เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันเสาร์ที่   20   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


 กำหนดการรับสมัคร:     รอบที่ 2 :     01 มีนาคม 2562 - 17 พฤษภาคม 2562

รหัสหลักสูตร 7303MG00

MASTER OF ARTS PROGRAM IN CULTURAL STUDIES

หลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา

วิชาเอก -
ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
เว็บไซต์ http://www.lc.mahidol.ac.th
จำนวนที่คาดว่าจะได้รับตลอดปีการศึกษา จำนวน 50 คน

1. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร

แผน ก แบบ ก ๒
๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาจากสถาบันอุดมศึกษาในประเทศ หรือต่างประเทศ ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
๓) มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
๔)ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้นอาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร
และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย     

แผน ข
๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาจากสถาบันอุดมศึกษาในประเทศ หรือต่างประเทศ ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
๓) มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
๔) มีประสบการณ์การทำงานในหน่วยงานที่ดำเนินงานทางด้านวัฒนธรรม หรือปฏิบัติการในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมอย่างน้อย ๑ ปี 
โดยนับถึงวันรายงานตัวเข้าศึกษา
๕)ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้นอาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร
และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
 

2. เกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษของหลักสูตร

เกณฑ์ขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา

  IELTS ไม่ต่ำกว่า 3.0 หรือ
  TOEFL-IBT ไม่ต่ำกว่า 32 หรือ
  TOEFL-ITP ไม่ต่ำกว่า 400 หรือ
  MU GRAD TEST ไม่ต่ำกว่า 36  

เกณฑ์เพื่อสำเร็จการศึกษา

  IELTS ไม่ต่ำกว่า 5.0 หรือ
  TOEFL-IBT ไม่ต่ำกว่า 54 หรือ
  TOEFL-ITP ไม่ต่ำกว่า 480 หรือ
  MU GRAD TEST ไม่ต่ำกว่า 60  
บัณฑิตวิทยาลัยกำหนดรับผลคะแนนการทดสอบ TOEFL-iBT หรือ IELTS ที่มาจากศูนย์สอบโดยตรงเท่านั้น ดังนั้นหากผู้สมัครมีผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษดังกล่าว ขอให้ติดต่อศูนย์สอบเพื่อส่งผลคะแนนมายังบัณฑิตวิทยาลัยโดยตรง ลงทะเบียนได้ที่ http://www.grad.mahidol.ac.th/form01/

3. วิธีการคัดเลือก

- พิจารณาจากเอกสารประกอบการสมัคร
- สอบข้อเขียนวิชาเฉพาะของหลักสูตร
- สอบสัมภาษณ์

4. กำหนดการสอบคัดเลือก

กำหนดการสอบข้อเขียน
วันเสาร์ 1 มิถุนายน 2562
เวลา: 9.00-12.00 น.
สถานที่: ประกาศสถานที่สอบข้อเขียน วันอังคาร 28 พฤษภาคม 2562 ที่ www.grad.mahidol.ac.th
 
 มี  การสอบข้อเขียน โดยมีรายละเอียดดังนี้

- วิชาการแสดงความคิดเห็นและอภิปรายสนับสนุนความคิดเห็นในประเด็นสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัย

- วิชาวิชาการวิพากษ์วิจารณ์ต่อสถานการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย

กำหนดการสอบสัมภาษณ์
วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2562
สถานที่ (ห้อง /ชั้น /อาคาร/ คณะ/ วิทยาเขต) เวลา 9.00 ถึง 12.00 น. ห้องประชุมบริหาร ชั้น 2 อาคารภาษาและวัฒนธรรมสยามบรมราชกุมารี สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล
หมายเหตุ กำหนดการสอบสัมภาษณ์ อาจมีการเปลี่ยนแปลง กรุณาตรวจสอบกำหนดการอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ในวันประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ วันพุธ 12 มิถุนายน 2562 ที่ www.grad.mahidol.ac.th

5. หลักฐานการสมัคร

ผู้สมัครต้องสแกนเอกสาร โดยใช้เครื่องสแกนเนอร์ หรืออุปกรณ์ที่รองรับการสแกนเอกสารเป็นไฟล์ PDF เท่านั้น (ยกเว้นเฉพาะรูปถ่ายให้เป็นไฟล์ JPEG)

1. หนังสือรับรองหรือผลคะแนนความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา (ผลสอบภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันที่สมัคร)

เงื่อนไขสำหรับผู้สมัครหลักสูตรนี้ :
ไม่มีผลคะแนนภาษาอังกฤษ / มีผลคะแนนไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา - สามารถสมัครได้


2. หลักฐานแสดงคุณวุฒิการศึกษา (ปริญญาบัตร หรือหนังสือรับรองจากสถาบันการศึกษาว่ากำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษาสุดท้าย หรืออยู่ระหว่างการทำวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ โดยมีกำหนดที่จะสำเร็จการศึกษาภายในปีการศึกษา 2561)
3. หลักฐานแสดงผลการศึกษา (Transcript / Grade Report)
4. รูปถ่ายหน้าตรง ชุดสุภาพ ไม่สวมแว่นตาดำหรือหมวก และ ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน
5. สำเนาบัตรประชาชน
6. หลักฐานประกอบการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี)


ให้ผู้สมัคร Upload ไฟล์เอกสารหลักฐานต่างๆ ตามที่ระบุข้างต้น ทั้งนี้ผู้สมัครสามารถสมัครได้มากกว่า 1 หลักสูตรสาขาวิชา โดยต้องยื่นเอกสารหลักฐานประกอบการสมัครตามจำนวนหลักสูตรสาขาวิชาที่สมัคร

6. วิธีการรับสมัคร

สมัครผ่านระบบ Online Admission ที่ www.grad.mahidol.ac.th
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ ขั้นตอนการสมัครเข้าศึกษา

7. โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาบังคับ 15            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต
แผน ข
หมวดวิชาบังคับ 15            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 15            หน่วยกิต
สารนิพนธ์ 6            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต
รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
วภวธ๕๑๐ : แนวคิดหลักทางวัฒนธรรมศึกษา 3
วภวธ๕๑๓ : สัมมนาประเด็นทางสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัย 3
วภวธ๕๑๔ : ฝึกปฏิบัติ 3
วภวธ๕๑๕ : การออกแบบการวิจัยทางวัฒนธรรมศึกษา 3
วภวธ๕๑๖ : ทฤษฎีเชิงวิพากษ์ทางวัฒนธรรมศึกษา 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
วภวธ๕๒๖ : สุขภาพในยุคดิจิทัล 3
วภวธ๕๒๗ : ธุรกิจสุขภาพภายใต้เสรีนิยมใหม่ 3
วภวธ๕๓๘ : วัฒนธรรมศึกษาของดนตรี 3
วภวธ๕๓๙ : พหุวัฒนธรรมทางดนตรีและการแสดง 3
วภวธ๕๔๖ : พิพิธภัณฑ์ศึกษาแนววิพากษ์ 3
วภวธ๕๔๗ : การอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมเชิงพลวัต 3
วภวธ๕๕๘ : วัฒนธรรมภาพยนตร์ข้ามชาติในบริบทเอเชีย 3
วภวธ๕๕๙ : วัฒนธรรมและอัตลักษณ์ในบริบทร่วมสมัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3
วภวธ๕๖๙ : พหุวัฒนธรรมอินเดียและการเชื่อมโยงกับอาเซียนในยุคดิจิทัล 3
วภวธ๕๗๖ : นโยบายวัฒนธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน 3
วภวธ๕๗๗ : การพัฒนานวัตกรรมฐานชุมชน 3
วภวธ๕๗๘ : ประเด็นสังคมและวัฒนธรรมในบริบทอินเดียร่วมสมัย 3
วภวธ๕๘๐ : ความเป็นผู้ประกอบการวัฒนธรรมและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3
วภวธ๕๘๓ : การออกแบบความคิดและการออกแบบบริการในการประกอบการทางสังคม 3
วภวธ๕๘๔ : สื่อดิจิทัล วัฒนธรรมการมีส่วนร่วม และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 3
วภวธ๖๐๒ : การศึกษาประเด็นเฉพาะ 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
วภวธ๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

แผน ข

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
วภวธ๕๑๐ : แนวคิดหลักทางวัฒนธรรมศึกษา 3
วภวธ๕๑๓ : สัมมนาประเด็นทางสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัย 3
วภวธ๕๑๔ : ฝึกปฏิบัติ 3
วภวธ๕๑๕ : การออกแบบการวิจัยทางวัฒนธรรมศึกษา 3
วภวธ๕๑๖ : ทฤษฎีเชิงวิพากษ์ทางวัฒนธรรมศึกษา 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
วภวธ๕๒๖ : สุขภาพในยุคดิจิทัล 3
วภวธ๕๒๗ : ธุรกิจสุขภาพภายใต้เสรีนิยมใหม่ 3
วภวธ๕๓๘ : วัฒนธรรมศึกษาของดนตรี 3
วภวธ๕๓๙ : พหุวัฒนธรรมทางดนตรีและการแสดง 3
วภวธ๕๔๖ : พิพิธภัณฑ์ศึกษาแนววิพากษ์ 3
วภวธ๕๔๗ : การอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมเชิงพลวัต 3
วภวธ๕๕๘ : วัฒนธรรมภาพยนตร์ข้ามชาติในบริบทเอเชีย 3
วภวธ๕๕๙ : วัฒนธรรมและอัตลักษณ์ในบริบทร่วมสมัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3
วภวธ๕๖๙ : พหุวัฒนธรรมอินเดียและการเชื่อมโยงกับอาเซียนในยุคดิจิทัล 3
วภวธ๕๗๖ : นโยบายวัฒนธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน 3
วภวธ๕๗๗ : การพัฒนานวัตกรรมฐานชุมชน 3
วภวธ๕๗๘ : ประเด็นสังคมและวัฒนธรรมในบริบทอินเดียร่วมสมัย 3
วภวธ๕๘๐ : ความเป็นผู้ประกอบการวัฒนธรรมและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3
วภวธ๕๘๓ : การออกแบบความคิดและการออกแบบบริการในการประกอบการทางสังคม 3
วภวธ๕๘๔ : สื่อดิจิทัล วัฒนธรรมการมีส่วนร่วม และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 3
วภวธ๖๐๒ : การศึกษาประเด็นเฉพาะ 3
สารนิพนธ์ หน่วยกิต
วภวธ๖๙๗ : สารนิพนธ์ 6

8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

-  นักวิจัย นักวิชาการทางด้านวัฒนธรรม 
-  นักพัฒนาสังคม นักพัฒนาชุมชน นักพัฒนาในองค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรของรัฐ 
-  อาชีพที่ต้องอาศัยความเข้าใจกลุ่มคนในสังคมและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา
-  ประกอบธุรกิจส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับงานวัฒนธรรม เช่น เป็นผู้จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม จัดอบรมทางวัฒนธรรม ประกอบธุรกิจกับประเทศอาเซียน 
บวก ๓ หรือบวก ๖ โดยใช้ความรู้ทางวัฒนธรรมศึกษา

9. รายละเอียดอื่นๆ

-

10. ทุนการศึกษาของหลักสูตร

-

11. ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ดูรายละเอียด ที่ https://graduate.mahidol.ac.th หัวข้อ อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา

12. ข้อมูลติดต่อ

ประธานหลักสูตร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรณู เหมือนจันทร์เชย

อีเมล์ : renuaor2517@gmail.com, renu.mue@mahidol.edu, renu.mue@mahidol.ac.th

ห้อง 308 ชั้น 3 อาคารภาษาและวัฒนธรรมสยามบรมราชกุมารี

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล

Tel.02-800-2308-14 ต่อ 3312 Fax: 8002332

เลขานุการหลักสูตร

อาจารย์ ดร.วีรานันท์ ดำรงสกุล

อีเมล์ : weeranan.dar@mahidol.ac.th

ห้อง 3330 ชั้น 3 อาคารภาษาและวัฒนธรรมสยามบรมราชกุมารี

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล

Tel.02-800-2308-14 ต่อ 3328 Fax: 8002332

ผู้ประสานงานหลักสูตร

อาจารย์ ดร.นันธิดา จันทรางศุ

อีเมล์ : nantida.cha@mahidol.ac.th

ชั้น 3 อาคารภาษาและวัฒนธรรมสยามบรมราชกุมารี

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล

Tel.02-800-2308-14 ต่อ 3315 Fax: 8002332


หมายเหตุ* การดำเนินการในการส่งเอกสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้สมัครเข้าศึกษา ผู้สมัครเข้าศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกให้มีสิทธิ์เข้าศึกษา จะต้องดำเนินการให้สถานศึกษาส่งบันทึกผลการศึกษาตลอดหลักสูตร (Transcript) ฉบับจริง ที่ระบุวันสำเร็จการศึกษา มายังบัณฑิตวิทยาลัยโดยตรงภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2562 หากไม่ดำเนินการตามวันที่กำหนด จะถือว่าสละสิทธิ์เข้าศึกษา ทั้งนี้บัณฑิตวิทยาลัยจะไม่รับเอกสารที่ไม่ได้ใส่ซองปิดผนึกประทับตรามหาวิทยาลัย

สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ คลิกที่นี่


หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการสมัคร ติดต่อได้ที่ งานรับนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
โทรศัพท์ 0 2441 4125-38 ต่อ 110-115
gradthai@mahidol.ac.th