เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   19   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุลทางการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
เว็บไซต์ http://www.si.mahidol.ac.th

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(ชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุลทางการแพทย์)

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาสำหรับผู้จบปริญญาตรี 
๑. เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษา หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้าย ในระดับปริญญาตรีหลัก
สูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (ทุกสาขาวิชา)  ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต  แพทยศาสตรบัณฑิต  เภสัชศาสตร
บัณฑิต  สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต 
๒. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า ๓.๕ หลังสำเร็จการศึกษา หรือขณะที่กำลังศึกษาอยู่ใน
ภาคการศึกษาสุดท้ายในระดับปริญญาตรี
๓. ผู้สมัครเข้าศึกษาที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวนี้ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับ
การคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาสำหรับผู้จบปริญญาโท
๑. เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษา หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้าย ในระดับปริญญาโทหลัก
สูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ทุกสาขาวิชา)  ทันตแพทยศาสตรมหาบัณฑิต  เภสัชศาสตร  มหาบัณฑิต
สัตวแพทยศาสตรมหาบัณฑิต รวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจากสถาบันการศึกษาในต่าง
ประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้การรับรอง 
๒. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า ๓.๕ 
๓. เป็นผู้ที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุลทางการแพทย์ และมีความ
ประสงค์จะเปลี่ยนสถานภาพเป็นนักศึกษาปริญญาเอก สามารถดำเนินการได้ โดยต้องได้แต้มระดับ
คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ ในระดับปริญญาโท และศึกษามาแล้วไม่ต่ำกว่า ๑ ปี
ทั้งนี้ต้องได้รับอนุมัติจากประธานหลักสูตรปริญญาโท ประธานหลักสูตรปริญญาเอกและคณบดีบัณฑิต
วิทยาลัย
๔. ผู้สมัครเข้าศึกษาที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวนี้ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับ
การคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๒
ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
หมวดวิชาบังคับ 16            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 8            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 72            หน่วยกิต
ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
หมวดวิชาบังคับ 2            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 10            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


- นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ ที่ต้องใช้วิชาความรู้ทางด้านชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุลทางการ แพทย์ ในการปฏิบัติงาน
- ผู้เชี่ยวชาญด้านชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุลทางการแพทย์
- ผู้จัดการหัวหน้าห้องปฏิบัติการชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุลทางการแพทย์
- อาชีพอื่นๆที่ต้องใช้ความรู้ทางชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุลทางการแพทย์ เช่น นักวิเคราะห์โครงงานวิจัย ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
วทคร๕๐๐ : ชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล 3
ศรชค๕๐๔ : ชีวเคมี 4
ศรชค๕๑๒ : ชีวเคมีภาคปฏิบัติ 3
ศรชค๕๘๕ : การวิเคราะห์งานวิจัยชีวเคมีทางการแพทย์และ ชีววิทยาโมเลกุลเชิงวิพากษ์ ๑ 1
ศรชค๖๐๖ : ชีวเคมีขั้นสูง 4
ศรชค๖๘๕ : การวิเคราะห์งานวิจัยชีวเคมีทางการแพทย์และ ชีววิทยาโมเลกุลเชิงวิพากษ์ ๒ 1
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
ศรชค๕๘๕ : การวิเคราะห์งานวิจัยชีวเคมีทางการแพทย์และ ชีววิทยาโมเลกุลเชิงวิพากษ์ ๑ 1
ศรชค๖๘๕ : การวิเคราะห์งานวิจัยชีวเคมีทางการแพทย์และ ชีววิทยาโมเลกุลเชิงวิพากษ์ ๒ 1
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
บฑคร๕๑๒ : วิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์คลินิกสัมพันธ์กัน 3
บฑคร๖๐๓ : ชีวสถิติ 3
ศรชค๕๐๕ : เทคนิคห้องปฏิบัติการ 2
ศรชค๖๐๓ : ชีวเคมีของโรค 2
ศรชค๖๐๔ : สถิติสำหรับพันธุศาสตร์ 1
ศรสว๕๐๑ : สถิติ 3
ศรสว๕๐๒ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัย 2
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
บฑคร๕๑๒ : วิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์คลินิกสัมพันธ์กัน 3
บฑคร๖๐๓ : ชีวสถิติ 3
ศรชค๕๐๕ : เทคนิคห้องปฏิบัติการ 2
ศรชค๖๐๓ : ชีวเคมีของโรค 2
ศรชค๖๐๔ : สถิติสำหรับพันธุศาสตร์ 1
ศรสว๕๐๑ : สถิติ 3
ศรสว๕๐๒ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัย 2
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
ศรชค๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36
ศรชค๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48

อาจารย์ประจำหลักสูตร