เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   29   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


 กำหนดการรับสมัคร:     รอบที่ 1 :     01 พฤศจิกายน 2560 - 15 มกราคม 2561

รหัสหลักสูตร 5201DG00

DOCTOR OF PHILOSOPHY PROGRAM IN NUTRITION

หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาโภชนศาสตร์

วิชาเอก -
ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน โครงการร่วม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สถาบันโภชนาการ
เว็บไซต์ http://www.inmu.mahidol.ac.th/th/academics/curriculum/index.php,http://med.mahidol.ac.th/nutrition
จำนวนที่คาดว่าจะได้รับตลอดปีการศึกษา จำนวน 6 คน

1. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร

1. สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) ทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (biological science) จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาให้การรับรองทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2. สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ หรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาให้การรับรองทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 หรือ สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนศาสตร์ โดยมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 หรือ สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตและได้รับวุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาวิชาโภชนศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง จากแพทยสภา หรือแพทยสภารับรอง
3. สำหรับผู้ที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาโทสาขาวิชาโภชนศาสตร์โครงการร่วมคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีความประสงค์จะเปลี่ยนสถานภาพเป็นนักศึกษาปริญญาเอกสามารถดำเนินการได้ โดยต้องได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 ศึกษามาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี และสอบผ่านเกณฑ์การประเมินความรู้ความสามารถทางภาษาต่างประเทศตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัยระดับปริญญาเอก ทั้งนี้ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
4. ผู้สมัครจะต้องยื่นหนังสือรับรองหรือผลคะแนนความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษขั้น
ต่ำที่รับเข้าศึกษา (ผลสอบภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันที่สมัคร) คือ
- IELTS ที่ระดับ 3 คะแนนขึ้นไป หรือ
- TOEFL INTERNET BASED ที่ระดับ 32 คะแนนขึ้นไป หรือ
- TOEFL ITP (เฉพาะที่จัดสอบโดยบัณฑิตวิทยาลัย) ที่ระดับ 400 คะแนนขึ้นไป

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากประกาศ เรื่องมาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษฯ ที่ : www.grad.mahidol.ac.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษที่งานศูนย์ภาษา บัณฑิตวิทยาลัย
โทร : 0-2441- 4125 ต่อ 221-222
5. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาได้ ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

 

2. กำหนดการสอบคัดเลือก

กำหนดการสอบข้อเขียน
วันเสาร์ 3 กุมภาพันธ์ 2561
เวลา:9.00 - 12.00 น.
สถานที่:ประกาศสถานที่สอบข้อเขียน วันพุธ 31 มกราคม 2561 ที่ www.grad.mahidol.ac.th
 มี  การสอบข้อเขียน โดยมีรายละเอียดดังนี้
- วิชาชีววิทยา
- วิชาความรู้พื้นฐานทางสรีรวิทยา
- วิชาAdvanced Human Nutrition and Metabolism

3. หลักฐานการสมัคร

ผู้สมัครต้องสแกนเอกสาร โดยใช้เครื่องสแกนเนอร์หรืออุปกรณ์ที่รองรับการสแกนเอกสารเป็นไฟล์ PDF เท่านั้น (ยกเว้นเฉพาะรูปถ่ายให้เป็นไฟล์ JPEG)

 

  1. หนังสือรับรองหรือผลคะแนนความรู้ภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา (ผลสอบภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันที่สมัคร)
  2. หลักฐานแสดงคุณวุฒิการศึกษา (ปริญญาบัตร / หนังสือรับรองจากสถาบันการศึกษาว่ากำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษาสุดท้ายหรืออยู่ระหว่างการทำวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ (โดยมีกำหนดที่จะสำเร็จการศึกษา ภายในปีการศึกษา 2560)
  3. หลักฐานแสดงผลการศึกษา (Academic Transcript / Grade Report) ฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  4. รูปถ่าย ขนาดไฟล์ไม่เกิน 2MB  (รูปหน้าตรง ชุดสุภาพไม่สวมแว่นตาดำหรือหมวก ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน)
  5. บัตรประจำตัวประชาชน
  6. ทะเบียนบ้าน
  7. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล / ทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
  8. หลักฐานอื่น ๆ ที่แต่ละหลักสูตรสาขาวิชาต้องการและระบุ เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน สำเนาใบประกอบวิชาชีพ หนังสืออนุมัติจากต้นสังกัด เป็นต้น

 

การส่งไฟล์ (Upload) เอกสารหลักฐานประกอบการสมัคร ผู้สมัครจะต้องส่งไฟล์เอกสารหลักฐานต่างๆ ตามที่แต่ละหลักสูตรสาขาวิชาต้องการหรือระบุไว้ ผู้สมัครอาจสมัครสอบคัดเลือกเข้าศึกษาได้มากกว่า 1 หลักสูตรสาขาวิชา ดังนั้นผู้สมัครจะต้องยื่นเอกสารหลักฐานประกอบการสมัครทุกครั้งที่สมัคร และ/หรือตามจำนวนหลักสูตรสาขาวิชาที่สมัคร

 
 
 

4. วิธีการรับสมัคร

สมัครผ่านระบบ Online Admission ที่ www.grad.mahidol.ac.th
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ ขั้นตอนการสมัครเข้าศึกษา

5. โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๒
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดวิชาบังคับ 24            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 7            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาอื่นๆ
หมวดวิชาบังคับ 16            หน่วยกิต
หมดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาโภชนศาสตร์
หมวดวิชาบังคับ 6            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี
รมภศ๖๐๑ : วิทยาศาสตร์โภชนาการ 4
รมภศ๖๐๓ : ชีวสถิติทางโภชนาการ 2
รมภศ๖๐๔ : การสื่อสารโภชนาการ 2
รมภศ๖๐๘ : การประเมินทางโภชนาการ 4
รมภศ๖๐๙ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางโภชนาการ 3
รมภศ๖๑๑ : การศึกษาโดยใช้ปัญหาทางโภชนาการเป็นฐาน 2
รมภศ๖๑๒ : การอ่านและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 1
สภภศ๖๐๕ : วิทยาศาสตร์โภชนาการขั้นสูง 4
สภภศ๖๐๖ : สัมมนาพิเศษทางโภชนาการ 2
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาตรี/ผู้สำเร็จปริญญาโทสาขาอื่น
สภภศ๖๐๖ : สัมมนาพิเศษทางโภชนาการ 2
   สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท สาขาวิชาโภชนศาสตร์
สภภศ๖๐๕ : วิทยาศาสตร์โภชนาการขั้นสูง 4
สภภศ๖๐๖ : สัมมนาพิเศษทางโภชนาการ 2
   สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท สาขาอื่น ๆ
รมภศ๖๐๑ : วิทยาศาสตร์โภชนาการ 4
รมภศ๖๐๘ : การประเมินทางโภชนาการ 4
รมภศ๖๑๑ : การศึกษาโดยใช้ปัญหาทางโภชนาการเป็นฐาน 2
สภภศ๖๐๕ : วิทยาศาสตร์โภชนาการขั้นสูง 4
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
สภภศ๖๐๘ : พิษวิทยาทางโภชนวิทยาขั้นสูง 2
สภภศ๖๐๙ : โภชนาการเชิงการทดลอง 2
สภภศ๖๑๑ : โภชนศาสตร์กับสถานการณ์ปัจจุบันทางพิษวิทยา 2
สภภศ๖๒๒ : โภชนาการคลินิกขั้นสูง 3
สภภศ๖๒๕ : โภชนาการชุมชนขั้นสูง 3
สภภศ๖๒๖ : โปรตีนและกรดอะมิโนขั้นสูง 3
สภภศ๖๓๑ : โภชนาการทางคาร์โบไฮเดรตและไขมันขั้นสูง 3
สภภศ๖๓๒ : โภชนาการขั้นสูงในวิตามินและเกลือแร่ 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
สภภศ๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36
สภภศ๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48

6. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

๑. นักวิจัย หรือนักวิชาการ ในโรงงานด้านอุตสาหกรรมอาหาร โรงพยาบาล บริษัทผู้ประกอบการด้านอาหารและโภชนาการ หรือสถาบันวิจัย
๒. นักโภชนาการในโรงพยาบาล สถาบันสุขภาพ สถานบริการอาหาร สถานออกกำลังกาย บริษัทผู้ประกอบการด้านอาหารและโภชนาการ หรือกระทรวงสาธารณสุข
๓. ที่ปรึกษาองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน องค์การระหว่างประเทศ โครงการวิจัย หน่วยงานส่งเสริมสุขภาพ บริษัทผู้ประกอบการด้านอาหารและโภชนาการ
๔. นักวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา

7. รายละเอียดอื่นๆ

จุดเด่นของหลักสูตร

             1) สร้างนักโภชนาการที่สามารถผสมผสาน และประยุกต์พื้นฐานด้านโภชนศาสตร์ เพื่อการปฏิบัติงานในสาขาความเชี่ยวชาญต่างๆ ที่เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ

           2) หลักสูตรเน้นการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้สามารถเป็นผู้สอน/ผู้นำในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับงานด้านโภชนาการ โดยมีให้เลือกด้านต่างๆ 3 ด้าน คือ โภชนาการคลินิก โภชนาการชุมชุน และงานวิจัยด้านโภชนาการ ผู้ที่จบการศึกษาจากหลักสูตรนี้สามารถทำงานที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการทั้งในระดับโรงพยาบาล มหาวิทยาลัย และหน่วยงานด้านนโยบาย ทั้งในระดับภายในประเทศและระหว่างประเทศ

8. ทุนการศึกษาของหลักสูตร

9. ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ดูรายละเอียด ที่ https://graduate.mahidol.ac.th หัวข้อ อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา

10. ข้อมูลติดต่อ

ประธานหลักสูตร

รศ. ดร. แพทย์หญิงนลินี จงวิริยะพันธุ์ (Assoc. Prof. Nalinee Chongviriyaphan)

Email: nalinee.cho@mahidol.ac.th

สำนักงานหลักสูตรโภชนศาสตร์ ชั้น 2 อาคารวิจัยและสวัสดิการ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

โทร: 0 2201 2625; โทรสาร: 0 2201 2625

ผู้ประสานงานหลักสูตร

1. ผศ. ดร.จินตนา ศิริวราศัย

   Email: jintana.sir@mahidol.ac.th

   กลุ่มสาขาวิชาโภชนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

   อาคารวิจัยและสวัสดิการ ชั้น 2 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

    โทร: 0 2201 2625; โทรสาร: 0 2201 2625

2. นางสาวอลิสา ชีไธสง

    Email: alisa.che@mahidol.ac.th

   กลุ่มสาขาวิชาโภชนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

   อาคารวิจัยและสวัสดิการ ชั้น 2 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

   โทร: 0 2201 2625; โทรสาร: 0 2201 2625

3. นางสาวนันทัชพร คงอำนาจ

   Email: nantouchaporn.kon@mahidol.ac.th

   หน่วยบริหารการศึกษา สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

   โทร: 0 2800 2380 ต่อ 420; โทรสาร: 0 2441 9347

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการสมัคร ติดต่อได้ที่ งานรับนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
โทรศัพท์ 0 2441 4125-38 ต่อ 110-115
gradthai@mahidol.ac.th