เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   29   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ 

ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
เว็บไซต์ http://www.si.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(กายวิภาคศาสตร์)

จุดเด่นของหลักสูตร

หลักสูตรนี้จะทำให้ผู้ศึกษาได้มีความรู้ทางกายวิภาคศาสตร์ ทั้งด้านประสาทกายวิภาคศาสตร์ และทางด้าน กายวิภาคศาสตร์อย่างสูงและละเอียดขึ้น ประกอบการวิจัยทางด้านบูรณาการกายวิภาคศาสตร์ด้วยศีลธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

๑. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้ายในหลักสูตร
ปริญญาตรี  สาขาวิชาสัตวแพทย์ ทันตแพทย์ แพทย์ พยาบาล กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด รังสีเทคนิค
เทคนิคการแพทย์ สัตววิทยา แพทย์แผนไทย ชีววิทยา และสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องทางวิทยาศาสตร
บัณฑิต จากสถาบันในประเทศหรือต่างประเทศซึ่งกระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ  
๒. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
๓. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น  อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้า
ศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก ๒
หมวดวิชาบังคับ 22            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 2            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- ผู้ปฏิบัติงานและถ่ายทอดความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรืออาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ทำหน้าที่สอนวิชาทางด้านกายวิภาคศาสตร์
- นักวิจัยทางด้านกายวิภาคศาสตร์

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
ศรกว๕๐๓ : วิทยาเอมบริโอ 1
ศรกว๕๐๔ : ประสาทกายวิภาคศาสตร์ 3
ศรกว๕๐๙ : สัมมนาทางกายวิภาคศาสตร์ 1
ศรกว๕๑๐ : จุลกายวิภาคศาสตร์ 3
ศรกว๖๐๑ : มหกายวิภาคศาสตร์ ๑ 6
ศรกว๖๐๒ : มหกายวิภาคศาสตร์ ๒ 6
ศรสว๕๐๒ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัย 2
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
วทคร๕๐๐ : ชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล 3
ศรกว๕๐๖ : พันธุศาสตร์มนุษย์ 2
ศรกว๕๐๗ : ไมโครเทคนิค 2
ศรสว๕๐๑ : สถิติ 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
ศรกว๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

อาจารย์ประจำหลักสูตร