เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   26   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
เว็บไซต์

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

แบบ ๒  ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
(๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรอง
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ จาก ๔.๐๐ หรือเทียบเท่า
(๓) มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
(๔) กรณีผู้สมัครชาวต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานความรู้ภาษาไทยขั้นต่ำสำหรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
(๕) มีประสบการณ์การทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาศัลยศาสตร์ ออร์โธปิดิกส์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย ๑ ปี โดยเป็นผู้ดำเนินการหลัก  
(๖) ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดในข้อ (๒) ถึงข้อ (๕) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

แบบ ๒.๒ ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
(๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรอง
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ จาก ๔.๐๐ หรือในระดับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
(๓) มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
(๔) กรณีผู้สมัครชาวต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานความรู้ ภาษาไทยขั้นต่ำสำหรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
(๕) มีประสบการณ์การทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย ๑ ปี โดยเป็นผู้ดำเนินการหลัก  
(๖) ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดในข้อ (๒) ถึงข้อ (๕) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัคร
เข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
หมวดวิชาบังคับ 9            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
แบบ ๒.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดวิชาบังคับ 15            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 72            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ ในโรงเรียนแพทย์ สถาบันการแพทย์ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
- นักวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ ในโรงเรียนแพทย์ สถาบันการแพทย์ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
- ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ถ่ายทอดความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ ในโรงเรียนแพทย์ สถาบันการศึกษา ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
ศรคร๕๐๓ : ระเบียบวิธีวิจัยทางชีวการแพทย์ 2
ศรอธ๗๐๑ : ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ทางคลินิก 3
ศรอธ๗๐๒ : ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ขั้นสูง 3
ศรอธ๗๐๓ : สัมมนาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ 1
ศรอธ๗๐๔ : ศัลยศาสตร์การบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์ 3
ศรอธ๗๐๕ : ออร์โธปิดิกส์ผู้สูงวัยและโรคกระดูกเมตาบอลิก 3
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
ศรคร๕๐๓ : ระเบียบวิธีวิจัยทางชีวการแพทย์ 2
ศรอธ๗๐๑ : ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ทางคลินิก 3
ศรอธ๗๐๒ : ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ขั้นสูง 3
ศรอธ๗๐๓ : สัมมนาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ 1
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
รมรค๖๑๑ : วิทยาการระบาดคลินิกและเวชปฏิบัติอิงหลักฐาน 3
รมรค๖๒๒ : รูปแบบการศึกษาและการวัดทางวิทยาการระบาดคลินิก 3
วกกฬ๖๒๑ : ชีวกลศาสตร์ขั้นสูงสำหรับการกีฬาและการออกกำลังกาย 2
วกกฬ๖๒๒ : สรีรวิทยาขั้นสูงสำหรับการฝึกกีฬาและการออกกำลังกาย 2
วกกฬ๖๒๓ : เวชศาสตร์การกีฬาขั้นสูง 2
วทคร๕๑๑ : เทคโนโลยีด้านยีน 1
วศชพ๖๐๕ : การสร้างภาพทางการแพทย์ 3
วศชพ๖๐๖ : วิศวกรรมชีวการแพทย์ 2
วศชพ๖๖๐ : ศัลยศาสตร์บูรณาการคอมพิวเตอร์ขั้นสูง 3
ศรกว๖๑๓ : ชีวกลศาสตร์ 1
ศรกอ๕๐๗ : สรีรวิทยาของการออกกำลังกาย 3
ศรกอ๕๔๔ : ชีวกลศาสตร์และการวัดผลขั้นสูง 3
ศรคร๕๐๑ : ชีวเวชศาสตร์พื้นฐานระดับโมเลกุลและเซลล์ 3
ศรชช๕๐๕ : เทคนิคห้องปฏิบัติการ 2
ศรวภ๖๑๕ : ชีวเคมีระดับโมเลกุลของมะเร็ง 2
ศรวภ๖๑๖ : วิทยาศาสตร์เซลล์ต้นกำเนิด 3
ศรวภ๖๑๘ : เทคนิคทางชีววิทยาระดับโมเลกุล 3
ศรอธ๗๐๖ : ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์บูรณสภาพในผู้ใหญ่ 2
ศรอธ๗๐๗ : ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์เท้าและข้อเท้า 2
ศรอธ๗๐๘ : ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ในเด็ก 2
ศรอธ๗๐๙ : เนื้องอกทางออร์โธปิดิกส์ 2
ศรอธ๗๑๐ : เวชศาสตร์การกีฬา 2
ศรอธ๗๑๑ : ศัลยศาสตร์ทางมือและจุลศัลยศาสตร์ 2
ศรอธ๗๑๒ : การผ่าตัดทางกระดูกสันหลัง 2
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
ศรอธ๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
ศรอธ๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36

อาจารย์ประจำหลักสูตร

  1. รองศาสตราจารย์ โพชฌงค์ โชติญาณวงษ์   (ประธานหลักสูตร)
  2. รองศาสตราจารย์ ปัญญา ลักษณะพฤกษา
  3. รองศาสตราจารย์ พิสิฏฐ์ เลิศวานิช
  4. รองศาสตราจารย์ พีระจิตร เอี่ยมโสภณา
  5. รองศาสตราจารย์ ระพีพัฒน์ นาคบุญนำ
  6. รองศาสตราจารย์ รุ่งศักดิ์ ลิ่มทองแท่ง
  7. รองศาสตราจารย์ วิศิษฎ์ วามวาณิชย์
  8. รองศาสตราจารย์ วีระศักดิ์ สุทธิพรพลางกูร
  9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ยุวรัตน์ มณฑีรรัตน์
  10. ศาสตราจารย์ กีรติ เจริญชลวานิช
  11. ศาสตราจารย์คลินิก ชลเวช ชวศิริ
  12. ศาสตราจารย์ อภิชาติ อัศวมงคลกุล
  13. ศาสตราจารย์คลินิก อารีศักดิ์ โชติวิจิตร
  14. ศาสตราจารย์ อาศิส อุนนะนันทน์
  15. รองศาสตราจารย์ ก้องเขต เหรียญสุวรรณ
  16. รองศาสตราจารย์ จตุพร โชติกวณิชย์
  17. รองศาสตราจารย์ จตุรงค์ พรรัตนมณีวงศ์
  18. รองศาสตราจารย์ ดิเรก ตันติเกตุ
  19. รองศาสตราจารย์ ทศ หาญรุ่งโรจน์
  20. รองศาสตราจารย์ บวรฤทธิ์ จักรไพวงศ์