เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   29   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


 กำหนดการรับสมัคร:     รอบที่ 1 :     15 พฤศจิกายน 2561 - 31 มกราคม 2562

รหัสหลักสูตร 7302MS00

MASTER OF ARTS PROGRAM IN LANGUAGE AND INTERCULTURAL COMMUNICATION

หลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม(ภาคพิเศษ)

วิชาเอก -
ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
เว็บไซต์ http://www.lc.mahidol.ac.th
จำนวนที่คาดว่าจะได้รับตลอดปีการศึกษา จำนวน 40 คน

1. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร

แผน ก แบบ ก๒ และแผน ข
(๑) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชา จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงาน
คณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
(๓) มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด
(๔) มีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า ๑ ปี
(๕) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือก
เข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

2. เกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษของหลักสูตร

เกณฑ์ขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา

  IELTS ไม่ต่ำกว่า 3.0 หรือ
  TOEFL-IBT ไม่ต่ำกว่า 32 หรือ
  TOEFL-ITP ไม่ต่ำกว่า 400 หรือ
  MU GRAD TEST ไม่ต่ำกว่า 36  

เกณฑ์เพื่อสำเร็จการศึกษา

  IELTS ไม่ต่ำกว่า 5.0 หรือ
  TOEFL-IBT ไม่ต่ำกว่า 54 หรือ
  TOEFL-ITP ไม่ต่ำกว่า 480 หรือ
  MU GRAD TEST ไม่ต่ำกว่า 60  
บัณฑิตวิทยาลัยกำหนดรับผลคะแนนการทดสอบ TOEFL-iBT หรือ IELTS ที่มาจากศูนย์สอบโดยตรงเท่านั้น ดังนั้นหากผู้สมัครมีผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษดังกล่าว ขอให้ติดต่อศูนย์สอบเพื่อส่งผลคะแนนมายังบัณฑิตวิทยาลัยโดยตรง ลงทะเบียนได้ที่ http://www.grad.mahidol.ac.th/form01/

3. วิธีการคัดเลือก

- พิจารณาจากเอกสารประกอบการสมัคร
- สอบข้อเขียนวิชาเฉพาะของหลักสูตร
- สอบสัมภาษณ์

4. กำหนดการสอบคัดเลือก

กำหนดการสอบข้อเขียน
วันเสาร์ 16 กุมภาพันธ์ 2562
เวลา: 9.00 - 12.00 น.
สถานที่: ประกาศสถานที่สอบข้อเขียน วันอังคาร 12 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ www.grad.mahidol.ac.th
 
 มี  การสอบข้อเขียน โดยมีรายละเอียดดังนี้

- วิชาทฤษฎีภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม

- วิชาวิชาแกนของแต่ละสาขา (การสอน การแปล การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมเพื้อการบริหารองค์การ)

กำหนดการสอบสัมภาษณ์
วันพุธ 6 มีนาคม พ.ศ. 2562
สถานที่ (ห้อง /ชั้น /อาคาร/ คณะ/ วิทยาเขต) สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
หมายเหตุ กำหนดการสอบสัมภาษณ์ อาจมีการเปลี่ยนแปลง กรุณาตรวจสอบกำหนดการอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ในวันประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ วันพุธ 27 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ www.grad.mahidol.ac.th

5. หลักฐานการสมัคร

ผู้สมัครต้องสแกนเอกสาร โดยใช้เครื่องสแกนเนอร์ หรืออุปกรณ์ที่รองรับการสแกนเอกสารเป็นไฟล์ PDF เท่านั้น (ยกเว้นเฉพาะรูปถ่ายให้เป็นไฟล์ JPEG)

1. หนังสือรับรองหรือผลคะแนนความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา (ผลสอบภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันที่สมัคร)

เงื่อนไขสำหรับผู้สมัครหลักสูตรนี้ :
ไม่มีผลคะแนนภาษาอังกฤษ / มีผลคะแนนไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา - สามารถสมัครได้


2. หลักฐานแสดงคุณวุฒิการศึกษา (ปริญญาบัตร หรือหนังสือรับรองจากสถาบันการศึกษาว่ากำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษาสุดท้าย หรืออยู่ระหว่างการทำวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ โดยมีกำหนดที่จะสำเร็จการศึกษาภายในปีการศึกษา 2561)
3. หลักฐานแสดงผลการศึกษา (Transcript / Grade Report)
4. รูปถ่ายหน้าตรง ชุดสุภาพ ไม่สวมแว่นตาดำหรือหมวก และ ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน
5. สำเนาบัตรประชาชน
6. หลักฐานประกอบการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี)

ให้ผู้สมัคร Upload ไฟล์เอกสารหลักฐานต่างๆ ตามที่ระบุข้างต้น ทั้งนี้ผู้สมัครสามารถสมัครได้มากกว่า 1 หลักสูตรสาขาวิชา โดยต้องยื่นเอกสารหลักฐานประกอบการสมัครตามจำนวนหลักสูตรสาขาวิชาที่สมัคร

6. วิธีการรับสมัคร

สมัครผ่านระบบ Online Admission ที่ www.grad.mahidol.ac.th
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ ขั้นตอนการสมัครเข้าศึกษา

7. โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาแกน 9            หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 6            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต
แผน ข
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาแกน 9            หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 6            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 15            หน่วยกิต
สารนิพนธ์ 6            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต
รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
วภสว๕๐๑ : สารัตถะของวิธีวิทยาระเบียบวิธีวิจัย 2
วภสว๕๐๒ : ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2
วภสว๕๐๓ : พฤติกรรมองค์การและการบริหาร 2
หมวดวิชาแกน หน่วยกิต
วภสว๕๐๕ : ทฤษฎีการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม 2
วภสว๕๐๖ : การวิเคราะห์ภาษาเพื่อการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม 2
วภสว๕๐๗ : การออกแบบและปฏิบัติการวิจัย 3
วภสว๕๐๘ : สัมมนาทางภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม 2
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   วิชาเอกการสอนภาษา
วภสว๕๑๐ : วิธีการสอนภาษาต่างประเทศ 3
วภสว๕๑๑ : การออกแบบรายวิชาและพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนการสอนภาษา 3
   วิชาเอกการแปล
วภสว๕๒๐ : ทฤษฎีและหลักสำหรับนักแปลอาชีพ 3
วภสว๕๒๑ : วัจนปฏิบัติศาสตร์กับการแปล 3
   วิชาเอกการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมเพื่อการบริหาร
วภสว๕๓๐ : สมรรถนะทางวัฒนธรรมของผู้นำ 3
วภสว๕๓๑ : การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมเชิงกลยุทธ์ 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
วภสว๕๕๐ : ภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย 3
วภสว๕๕๑ : การศึกษาอิสระ 3
   วิชาเอกการสอนภาษา
   
วภสว๕๑๒ : การสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ 3
วภสว๕๑๓ : ภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ 3
วภสว๕๑๔ : ภาษาอังกฤษเพื่อจุดประสงค์เฉพาะ 3
วภสว๕๑๕ : สัมมนาทางวิธีการสอนภาษาต่างประเทศในบริบทพหุวัฒนธรรม 3
วภสว๕๑๖ : การประเมินผลการเรียนรู้ภาษา 3
วภสว๕๑๗ : ความเป็นผู้ประกอบการด้านการสอนภาษา 3
วภสว๖๑๐ : การฝึกสอน 3
   วิชาเอกการแปล
วภสว๕๒๒ : สัมมนาทางการแปล 3
วภสว๕๒๓ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยในการแปล 3
วภสว๕๒๔ : ภาษาไทยสำหรับนักแปล 3
วภสว๖๒๐ : การแปลเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ 3
วภสว๖๒๑ : การแปลข่าว 3
วภสว๖๒๒ : การแปลด้านธุรกิจ 3
วภสว๖๒๓ : การแปลด้านกฎหมาย 3
วภสว๖๒๔ : การแปลวรรณกรรม 3
วภสว๖๒๕ : การแปลงานด้านวิชาการ 3
วภสว๖๒๖ : การแปลบทภาพยนตร์ 3
วภสว๖๒๗ : การแปลเชิงปฏิบัติ ภาษาญี่ปุ่น 3
วภสว๖๒๘ : ภาษาญี่ปุ่นขั้นสูงเพื่อการแปล ๑ 3
วภสว๖๒๙ : ภาษาญี่ปุ่นขั้นสูงเพื่อการแปล ๒ 3
   วิชาเอกการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมเพื่อการบริหาร
วภสว๕๓๒ : สัมมนาทางการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมเพื่อการบริหาร 3
วภสว๕๓๓ : การสื่อสารในสังคมผสมผสาน 3
วภสว๕๓๔ : กลยุทธ์การสื่อสารสุขภาพ 3
วภสว๕๓๕ : สื่อกับวัฒนธรรมออนไลน์ 3
วภสว๕๓๖ : สัญวิทยาทางการวิเคราะห์การสื่อสารและวัฒนธรรม 3
วภสว๕๓๗ : จิตวิทยาการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม 3
วภสว๕๓๘ : การจัดการทุนทางวัฒนธรรม 3
วภสว๕๓๙ : ปรัชญาตะวันออกกับการบริหารองค์การ 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
วภสว๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

แผน ข

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
วภสว๕๐๑ : สารัตถะของวิธีวิทยาระเบียบวิธีวิจัย 2
วภสว๕๐๒ : ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2
วภสว๕๐๓ : พฤติกรรมองค์การและการบริหาร 2
หมวดวิชาแกน หน่วยกิต
วภสว๕๐๕ : ทฤษฎีการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม 2
วภสว๕๐๖ : การวิเคราะห์ภาษาเพื่อการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม 2
วภสว๕๐๗ : การออกแบบและปฏิบัติการวิจัย 3
วภสว๕๐๘ : สัมมนาทางภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม 2
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   วิชาเอกการสอนภาษา
วภสว๕๑๐ : วิธีการสอนภาษาต่างประเทศ 3
วภสว๕๑๑ : การออกแบบรายวิชาและพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนการสอนภาษา 3
   วิชาเอกการแปล
วภสว๕๒๐ : ทฤษฎีและหลักสำหรับนักแปลอาชีพ 3
วภสว๕๒๑ : วัจนปฏิบัติศาสตร์กับการแปล 3
   วิชาเอกการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมเพื่อการบริหาร
วภสว๕๓๐ : สมรรถนะทางวัฒนธรรมของผู้นำ 3
วภสว๕๓๑ : การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมเชิงกลยุทธ์ 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
วภสว๕๕๐ : ภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย 3
วภสว๕๕๑ : การศึกษาอิสระ 3
   วิชาเอกการสอนภาษา
   
วภสว๕๑๒ : การสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ 3
วภสว๕๑๓ : ภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ 3
วภสว๕๑๔ : ภาษาอังกฤษเพื่อจุดประสงค์เฉพาะ 3
วภสว๕๑๕ : สัมมนาทางวิธีการสอนภาษาต่างประเทศในบริบทพหุวัฒนธรรม 3
วภสว๕๑๖ : การประเมินผลการเรียนรู้ภาษา 3
วภสว๕๑๗ : ความเป็นผู้ประกอบการด้านการสอนภาษา 3
วภสว๖๑๐ : การฝึกสอน 3
   วิชาเอกการแปล
วภสว๕๒๒ : สัมมนาทางการแปล 3
วภสว๕๒๓ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยในการแปล 3
วภสว๕๒๔ : ภาษาไทยสำหรับนักแปล 3
วภสว๖๒๐ : การแปลเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ 3
วภสว๖๒๑ : การแปลข่าว 3
วภสว๖๒๒ : การแปลด้านธุรกิจ 3
วภสว๖๒๓ : การแปลด้านกฎหมาย 3
วภสว๖๒๔ : การแปลวรรณกรรม 3
วภสว๖๒๕ : การแปลงานด้านวิชาการ 3
วภสว๖๒๖ : การแปลบทภาพยนตร์ 3
วภสว๖๒๗ : การแปลเชิงปฏิบัติ ภาษาญี่ปุ่น 3
วภสว๖๒๘ : ภาษาญี่ปุ่นขั้นสูงเพื่อการแปล ๑ 3
วภสว๖๒๙ : ภาษาญี่ปุ่นขั้นสูงเพื่อการแปล ๒ 3
   วิชาเอกการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมเพื่อการบริหาร
วภสว๕๓๒ : สัมมนาทางการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมเพื่อการบริหาร 3
วภสว๕๓๓ : การสื่อสารในสังคมผสมผสาน 3
วภสว๕๓๔ : กลยุทธ์การสื่อสารสุขภาพ 3
วภสว๕๓๕ : สื่อกับวัฒนธรรมออนไลน์ 3
วภสว๕๓๖ : สัญวิทยาทางการวิเคราะห์การสื่อสารและวัฒนธรรม 3
วภสว๕๓๗ : จิตวิทยาการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม 3
วภสว๕๓๘ : การจัดการทุนทางวัฒนธรรม 3
วภสว๕๓๙ : ปรัชญาตะวันออกกับการบริหารองค์การ 3
สารนิพนธ์ หน่วยกิต
วภสว๖๙๗ : สารนิพนธ์ 6

8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

-  นักแปล
-  ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษา
-  ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
-  นักวิเคราะห์และวางกลยุทธ์การสื่อสาร
-  นักบริหาร นักพัฒนา
-  นักประชาสัมพันธ์ นักสื่อสารองค์การ
-  นักวิจัย นักวิชาการ ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม

9. รายละเอียดอื่นๆ

-

10. ทุนการศึกษาของหลักสูตร

-

11. ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ดูรายละเอียด ที่ https://graduate.mahidol.ac.th หัวข้อ อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา

12. ข้อมูลติดต่อ

ประธานหลักสูตร

รศ.ดร.สิงหนาท น้อมเนียน

snomnian@hotmail.com

เลขานุการหลักสูตร

ผู้ประสานงานหลักสูตร

นางสาวกฤษริน รักษาแก้ว

kritsarin.r@gmail.com


หมายเหตุ* การดำเนินการในการส่งเอกสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้สมัครเข้าศึกษา ผู้สมัครเข้าศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกให้มีสิทธิ์เข้าศึกษา จะต้องดำเนินการให้สถานศึกษาส่งบันทึกผลการศึกษาตลอดหลักสูตร (Transcript) ฉบับจริง ที่ระบุวันสำเร็จการศึกษา มายังบัณฑิตวิทยาลัยโดยตรงภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2562 หากไม่ดำเนินการตามวันที่กำหนด จะถือว่าสละสิทธิ์เข้าศึกษา ทั้งนี้บัณฑิตวิทยาลัยจะไม่รับเอกสารที่ไม่ได้ใส่ซองปิดผนึกประทับตรามหาวิทยาลัย

สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ คลิกที่นี่


หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการสมัคร ติดต่อได้ที่ งานรับนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
โทรศัพท์ 0 2441 4125-38 ต่อ 110-115
gradthai@mahidol.ac.th