เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันอังคารที่   19   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชวิทยา (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
เว็บไซต์ http://www.si.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(เภสัชวิทยา)

วิชาเอก

  • วิชาเอกเภสัชวิทยาทางการแพทย์
  • วิชาเอกเภสัชวิทยาเชิงระบบ
  • คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

    แบบ ๑  ทำวิทยานิพนธ์
    ๑.  สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เภสัชวิทยา พฤกษศาสตร์ ชีววิทยา ชีวเคมี เคมี
     เทคนิคการแพทย์ พันธุวิศวกรรม วิศวกรรมชีวภาพ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์) ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต
     แพทยศาสตรบัณฑิต เภสัชศาสตรบัณฑิต สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต จากสถาบันการศึกษาทั้งใน
    ประเทศและต่างประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้การรับรอง โดยได้แต้มระดับ
    คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ หรือ
    ๒. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เภสัชวิทยา พฤกษศาสตร์ ชีววิทยา ชีวเคมี เคมี
     เทคนิคการแพทย์ พันธุวิศวกรรม วิศวกรรมชีวภาพ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์) เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต 
    จากสถาบันการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้การ
    รับรอง โดยได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ หรือ
    ๓. มีผลสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
    ๔. มีประสบการณ์การทำวิจัยในฐานะเป็นผู้วิจัยหลัก(Principle investigator) หรือผู้วิจัยร่วม
    (Co-investigator) มาแล้วเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๒ ปี โดยแสดงหลักฐานบทคความวิจัย
    (Research articles) ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ที่มีระบบประเมินบทความ
    โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก(international peer-reviewed journal) หรือสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการอื่นๆ 
    ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่หรือได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์เผยแพร่ระดับนานาชาติ จำนวนไม่น้อยกว่า
    ๑ เรื่อง ภายในระยะเวลา ๕ ปี ทั้งนี้ต้องไม่เป็นบทความวิจัยที่ใช้ในการขอสำเร็จการศึกษา เพื่อรับ
    ปริญญาระดับใดระดับหนึ่งจากสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ
    ๕. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการ
    คัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
    
    
    แบบ ๒  ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์
    ๑. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เภสัชวิทยา พฤกษศาสตร์ ชีววิทยา ชีวเคมี เคมี
    เทคนิคการแพทย์ พันธุวิศวกรรม วิศวกรรมชีวภาพ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์) ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต
    แพทยศาสตรบัณฑิต เภสัชศาสตรบัณฑิต สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต จากสถาบันการศึกษาทั้งใน
    ประเทศและต่างประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้การรับรอง โดยได้แต้มระดับ
    คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ หรือ
    ๒. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เภสัชวิทยา พฤกษศาสตร์ ชีววิทยา ชีวเคมี เคมี
    เทคนิคการแพทย์ พันธุวิศวกรรม วิศวกรรมชีวภาพ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์) เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต 
    จากสถาบันการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
    ให้การรับรอง โดยได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ หรือ
    ๓. มีความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
    ๔. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการ
    คัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

    โครงสร้างหลักสูตร

    แบบ ๑
    สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท           
    วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
    รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
    สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี           
    วิทยานิพนธ์ 72            หน่วยกิต
    รวมไม่น้อยกว่า 72            หน่วยกิต
    แบบ ๒
    สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท           
    หมวดวิชาบังคับ 6            หน่วยกิต
    หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
    วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
    รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
    สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี           
    หมวดวิชาแกน 3            หน่วยกิต
    หมวดวิชาบังคับ 14            หน่วยกิต
    หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 7            หน่วยกิต
    วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
    รวมไม่น้อยกว่า 72            หน่วยกิต

    อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


    - นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยที่มีศักยภาพสูงทางด้านเภสัชวิทยา
    - นักวิชาการที่สามารถถ่ายทอดความรู้พร้อมสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านเภสัชวิทยาทางการแพทย์ และเภสัชวิทยาเชิงระบบได้
    - งานอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น นักวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกที่อาศัยการคำนวณด้วยเทคนิค เชิงระบบ ขั้นสูงและนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist)

    รายวิชาในหลักสูตร

    แบบ 1

    วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
       แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท
    ศรภส๘๙๘ : วิทยานิพนธ์ 48
       แบบ ๒.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี
    ศรภส๘๙๙ : วิทยานิพนธ์ 72

    แบบ 2

    หมวดวิชาแกน หน่วยกิต
       สำหรับผู้สำเร็จปริญญาตรี
    ศรคร๕๐๑ : ชีวเวชศาสตร์พื้นฐานระดับโมเลกุลและเซลล์ 3
    หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
       แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท
       วิชาเอกเภสัชวิทยาทางการแพทย์
    ศรภส๖๐๓ : การพัฒนายาใหม่ ๑ 3
    ศรภส๖๐๔ : การพัฒนายาใหม่ ๒ 3
       วิชาเอกเภสัชวิทยาเชิงระบบ
    ศรภส๖๐๓ : การพัฒนายาใหม่ ๑ 3
    ศรภส๖๐๔ : การพัฒนายาใหม่ ๒ 3
       แบบ ๒.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี
       วิชาเอกเภสัชวิทยาทางการแพทย์
    ศรภส๕๐๒ : สัมมนาเภสัชวิทยา 2
    ศรภส๕๐๖ : เภสัชวิทยาการแพทย์ ๑ 3
    ศรภส๕๐๗ : เภสัชวิทยาการแพทย์ ๒ 3
    ศรภส๖๐๓ : การพัฒนายาใหม่ ๑ 3
    ศรภส๖๐๔ : การพัฒนายาใหม่ ๒ 3
       วิชาเอกเภสัชวิทยาเชิงระบบ
    ศรภส๕๐๒ : สัมมนาเภสัชวิทยา 2
    ศรภส๕๐๘ : หลักการทางเภสัชวิทยาเชิงระบบ 3
    ศรภส๕๐๙ : เทคนิคการคำนวณทางเภสัชวิทยาเชิงระบบ 3
    ศรภส๖๐๓ : การพัฒนายาใหม่ ๑ 3
    ศรภส๖๐๔ : การพัฒนายาใหม่ ๒ 3
    หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
    ทสคพ๕๐๓ : การออกแบบและวิเคราะห์ขั้นตอนวิธี 3
    ทสคพ๖๒๘ : เหมืองข้อมูลและการค้นพบความรู้ 3
    ทสคพ๖๕๔ : การคำนวณแบบขนาน 3
    วศชพ๕๑๘ : คณิตศาสตร์วิศวกรรมเพื่อการวิจัย 3
    วศชพ๕๕๑ : วิธีคำนวณสำหรับวิศวกรรมชีวการแพทย์ 3
    วศชพ๖๑๖ : วิธีการหาค่าเหมาะที่สุด 3
    วศชพ๖๒๓ : การรู้จำรูปแบบ 3
    วศชพ๖๓๑ : การนำส่งยาขั้นสูง 3
    ศรจว๖๑๑ : เทคนิคระดับโมเลกุลด้านจุลชีววิทยาการแพทย์ 3
    ศรชค๖๐๔ : สถิติสำหรับพันธุศาสตร์ 1
    ศรภส๕๑๐ : การวิจัยขั้นสูงเกี่ยวกับมะเร็ง 3
    ศรวภ๖๑๘ : เทคนิคทางชีววิทยาระดับโมเลกุล 3
    วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
       แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท
    ศรภส๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36
       แบบ ๒.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี
    ศรภส๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48

    อาจารย์ประจำหลักสูตร