : การตรวจวินิจฉัยทางจุลชีววิทยาระดับโมเลกุล 2
สศจว๖๒๑ : การป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อระดับโลก 2
สศจว๖๒๒ : สัมมนาโรครับจากสัตว์ 2
สศจว๖๒๓ : การประยุกต์เทคโนโลยีวัคซีนทางสาธารณสุข 2
สศจว๖๒๕ : วิธีการระดับโมเลกุลด้านโรคติดเชื้อ 2
สศจว๖๒๗ : วิทยาภูมิคุ้มกันของโรคติดเชื้อ 2
สศจว๖๓๒ : การประเมินความเสี่ยงทางจุลชีววิทยา 2
สศจว๖๙๕ : การศึกษาพิเศษ 2
   รายวิชาเลือก กลุ่มวิชาปรสิตวิทยาและกีฎวิทยา
สศปว๖๐๐ : ชีววิทยาระดับโมเลกุลของโรคปรสิต 3
สศปว๖๐๑ : การควบคุมโรคปรสิตระดับโมเลกุล 3
สศปว๖๐๓ : ปรสิตวิทยาสิ่งแวดล้อม 3
สศปว๖๐๙ : กีฎวิทยาทางการแพทย์ 3
สศปว๖๑๑ : เทคนิคขั้นสูงทางปรสิตวิทยา 2
สศปว๖๑๒ : โรคปรสิตทางด้านสาธารณสุข 3
สศปว๖๑๓ : การวินิจฉัยทางปรสิตวิทยา 3
สศปว๖๑๔ : ชีวสารสนเทศศาสตร์พื้นฐาน 3
สศปว๖๒๑ : การควบคุมพาหะ 3
สศปว๖๘๔ : โครงการพิเศษทางปรสิตวิทยา 3
สศปว๖๙๒ : วัคซีนวิทยาสาธารณสุข 2
สศปว๖๙๕ : สัมมนาปรสิตวิทยา 2
   รายวิชาเลือก กลุ่มวิชาวิทยาการระบาด
สศคร๖๘๖ : วิทยาการระบาดสิ่งแวดล้อมและระดับโมเลกุลทางสาธารณสุข 3
สศรบ๖๐๓ : การศึกษาทางวิทยาการระบาดของโรคติดเชื้อ 3
สศรบ๖๑๖ : วิทยาการระบาดของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและการบาดเจ็บ 3
สศรบ๖๒๑ : สัมมนาทางวิทยาการระบาด ๑ 2
สศรบ๖๖๖ : การฝึกปฏิบัติภาคสนามทางการควบคุมโรคประจำถิ่น 2
สศรบ๖๖๘ : คอมพิวเตอร์และการจัดการระบบสารสนเทศทางการศึกษาวิทยาการระบาด 3
สศรบ๖๙๗ : การศึกษาพิเศษทางวิทยาการระบาด 2
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   วิทยานิพนธ์ กลุ่มวิชาจุลชีววิทยา
สศจว๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12
   วิทยานิพนธ์ กลุ่มปรสิตวิทยาและกีฎวิทยา
สศปว๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12
   วิทยานิพนธ์ กลุ่มวิชาวิทยาการระบาด
สศรบ๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

อาจารย์ประจำหลักสูตร