เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   26   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเวชศาสตร์ปริวรรต (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
เว็บไซต์ http://www.ra.mahidol.ac.th/

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(เวชศาสตร์ปริวรรต)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
    (๑) สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้าย ในหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตร
บัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา วิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต
สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต  หรือสาขาอื่นๆ จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการ
อุดมศึกษารับรอง  โดยได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๒๕
    (๒) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต จากสถาบัน
การศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง หรือกำลังศึกษาอยู่ในโครงการผลิตอาจารย์
แพทย์หรือโครงการผลิตอาจารย์ทันตแพทย์   โดยได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐
    (๓) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น และสำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง   อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
เข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
    (๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาชีววิทยา วิทยาศาสตร์สุขภาพ 
ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
    (๒) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น และสำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง   อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
เข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

รวมไม่น้อยกว่า 56            หน่วยกิต
แบบ ๒
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี           
หมวดวิชาบังคับ 15            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 72            หน่วยกิต
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท           
หมวดวิชาบังคับ 15            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์
- บุคลากรทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ในสถานศึกษา ผู้เชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษาสาขา เวชศาสตร์ปริวรรต
- เจ้าของหรือบุคลากรบริษัทหรือองค์กรที่จำเป็นต้องใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ปริวรรต
- ผู้จัดการโครงการวิจัย ในบริษัทยาหรือเทคโนโลยีชีวภาพ

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
รมวป๕๐๑ : กลไกระดับโมเลกุลของโรคที่เกิดในมนุษย์ 2
รมวป๕๐๒ : เทคโนโลยีในงานวิจัยทางชีวการแพทย์ 2
รมวป๕๐๓ : ระบาดวิทยาคลินิกและชีวสถิติ 3
รมวป๕๐๔ : การสังเกตการณ์และการวิเคราะห์ปัญหาทางคลินิก 2
รมวป๕๐๕ : ทักษะการวิจัยและความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ 2
รมวป๕๐๖ : การวิเคราะห์วิจารณ์ผลงานวิจัยในสาขาชีวการแพทย์และเวชศาสตร์ปริวรรต 1
รมวป๕๐๗ : สัมมนาในสาขาชีวการแพทย์ และเวชศาสตร์ปริวรรต 1
วทคร๕๐๒ : วิทยาศาสตร์เรื่องเซลล์ 2
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
วทคร๕๐๐ : ชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล 3
วทคร๕๐๓ : วิทยาศาสตร์ชีวภาพเชิงระบบ 3
วทคร๕๐๖ : หลักการทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพระดับโมเลกุล 2
วทคร๕๐๗ : เทคนิคการใช้กล้องจุลทรรศน์ 1
วทคร๕๐๘ : เทคนิคด้านชีวโมเลกุลและด้านสเปกโทรสโกปี 1
วทคร๕๐๙ : เทคนิคการแยกสาร 1
วทคร๕๑๐ : ระเบียบวิธีวิทยาภูมิคุ้มกัน 1
วทคร๕๑๑ : เทคโนโลยีด้านยีน 1
วทคร๕๑๒ : การสอบปริมาณการจับตัวรับและเอนไซม์เชิงจลน 1
วทคร๕๑๓ : เทคนิคการเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์ 1
วทคร๕๑๔ : การใช้สัตว์ทดลองในงานวิจัยทางชีวการแพทย์ 1
วทคร๕๑๖ : ชีวสถิติ 3
วทคร๕๑๘ : ทักษะทั่วไปในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ 1
วทจว๖๐๒ : วิทยาภูมิคุ้มกันขั้นสูง 3
วทจว๖๐๓ : ปรสิตวิทยาขั้นสูง 3
วทจว๖๐๔ : วิทยาไวรัสขั้นสูง 3
วทพย๖๐๑ : พยาธิวิทยาระดับเซลล์ ๑ 2
วทพษ๖๐๔ : พิษวิทยาระดับโมเลกุลและระดับพันธุกรรม 2
วทภส๕๐๘ : หัวข้อเรื่องพิเศษทางเภสัชวิทยา 2
วทภส๖๑๑ : เภสัชวิทยาขั้นสูง 3
วทสร๖๑๒ : หัวข้อปัจจุบันทางสรีรวิทยา 3
วทสร๖๓๑ : สรีรวิทยาเชิงระบบ 4
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี
รมวป๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท
รมวป๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36

อาจารย์ประจำหลักสูตร