เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันอังคารที่   19   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์การแพทย์(หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
เว็บไซต์ http://www.si.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(กายวิภาคศาสตร์การแพทย์)

จุดเด่นของหลักสูตร

๑. ภาควิชากายวิภาคศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมีชื่อเสียงและประสบการณ์ด้านการเรียน การสอนกายวิภาคศาสตร์มาช้านาน บุคคลากรมีความรู้ความสามารถด้านกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ ๒. ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการผลิตศพในรูปแบบต่างๆเช่นดองด้วยฟอรมาลิน ศพนุ่มและศพแช่แข็ง ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญสำหรับการวิจัยกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชีวกลศาสตร์ ๓. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมีหน่วยสนับสนุนการวิจัย และหน่วยเครื่องมือวิจัยกลางที่มีห้องปฏิบัติ การพร้อมอุปกรณ์ที่ทันสมัยรองรับการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกายวิภาคศาสตร์การแพทย์

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

แบบ ๒.๑ สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาปริญญาโทแล้วเข้าศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาเอก
(๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ เช่น วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์
การแพทย์ กายภาพบำบัด วิทยาศาสตร์การกีฬา พยาบาลศาสตร์ เป็นต้น จากสถาบันอุดมศึกษาที่
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง  ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
(๒) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
เข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

แบบ ๒.๒ สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีแล้วเข้าศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาเอก
(๑) สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาในปีสุดท้ายของระดับปริญญาตรี สาขาวิชาแพทยศาสตร์ 
ทันตแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์ กายภาพบำบัด หรือสาขาวิชาอื่นที่
เกี่ยวข้องจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง  ได้แต้มระดับคะแนน
เฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
(๒) มีความรู้ความสามารถทางวิทยาศาสตร์และในการทำวิจัยด้านกายวิภาคศาสตร์
(๓) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
เข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
หมวดวิชาบังคับ 6            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดวิชาบังคับ 22            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 2            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 72            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- ผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการด้านกายวิภาคศาสตร์และกายวิภาคศาสตร์การแพทย์ในระดับอุดมศึกษา
- นักวิจัยด้านกายวิภาคศาสตร์ประยุกต์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ และวิทยาศาสตร์สุขภาพ
- บุคลากรสถาบันอุดมศึกษา

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี
ศรกว๖๐๓ : ชีววิทยาพิพัฒน์ 1
ศรกว๖๐๔ : ประสาทวิทยาศาสตร์ 2
ศรกว๖๐๕ : เซลล์และเนื้อเยื่อ 3
ศรกว๖๐๖ : กายวิภาคศาสตร์มนุษย์ ๑ 4
ศรกว๖๐๗ : กายวิภาคศาสตร์มนุษย์ ๒ 4
ศรกว๖๐๘ : สัมมนาทางกายวิภาคศาสตร์การแพทย์ ๑ 1
ศรกว๖๐๙ : สัมมนาทางกายวิภาคศาสตร์การแพทย์ ๒ 1
ศรกว๖๑๐ : ทักษะวิชาชีพและการสอนทางกายวิภาคศาสตร์ 1
ศรกว๖๑๔ : กายวิภาคศาสตร์คลินิค 2
ศรคร๕๐๑ : ชีวเวชศาสตร์พื้นฐานระดับโมเลกุลและเซลล์ 3
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท
ศรกว๖๐๘ : สัมมนาทางกายวิภาคศาสตร์การแพทย์ ๑ 1
ศรกว๖๐๙ : สัมมนาทางกายวิภาคศาสตร์การแพทย์ ๒ 1
ศรกว๖๑๐ : ทักษะวิชาชีพและการสอนทางกายวิภาคศาสตร์ 1
ศรกว๖๑๔ : กายวิภาคศาสตร์คลินิค 2
ศรกว๖๑๗ : หัวข้อทันยุคทางกายวิภาคศาสตร์ 1
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
ศรกว๖๑๑ : พันธุศาสตร์มนุษย์ขั้นสูง 2
ศรกว๖๑๒ : เทคนิคห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2
ศรกว๖๑๓ : ชีวกลศาสตร์ 2
ศรกว๖๑๕ : ประสาทกายวิภาคศาสตร์และประสาทพยาธิวิทยาขั้นสูง 2
ศรกว๖๑๖ : จุลพยาธิวิทยา 2
ศรสว๕๐๑ : สถิติ 3
ศรสว๕๐๒ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัย 2
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี
ศรกว๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท
ศรกว๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36

อาจารย์ประจำหลักสูตร