เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันพฤหัสบดีที่   28   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


 กำหนดการรับสมัคร:     รอบที่ 1 :     15 พฤศจิกายน 2561 - 31 มกราคม 2562

รหัสหลักสูตร 7402MS00

MASTER OF SCIENCE PROGRAM IN TOXICOLOGY AND NUTRITION FOR FOOD SAFETY

หลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย(ภาคพิเศษ)

วิชาเอก -
ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน สถาบันโภชนาการ
เว็บไซต์ http://www.inmu2.mahidol.ac.th/foodsafety/?p=138374
จำนวนที่คาดว่าจะได้รับตลอดปีการศึกษา จำนวน 30 คน

1. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร

ภาคพิเศษ แผน ก แบบ ก๒ (ทำวิทยานิพนธ์)

๑.ผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้ว หรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษาในระดับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตหรือ
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพที่ศึกษาต่อเนื่อง อย่างน้อย ๔ ปี ในสาขาที่มีการศึกษาวิชาอินทรีย์เคมี หรือชีวเคมีหรือสรีรวิทยา อย่างน้อย ๒ หน่วยกิต 
จากสถาบันที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้การรับรองทั้งในประเทศและต่างประเทศ
๒. ต้องได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
๓. มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
๔. ผู้สมัครที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากข้อ ๑ และข้อ ๒ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาได้เป็นการเฉพาะราย 
ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

ภาคพิเศษ แผน ข (ทำสารนิพนธ์)
๑. ผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้ว หรือคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการศึกษาในระดับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตหรือ
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพที่ศึกษาต่อเนื่อง อย่างน้อย ๔ ปี ในสาขาที่มีการศึกษาวิชาอินทรีย์เคมี หรือชีวเคมีหรือสรีรวิทยา อย่างน้อย ๒ หน่วยกิต 
จากสถาบันที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้การรับรองทั้งในประเทศและต่างประเทศ
๒. ต้องได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
๓. มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
๔. มีประสบการณ์ทำงานด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร พิษวิทยา โภชนาการหรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ อย่างน้อย ๒ ปี
๕. ผู้สมัครที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากข้อ ๑ และข้อ ๒ อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาได้เป็นการเฉพาะราย 
ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

2. เกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษของหลักสูตร

เกณฑ์ขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา

  IELTS ไม่ต่ำกว่า 3.0 หรือ
  TOEFL-IBT ไม่ต่ำกว่า 32 หรือ
  TOEFL-ITP ไม่ต่ำกว่า 400 หรือ
  MU GRAD TEST ไม่ต่ำกว่า 36  

เกณฑ์เพื่อสำเร็จการศึกษา

  IELTS ไม่ต่ำกว่า 5.0 หรือ
  TOEFL-IBT ไม่ต่ำกว่า 54 หรือ
  TOEFL-ITP ไม่ต่ำกว่า 480 หรือ
  MU GRAD TEST ไม่ต่ำกว่า 60  
บัณฑิตวิทยาลัยกำหนดรับผลคะแนนการทดสอบ TOEFL-iBT หรือ IELTS ที่มาจากศูนย์สอบโดยตรงเท่านั้น ดังนั้นหากผู้สมัครมีผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษดังกล่าว ขอให้ติดต่อศูนย์สอบเพื่อส่งผลคะแนนมายังบัณฑิตวิทยาลัยโดยตรง ลงทะเบียนได้ที่ http://www.grad.mahidol.ac.th/form01/

3. วิธีการคัดเลือก

- พิจารณาจากเอกสารประกอบการสมัคร
- สอบข้อเขียนวิชาเฉพาะของหลักสูตร
- สอบสัมภาษณ์

4. กำหนดการสอบคัดเลือก

กำหนดการสอบข้อเขียน
วันเสาร์ 16 กุมภาพันธ์ 2562
เวลา: 9.00 - 12.00 น.
สถานที่: ประกาศสถานที่สอบข้อเขียน วันอังคาร 12 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ www.grad.mahidol.ac.th
 
 มี  การสอบข้อเขียน โดยมีรายละเอียดดังนี้

- วิชาความรู้ด้านพิษวิทยา ชีวเคมี อาหารโภชนาการและสุขภาพ

กำหนดการสอบสัมภาษณ์
วันอังคาร 5 มีนาคม พ.ศ. 2562
สถานที่ (ห้อง /ชั้น /อาคาร/ คณะ/ วิทยาเขต) 9.30-12.00 น. สถาบันโภชนาการ มหิดล ศาลายา
หมายเหตุ กำหนดการสอบสัมภาษณ์ อาจมีการเปลี่ยนแปลง กรุณาตรวจสอบกำหนดการอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ในวันประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ วันพุธ 27 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ www.grad.mahidol.ac.th

5. หลักฐานการสมัคร

ผู้สมัครต้องสแกนเอกสาร โดยใช้เครื่องสแกนเนอร์ หรืออุปกรณ์ที่รองรับการสแกนเอกสารเป็นไฟล์ PDF เท่านั้น (ยกเว้นเฉพาะรูปถ่ายให้เป็นไฟล์ JPEG)

1. หนังสือรับรองหรือผลคะแนนความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา (ผลสอบภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันที่สมัคร)

เงื่อนไขสำหรับผู้สมัครหลักสูตรนี้ :
ไม่มีผลคะแนนภาษาอังกฤษ / มีผลคะแนนไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา - สามารถสมัครได้


2. หลักฐานแสดงคุณวุฒิการศึกษา (ปริญญาบัตร หรือหนังสือรับรองจากสถาบันการศึกษาว่ากำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษาสุดท้าย หรืออยู่ระหว่างการทำวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ โดยมีกำหนดที่จะสำเร็จการศึกษาภายในปีการศึกษา 2561)
3. หลักฐานแสดงผลการศึกษา (Transcript / Grade Report)
4. รูปถ่ายหน้าตรง ชุดสุภาพ ไม่สวมแว่นตาดำหรือหมวก และ ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน
5. สำเนาบัตรประชาชน
6. หลักฐานประกอบการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี)
หลักฐานเพิ่มเติมอื่นๆ
- หนังสือรับรองการทำงาน (กรณีเลือกแผน ข สารนิพนธ์)

ให้ผู้สมัคร Upload ไฟล์เอกสารหลักฐานต่างๆ ตามที่ระบุข้างต้น ทั้งนี้ผู้สมัครสามารถสมัครได้มากกว่า 1 หลักสูตรสาขาวิชา โดยต้องยื่นเอกสารหลักฐานประกอบการสมัครตามจำนวนหลักสูตรสาขาวิชาที่สมัคร

6. วิธีการรับสมัคร

สมัครผ่านระบบ Online Admission ที่ www.grad.mahidol.ac.th
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ ขั้นตอนการสมัครเข้าศึกษา

7. โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 21            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 5            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 38            หน่วยกิต
แผน ข
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 21            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 11            หน่วยกิต
สารนิพนธ์ 6            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 38            หน่วยกิต
รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
สภพป๕๐๒ : หลักการทางชีวเคมีและสรีรวิทยา 3
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
สภพป๖๐๒ : สัมมนาพิษวิทยาอาหารและโภชนาการ ๑ 1
สภพป๖๐๓ : สัมมนาพิษวิทยาอาหารและโภชนาการ ๒ 1
สภพป๖๐๔ : โภชนาการกับพิษวิทยา 3
สภพป๖๒๕ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางพิษวิทยาอาหารและโภชนาการ 2
สภพป๖๒๖ : หลักการทางพิษวิทยาและอาหารปลอดภัย 3
สภพป๖๒๗ : การทดสอบด้านพิษวิทยาตามมาตรฐานควบคุมเพื่ออาหารปลอดภัย 3
สภพป๖๒๘ : อันตรายในอาหารและผลกระทบต่อสุขภาพ 3
สภพป๖๒๙ : ความเสี่ยงต่อสุขภาพของการได้รับสารอาหารเกิน และการควบคุมทางกฎหมาย 2
สภพป๖๓๐ : การวิเคราะห์ความเสี่ยงความปลอดภัยทางอาหาร 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
สปภป๖๔๐ : เทคนิคทางห้องปฏิบัติการทางพิษวิทยาระดับโมเลกุล 3
สภพป๖๑๑ : การคุ้มครองผู้บริโภคทางอาหารและโภชนาการ 2
สภพป๖๑๔ : ความเป็นพิษของอาหาร พืชและเนื้อสัตว์ 2
สภพป๖๒๒ : พิษวิทยาทางอาหารและโภชนาการขั้นสูง : สารเคมีในการเกษตรและโลหะหนัก 3
สภพป๖๓๑ : สารอาหารรองและอาหารสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2
สภพป๖๓๒ : เทคนิคการวิเคราะห์ทางพิษวิทยาอาหารและโภชนาการ 3
สภพป๖๓๓ : ความปลอดภัยทางจุลชีววิทยาอาหาร 2
สภพป๖๓๔ : การตรวจหาจุลินทรีย์ในอาหาร และการควบคุมคุณภาพของห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาอาหาร 3
สภพป๖๓๕ : เทคนิคทางพิษวิทยาเชิงพันธุศาสตร์โดยใช้การทดสอบระยะสั้น 2
สภพป๖๓๖ : การประเมินความเสี่ยงของอันตรายทางเคมีในอาหาร 2
สภพป๖๓๗ : ความปลอดภัยทางอาหารที่เกี่ยวกับสารก่อกลายพันธุ์ สารก่อมะเร็ง และสารก่อภูมิแพ้ 3
สภพป๖๓๘ : กระบวนการแปรรูปที่เหนี่ยวนำให้เกิดสารพิษในอาหาร 2
สภพป๖๓๙ : ระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการระดับสากลตามมาตรฐานไอเอสโอ/ไออีซี ๑๗๐๒๕ 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
สภพป๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

แผน ข

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
สภพป๕๐๒ : หลักการทางชีวเคมีและสรีรวิทยา 3
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
สภพป๖๐๒ : สัมมนาพิษวิทยาอาหารและโภชนาการ ๑ 1
สภพป๖๐๓ : สัมมนาพิษวิทยาอาหารและโภชนาการ ๒ 1
สภพป๖๐๔ : โภชนาการกับพิษวิทยา 3
สภพป๖๒๕ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางพิษวิทยาอาหารและโภชนาการ 2
สภพป๖๒๖ : หลักการทางพิษวิทยาและอาหารปลอดภัย 3
สภพป๖๒๗ : การทดสอบด้านพิษวิทยาตามมาตรฐานควบคุมเพื่ออาหารปลอดภัย 3
สภพป๖๒๘ : อันตรายในอาหารและผลกระทบต่อสุขภาพ 3
สภพป๖๒๙ : ความเสี่ยงต่อสุขภาพของการได้รับสารอาหารเกิน และการควบคุมทางกฎหมาย 2
สภพป๖๓๐ : การวิเคราะห์ความเสี่ยงความปลอดภัยทางอาหาร 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
สปภป๖๔๐ : เทคนิคทางห้องปฏิบัติการทางพิษวิทยาระดับโมเลกุล 3
สภพป๖๑๑ : การคุ้มครองผู้บริโภคทางอาหารและโภชนาการ 2
สภพป๖๑๔ : ความเป็นพิษของอาหาร พืชและเนื้อสัตว์ 2
สภพป๖๒๒ : พิษวิทยาทางอาหารและโภชนาการขั้นสูง : สารเคมีในการเกษตรและโลหะหนัก 3
สภพป๖๓๑ : สารอาหารรองและอาหารสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2
สภพป๖๓๒ : เทคนิคการวิเคราะห์ทางพิษวิทยาอาหารและโภชนาการ 3
สภพป๖๓๓ : ความปลอดภัยทางจุลชีววิทยาอาหาร 2
สภพป๖๓๔ : การตรวจหาจุลินทรีย์ในอาหาร และการควบคุมคุณภาพของห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาอาหาร 3
สภพป๖๓๕ : เทคนิคทางพิษวิทยาเชิงพันธุศาสตร์โดยใช้การทดสอบระยะสั้น 2
สภพป๖๓๖ : การประเมินความเสี่ยงของอันตรายทางเคมีในอาหาร 2
สภพป๖๓๗ : ความปลอดภัยทางอาหารที่เกี่ยวกับสารก่อกลายพันธุ์ สารก่อมะเร็ง และสารก่อภูมิแพ้ 3
สภพป๖๓๘ : กระบวนการแปรรูปที่เหนี่ยวนำให้เกิดสารพิษในอาหาร 2
สภพป๖๓๙ : ระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการระดับสากลตามมาตรฐานไอเอสโอ/ไออีซี ๑๗๐๒๕ 3
สารนิพนธ์ หน่วยกิต
สภพป๖๙๗ : สารนิพนธ์ 6

8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

-  นักวิชาการด้านพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย ในหน่วยงานภาครัฐและอุตสาหกรรมอาหาร 
-  นักวิจัยด้านพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย ในสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชน

9. รายละเอียดอื่นๆ

-

10. ทุนการศึกษาของหลักสูตร

1.ทุนแรกเข้าสำหรับนักศึกษาผู้มีคะแนนสอบเข้าสูงสุดและ MU-Grad 45 คะแนนขึ้นไป ระยะเวลาให้ทุุน 2 ปีการศึกษาวงเงิน 80,000 บาท

2.ทุนเรียนดี 20,000บาท

11. ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ดูรายละเอียด ที่ https://graduate.mahidol.ac.th หัวข้อ อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา

12. ข้อมูลติดต่อ

ประธานหลักสูตร

ผศ.ดร.ชนิพรรณ บุตรยี่

Email: chaniphun.but@mahidol.ac.th

โทร.028002380 ต่อ 119

เลขานุการหลักสูตร

ผศ.ดร.ทพญ. ดุลยพร ตราชูธรรม

Email: dunyaporn.tra@mahidol.ac.th

โทร.028002380 ต่อ 326

ผู้ประสานงานหลักสูตร

คุณดลนภา นวมเพ็ชร์

โทร.028002380 ต่อ 405 ,420

Email:donnapa.klo@mahidol.ac.th


หมายเหตุ* การดำเนินการในการส่งเอกสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้สมัครเข้าศึกษา ผู้สมัครเข้าศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกให้มีสิทธิ์เข้าศึกษา จะต้องดำเนินการให้สถานศึกษาส่งบันทึกผลการศึกษาตลอดหลักสูตร (Transcript) ฉบับจริง ที่ระบุวันสำเร็จการศึกษา มายังบัณฑิตวิทยาลัยโดยตรงภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2562 หากไม่ดำเนินการตามวันที่กำหนด จะถือว่าสละสิทธิ์เข้าศึกษา ทั้งนี้บัณฑิตวิทยาลัยจะไม่รับเอกสารที่ไม่ได้ใส่ซองปิดผนึกประทับตรามหาวิทยาลัย

สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ คลิกที่นี่


หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการสมัคร ติดต่อได้ที่ งานรับนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
โทรศัพท์ 0 2441 4125-38 ต่อ 110-115
gradthai@mahidol.ac.th