เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   19   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


 กำหนดการรับสมัคร:     รอบที่ 1 :     01 พฤศจิกายน 2560 - 15 มกราคม 2561

รหัสหลักสูตร 5201DG00

DOCTOR OF PHILOSOPHY PROGRAM IN NUTRITION

หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาโภชนศาสตร์

วิชาเอก -
ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน โครงการร่วม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สถาบันโภชนาการ
เว็บไซต์ http://www.inmu.mahidol.ac.th/th/academics/curriculum/index.php,http://med.mahidol.ac.th/nutrition
จำนวนที่คาดว่าจะได้รับตลอดปีการศึกษา จำนวน 6 คน

1. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร

1. สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) ทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (biological science) จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาให้การรับรองทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2. สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ หรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาให้การรับรองทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 หรือ สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนศาสตร์ โดยมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 หรือ สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตและได้รับวุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาวิชาโภชนศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง จากแพทยสภา หรือแพทยสภารับรอง
3. สำหรับผู้ที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาโทสาขาวิชาโภชนศาสตร์โครงการร่วมคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีความประสงค์จะเปลี่ยนสถานภาพเป็นนักศึกษาปริญญาเอกสามารถดำเนินการได้ โดยต้องได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 ศึกษามาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี และสอบผ่านเกณฑ์การประเมินความรู้ความสามารถทางภาษาต่างประเทศตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัยระดับปริญญาเอก ทั้งนี้ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
4. ผู้สมัครจะต้องยื่นหนังสือรับรองหรือผลคะแนนความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษขั้น
ต่ำที่รับเข้าศึกษา (ผลสอบภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันที่สมัคร) คือ
- IELTS ที่ระดับ 3 คะแนนขึ้นไป หรือ
- TOEFL INTERNET BASED ที่ระดับ 32 คะแนนขึ้นไป หรือ
- TOEFL ITP (เฉพาะที่จัดสอบโดยบัณฑิตวิทยาลัย) ที่ระดับ 400 คะแนนขึ้นไป

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากประกาศ เรื่องมาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษฯ ที่ : www.grad.mahidol.ac.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษที่งานศูนย์ภาษา บัณฑิตวิทยาลัย
โทร : 0-2441- 4125 ต่อ 221-222
5. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาได้ ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

 

2. กำหนดการสอบคัดเลือก

กำหนดการสอบข้อเขียน
วันเสาร์ 3 กุมภาพันธ์ 2561
เวลา:9.00 - 12.00 น.
สถานที่:ประกาศสถานที่สอบข้อเขียน วันพุธ 31 มกราคม 2561 ที่ www.grad.mahidol.ac.th
 มี  การสอบข้อเขียน โดยมีรายละเอียดดังนี้
- วิชาชีววิทยา
- วิชาความรู้พื้นฐานทางสรีรวิทยา
- วิชาAdvanced Human Nutrition and Metabolism

3. หลักฐานการสมัคร

ผู้สมัครต้องสแกนเอกสาร โดยใช้เครื่องสแกนเนอร์หรืออุปกรณ์ที่รองรับการสแกนเอกสารเป็นไฟล์ PDF เท่านั้น (ยกเว้นเฉพาะรูปถ่ายให้เป็นไฟล์ JPEG)

 

  1. หนังสือรับรองหรือผลคะแนนความรู้ภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา (ผลสอบภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันที่สมัคร)
  2. หลักฐานแสดงคุณวุฒิการศึกษา (ปริญญาบัตร / หนังสือรับรองจากสถาบันการศึกษาว่ากำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษาสุดท้ายหรืออยู่ระหว่างการทำวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ (โดยมีกำหนดที่จะสำเร็จการศึกษา ภายในปีการศึกษา 2560)
  3. หลักฐานแสดงผลการศึกษา (Academic Transcript / Grade Report) ฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  4. รูปถ่าย ขนาดไฟล์ไม่เกิน 2MB  (รูปหน้าตรง ชุดสุภาพไม่สวมแว่นตาดำหรือหมวก ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน)
  5. บัตรประจำตัวประชาชน
  6. ทะเบียนบ้าน
  7. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล / ทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
  8. หลักฐานอื่น ๆ ที่แต่ละหลักสูตรสาขาวิชาต้องการและระบุ เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน สำเนาใบประกอบวิชาชีพ หนังสืออนุมัติจากต้นสังกัด เป็นต้น

 

การส่งไฟล์ (Upload) เอกสารหลักฐานประกอบการสมัคร ผู้สมัครจะต้องส่งไฟล์เอกสารหลักฐานต่างๆ ตามที่แต่ละหลักสูตรสาขาวิชาต้องการหรือระบุไว้ ผู้สมัครอาจสมัครสอบคัดเลือกเข้าศึกษาได้มากกว่า 1 หลักสูตรสาขาวิชา ดังนั้นผู้สมัครจะต้องยื่นเอกสารหลักฐานประกอบการสมัครทุกครั้งที่สมัคร และ/หรือตามจำนวนหลักสูตรสาขาวิชาที่สมัคร

 
 
 

4. วิธีการรับสมัคร

สมัครผ่านระบบ Online Admission ที่ www.grad.mahidol.ac.th
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ ขั้นตอนการสมัครเข้าศึกษา

5. โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๒
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 20            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 5            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 73            หน่วยกิต
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาอื่น ๆ
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 9            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 4            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 49            หน่วยกิต
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาโภชนศาสตร์
หมวดวิชาบังคับ 6            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับวุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความ ชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาวิชาโภชนศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง จากแพทยสภา หรือแพทยสภารับรอง
หมวดวิชาบังคับ 6            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 2

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
รมภศ501 : พื้นฐานโภชนชีววิทยาและชีวเคมี 2
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
รมภศ๖๐๑ : วิทยาศาสตร์โภชนาการ 3
รมภศ๖๐๓ : ชีวสถิติทางโภชนาการ 2
รมภศ๖๐๘ : การประเมินทางโภชนาการ 3
รมภศ๖๐๙ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางโภชนาการ 3
รมภศ๖๒๙ : พิษวิทยาโภชนาการ 1
รมภศ๖๓๗ : การอ่านและการคิดเชิงวิพากษ์ทางโภชนศาสตร์ 2
สภภศ๖๐๕ : วิทยาศาสตร์โภชนาการขั้นสูง 3
สภภศ๖๓๓ : สัมมนาดุษฎีบัณฑิตทางโภชนศาสตร์ 3
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท สาขาอื่นๆ
รมภศ๖๐๑ : วิทยาศาสตร์โภชนาการ 3
สภภศ๖๐๕ : วิทยาศาสตร์โภชนาการขั้นสูง 3
สภภศ๖๓๓ : สัมมนาดุษฎีบัณฑิตทางโภชนศาสตร์ 3
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาโภชนศาสตร์ หรือ สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับวุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาวิชาโภชนศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง จากแพทยสภา หรือแพทยสภารับรอง
สภภศ๖๐๕ : วิทยาศาสตร์โภชนาการขั้นสูง 3
สภภศ๖๓๓ : สัมมนาดุษฎีบัณฑิตทางโภชนศาสตร์ 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
รมภศ๖๓๗ : โภชนาการระดับโลกเพื่อสุขภาพ 3
สภภศ634 : วิทยาการทันสมัยด้านผลกระทบของโภชนาการและพิษวิทยาต่อสุขภาพ 3
สภภศ๖๐๘ : พิษวิทยาโภชนาการขั้นสูง 3
สภภศ๖๒๒ : โภชนาการคลินิกขั้นสูง 3
สภภศ๖๓๑ : โภชนาการทางคาร์โบไฮเดรตและไขมันขั้นสูง 3
สภภศ๖๓๕ : โภชนพันธุศาสตร์ทางการวิจัยโภชนาการ 3
สภภศ๖๓๖ : การประยุกต์ไอโซโทปเสถียรในงานด้านอาหารและโภชนาการ 2
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
สภภศ๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36
สภภศ๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48

6. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

-  นักวิจัย หรือนักวิชาการ ในโรงงานด้านอุตสาหกรรมอาหาร โรงพยาบาล บริษัทผู้ประกอบการด้านอาหารและโภชนาการ 
สถาบันวิจัย หรือสถาบันอุดมศึกษา
-  นักโภชนาการในโรงพยาบาล สถาบันสุขภาพ สถานบริการอาหาร สถานออกกำลังกาย บริษัทผู้ประกอบการด้านอาหารและ
โภชนาการ หรือกระทรวงสาธารณสุข
-  ที่ปรึกษาองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน องค์การระหว่างประเทศ โครงการวิจัย หน่วยงานส่งเสริมสุขภาพ บริษัทผู้ประกอบการ
ด้านอาหารและโภชนาการ

7. รายละเอียดอื่นๆ

จุดเด่นของหลักสูตร

             1) สร้างนักโภชนาการที่สามารถผสมผสาน และประยุกต์พื้นฐานด้านโภชนศาสตร์ เพื่อการปฏิบัติงานในสาขาความเชี่ยวชาญต่างๆ ที่เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ

           2) หลักสูตรเน้นการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้สามารถเป็นผู้สอน/ผู้นำในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับงานด้านโภชนาการ โดยมีให้เลือกด้านต่างๆ 3 ด้าน คือ โภชนาการคลินิก โภชนาการชุมชุน และงานวิจัยด้านโภชนาการ ผู้ที่จบการศึกษาจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการทั้งในระดับโรงพยาบาล มหาวิทยาลัย และหน่วยงานด้านนโยบาย ทั้งในระดับภายในประเทศและระหว่างประเทศ

8. ทุนการศึกษาของหลักสูตร

9. ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ดูรายละเอียด ที่ https://graduate.mahidol.ac.th หัวข้อ อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา

10. ข้อมูลติดต่อ

ประธานหลักสูตร

รศ. ดร. แพทย์หญิงนลินี จงวิริยะพันธุ์ (Assoc. Prof. Nalinee Chongviriyaphan)

Email: nalinee.cho@mahidol.ac.th

สำนักงานหลักสูตรโภชนศาสตร์ ชั้น 2 อาคารวิจัยและสวัสดิการ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

โทร: 0 2201 2625; โทรสาร: 0 2201 2625

ผู้ประสานงานหลักสูตร

1. ผศ. ดร.จินตนา ศิริวราศัย

   Email: jintana.sir@mahidol.ac.th

   กลุ่มสาขาวิชาโภชนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

   อาคารวิจัยและสวัสดิการ ชั้น 2 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

    โทร: 0 2201 2625; โทรสาร: 0 2201 2625

2. นางสาวอลิสา ชีไธสง

    Email: alisa.che@mahidol.ac.th

   กลุ่มสาขาวิชาโภชนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

   อาคารวิจัยและสวัสดิการ ชั้น 2 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

   โทร: 0 2201 2625; โทรสาร: 0 2201 2625

3. นางสาวนันทัชพร คงอำนาจ

   Email: nantouchaporn.kon@mahidol.ac.th

   หน่วยบริหารการศึกษา สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

   โทร: 0 2800 2380 ต่อ 420; โทรสาร: 0 2441 9347

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการสมัคร ติดต่อได้ที่ งานรับนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
โทรศัพท์ 0 2441 4125-38 ต่อ 110-115
gradthai@mahidol.ac.th