เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   26   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยาการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
เว็บไซต์ http://www.si.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(จุลชีววิทยาการแพทย์)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแบบ ๑
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
๑. เป็นนักศึกษาไทยหรือต่างประเทศที่สามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษได้ เป็นอย่างดี ได้แต้มระดับ
คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า ๓.๒๕ จาก ๔ หรือเทียบเท่า
๒. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีโดยได้รับปริญญาสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต  ทันตแพทย
ศาสตรบัณฑิต แพทยศาสตรบัณฑิต เภสัชศาสตรบัณฑิต วิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาต่างๆ จากสถาบัน
อุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรองหรือในสาขาวิชาที่คณะกรรมการบริหารหลัก
สูตร เห็นสมควร และกำลังอยู่ระหว่างการฝึกอบรม หรือผ่านการอบรมจากหลักสูตร Field Epidemiology
Training Program (FETP) ของสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข หรือเทียบเท่า หรือกำลังอยู่ใน
ระหว่างการฝึกอบรมเพื่อวุฒิบัตร สาขาโรคติดเชื้อและต้องการศึกษาในหลักสูตร ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต
สาขาวิชาจุลชีววิทยาการแพทย์ควบคู่กัน ทั้งนี้โดยความเห็นชอบของประธานหลักสูตรทั้งสองฝ่าย
๓. ผู้สมัครเข้าศึกษาที่มีประสบการณ์ด้านจุลชีววิทยาซึ่งอยู่ในเกณฑ์นอกเหนือ จากที่กล่าวนี้อาจได้รับ
การพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดี
บัณฑิตวิทยาลัย
 
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
๑. เป็นนักศึกษาไทยหรือต่างประเทศที่สามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษได้ เป็นอย่างดี ได้แต้มระดับ
คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า ๓.๒๕ จาก ๔ หรือเทียบเท่า
๒. เป็นแพทย์ผู้จบวุฒิบัตรหรืออนุมัติบัตร สาขาวิชาพยาธิวิทยาคลินิก หรือ  วุฒิบัตรสาขาโรคติดเชื้อ หรือ
๓. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาที่เกี่ยวข้องกับจุลชีววิทยา  จากสถาบันที่มหาวิทยาลัย
รับรอง หรือสาขาที่ประธานหลักสูตรเห็นสมควร และ/หรือมีประสบการณ์ การทำงานด้านจุลชีววิทยา
อย่างน้อย ๕ ปี และเป็นชื่อแรกหรือผู้รับผิดชอบผลงานที่ตีพิมพ์ (correspondence author) ในวารสาร
ทางวิชาการระดับนานาชาติที่มีผู้ประเมินอย่างน้อย ๑ เรื่องซึ่งมิใช่วิทยานิพนธ์
๔. ผู้สมัครเข้าศึกษาที่มีประสบการณ์ด้านจุลชีววิทยาซึ่งอยู่ในเกณฑ์นอกเหนือ จากที่กล่าวนี้อาจได้รับ
การพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดี
บัณฑิตวิทยาลัย

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแบบ ๒
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
๑. เป็นนักศึกษาไทยหรือต่างประเทศที่สามารถสื่อสารด้วยภาษา อังกฤษได้เป็นอย่างดี ได้แต้มระดับ
คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ จาก ๔ หรือเทียบเท่า ผู้ที่ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำ
กว่า ๓.๕๐  ต้องอยู่ในดุลยพินิจของประธานหลักสูตร
๒. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี โดยได้รับปริญญา  วิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาต่างๆ ได้แก่
สาขาจุลชีววิทยา ชีววิทยา ชีวเคมี พฤกษศาสตร์ พันธุศาสตร์ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคนิคการแพทย์
เภสัชศาสตรบัณฑิต ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต แพทยศาสตรบัณฑิต จาก
สถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง  หรือในสาขาวิชาที่คณะกรรมการ
บริหารหลักสูตรเห็นสมควร หรือ
๓. เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้ายในระดับปริญญาตรี ที่กำลังจะจบการศึกษาในข้อ ๒
และมีหนังสือรับรองจากสถาบันศึกษา
๔. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้า
ศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
๑. เป็นนักศึกษาไทยหรือต่างประเทศที่สามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ได้เป็นอย่างดี ได้แต้มระดับ
คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ จาก ๔ หรือเทียบเท่า ผู้ที่ได้แต้มระดับคะแนน
เฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรต่ำกว่า ๓.๕๐ ต้องอยู่ในดุลยพินิจของประธานหลักสูตร
๒. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท โดยได้รับปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาจุล
ชีววิทยา จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง หรือได้รับปริญญา
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต หรือเทียบเท่าในสาขาวิชาอื่นที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรเห็นสมควร หรือ
๓. เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้ายในระดับปริญญาโท ที่จะจบการศึกษาในข้อ ๒ และมี
หนังสือรับรองจากสถาบันศึกษา
๔. สำหรับผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาโท และมีความประสงค์จะ เปลี่ยนสภาพเป็นนักศึกษา
ปริญญาเอก ต้องได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า ๓.๕๐ ในรายวิชาที่ผ่าน มาและต้องอยู่ในดุลยพินิจ
ของประธานหลักสูตร
๕. ผู้สมัครเข้าศึกษาซึ่งอยู่ในเกณฑ์นอกเหนือจากที่กล่าวนี้ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับ
การคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๑
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
วิทยานิพนธ์ 72            หน่วยกิต
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
แบบ ๒
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดวิชาบังคับ 17            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 7            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 72            หน่วยกิต
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
หมวดวิชาบังคับ 6            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย นักวิชาการ หัวหน้าโครงการวิจัยที่ต้องใช้ความรู้ทางด้านจุลชีววิทยาการแพทย์ ในการปฏิบัติงาน
- ผู้จัดการ หรือหัวหน้าห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับเชื้อก่อโรค
- ผู้เชี่ยวชาญด้านจุลชีววิทยาการแพทย์
- อาชีพอื่นๆที่ต้องใช้ความรู้ทางจุลชีววิทยา เช่น นักวิเคราะห์โครงงานวิจัย ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์ทางการ แพทย์ เป็นต้น

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 1

วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
ศรจว๘๙๘ : วิทยานิพนธ์ 48
ศรจว๘๙๙ : วิทยานิพนธ์ 72

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาตรี
ศรจว๕๑๒ : วิทยาแบคทีเรียและราทางการแพทย์ 3
ศรจว๕๑๓ : วิทยาไวรัสทางการแพทย์ 2
ศรจว๖๑๓ : วิทยาไวรัสทางการแพทย์ขั้นสูง 3
ศรจว๖๑๖ : จุลชีววิทยาวินิจฉัย 3
ศรจว๖๑๗ : วิทยาแบคทีเรียและราทางการแพทย์ขั้นสูง 3
ศรจว๖๘๘ : ห้วข้อปัจจุบันทางจุลชีววิทยาการแพทย์ 3
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท
ศรจว๖๑๓ : วิทยาไวรัสทางการแพทย์ขั้นสูง 3
ศรจว๖๑๗ : วิทยาแบคทีเรียและราทางการแพทย์ขั้นสูง 3
ศรจว๖๘๘ : ห้วข้อปัจจุบันทางจุลชีววิทยาการแพทย์ 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาตรี
วทคร๕๐๐ : ชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล 3
ศรจว๕๑๔ : เอช ไอ วี/เอดส์ : วิทยาไวรัสระดับโมเลกุล วิทยาภูมิคุ้มกัน และชีววิทยาระดับเซลล์ 3
ศรจว๖๑๑ : เทคนิคระดับโมเลกุลด้านจุลชีววิทยาการแพทย์ 3
ศรจว๖๑๕ : จุลชีววิทยาวินิจฉัยขั้นหลักมูล 1
ศรจว๖๑๘ : เทคนิคระดับโมเลกุลขั้นสูงทางจุลชีววิทยาการแพทย์ 3
ศรจว๖๑๙ : วิทยาศาสตร์วัคซีน 2
ศรวภ๕๐๑ : วิทยาภูมิคุ้มกัน 2
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท
วทคร๕๐๐ : ชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล 3
ศรจว๕๑๔ : เอช ไอ วี/เอดส์ : วิทยาไวรัสระดับโมเลกุล วิทยาภูมิคุ้มกัน และชีววิทยาระดับเซลล์ 3
ศรจว๖๑๑ : เทคนิคระดับโมเลกุลด้านจุลชีววิทยาการแพทย์ 3
ศรจว๖๑๓ : วิทยาไวรัสทางการแพทย์ขั้นสูง 3
ศรจว๖๑๕ : จุลชีววิทยาวินิจฉัยขั้นหลักมูล 1
ศรจว๖๑๗ : วิทยาแบคทีเรียและราทางการแพทย์ขั้นสูง 3
ศรจว๖๑๘ : เทคนิคระดับโมเลกุลขั้นสูงทางจุลชีววิทยาการแพทย์ 3
ศรจว๖๑๙ : วิทยาศาสตร์วัคซีน 2
ศรวภ๕๐๑ : วิทยาภูมิคุ้มกัน 2
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาตรี
ศรจว๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท
ศรจว๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36

อาจารย์ประจำหลักสูตร