เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันศุกร์ที่   29   มีนาคม   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


 กำหนดการรับสมัคร:     รอบที่ 2 :     16 มกราคม 2561 - 20 เมษายน 2561

รหัสหลักสูตร 2510DG00

DOCTOR OF PHILOSOPHY PROGRAM IN MEDICAL AND PUBLIC HEALTH SOCIAL SCIENCES

หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข

วิชาเอก -
ระดับ ปริญญาเอก
คณะ/สถาบัน คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.sh.mahidol.ac.th
จำนวนที่คาดว่าจะได้รับตลอดปีการศึกษา จำนวน 10 คน

1. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร

  1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต  หรือทันตแพทยศาสตรบัณฑิต หรือเภสัชศาสตรบัณฑิตโดยมีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า  3.50
  2. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท  และได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 3.50
  3. ผู้สมัครที่กำลังศึกษาระดับปริญญาโท  ภาควิชาสังคมและสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล  ที่ได้ศึกษารายวิชาของหลักสูตรปริญญาโทครบตามหลักสูตร  ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 3.50  ได้สอบผ่านการวัดคุณสมบัติการเปลี่ยนสถานภาพเป็นนักศึกษาปริญญาเอก  และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ปริญญาโทที่กำลังศึกษา  จากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปริญญาเอกที่ประสงค์เข้าศึกษา  และจากคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยมหิดล
  4. ผู้สมัครจะต้องยื่นหนังสือรับรองหรือผลคะแนนความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา (ผลสอบภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน  2  ปี นับถึงวันที่สมัคร)  คือ
  • IELTS                                                                       ที่ระดับ  3  คะแนนขึ้นไป    หรือ
  • TOEFL INTERNET BASED                                    ที่ระดับ  32  คะแนนขึ้นไป  หรือ
  • TOEFL ITP (เฉพาะที่จัดสอบโดยบัณฑิตวิทยาลัย)           ที่ระดับ  400  คะแนนขึ้นไป

 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากประกาศ เรื่องมาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษฯ ที่ : www.grad.mahidol.ac.th

หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษที่งานศูนย์ภาษา  บัณฑิตวิทยาลัย    

โทร :  0-2441-4125  ต่อ  221-222

5.   ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น อาจให้สมัครเข้าศึกษาได้ตามดุลยพินิจของ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

2. กำหนดการสอบคัดเลือก

กำหนดการสอบข้อเขียน
หลักสูตรสาขาวิชานี้ ไม่มีการสอบข้อเขียน

3. หลักฐานการสมัคร

ผู้สมัครต้องสแกนเอกสาร โดยใช้เครื่องสแกนเนอร์หรืออุปกรณ์ที่รองรับการสแกนเอกสารเป็นไฟล์ PDF เท่านั้น (ยกเว้นเฉพาะรูปถ่ายให้เป็นไฟล์ JPEG)

 

  1. หนังสือรับรองหรือผลคะแนนความรู้ภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา (ผลสอบภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันที่สมัคร)
  2. หลักฐานแสดงคุณวุฒิการศึกษา (ปริญญาบัตร / หนังสือรับรองจากสถาบันการศึกษาว่ากำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษาสุดท้ายหรืออยู่ระหว่างการทำวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ (โดยมีกำหนดที่จะสำเร็จการศึกษา ภายในปีการศึกษา 2560)
  3. หลักฐานแสดงผลการศึกษา (Academic Transcript / Grade Report) ฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  4. รูปถ่าย ขนาดไฟล์ไม่เกิน 2MB  (รูปหน้าตรง ชุดสุภาพไม่สวมแว่นตาดำหรือหมวก ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน)
  5. บัตรประจำตัวประชาชน
  6. ทะเบียนบ้าน
  7. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล / ทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
  8. หลักฐานอื่น ๆ ที่แต่ละหลักสูตรสาขาวิชาต้องการและระบุ เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน สำเนาใบประกอบวิชาชีพ หนังสืออนุมัติจากต้นสังกัด เป็นต้น

 

การส่งไฟล์ (Upload) เอกสารหลักฐานประกอบการสมัคร ผู้สมัครจะต้องส่งไฟล์เอกสารหลักฐานต่างๆ ตามที่แต่ละหลักสูตรสาขาวิชาต้องการหรือระบุไว้ ผู้สมัครอาจสมัครสอบคัดเลือกเข้าศึกษาได้มากกว่า 1 หลักสูตรสาขาวิชา ดังนั้นผู้สมัครจะต้องยื่นเอกสารหลักฐานประกอบการสมัครทุกครั้งที่สมัคร และ/หรือตามจำนวนหลักสูตรสาขาวิชาที่สมัคร

 
 
 

4. วิธีการรับสมัคร

สมัครผ่านระบบ Online Admission ที่ www.grad.mahidol.ac.th
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ ขั้นตอนการสมัครเข้าศึกษา

5. โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๒
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข หรือสังคมศาสตร์สุขภาพ
หมวดวิชาบังคับ 9            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาอื่น ๆ
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 15            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 54            หน่วยกิต
แบบ ๒.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 18            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 72            หน่วยกิต
รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 2

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
   สำหรับผู้ที่สำเร็จปริญญาตรี และสำหรับผู้ที่สำเร็จปริญญาโท สาขาวิชาอื่นๆ
สมพส๕๒๓ : พื้นฐานเบื้องต้นทางสังคมศาสตร์ 3
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้ที่สำเร็จปริญญาตรี
สมพส๕๐๖ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
สมพส๕๐๗ : แนวคิดและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
สมพส๕๐๘ : สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขประยุกต์ 3
สมพส๖๐๐ : ปรัชญาและทฤษฎีสังคมศาสตร์ 3
สมพส๖๐๑ : วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ขั้นสูง 3
สมพส๖๐๒ : สัมมนาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
   สำหรับผู้ที่สำเร็จปริญญาโท สาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข หรือสาขาวิชาสังคมศาสตร์และสุขภาพ
สมพส๖๐๐ : ปรัชญาและทฤษฎีสังคมศาสตร์ 3
สมพส๖๐๑ : วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ขั้นสูง 3
สมพส๖๐๒ : สัมมนาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
   สำหรับผู้ที่สำเร็จปริญญาโท สาขาวิชาอื่นๆ
สมพส๕๐๗ : แนวคิดและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
สมพส๕๐๘ : สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขประยุกต์ 3
สมพส๖๐๐ : ปรัชญาและทฤษฎีสังคมศาสตร์ 3
สมพส๖๐๑ : วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ขั้นสูง 3
สมพส๖๐๒ : สัมมนาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
สมพส๕๐๑ : สังคมวิทยาสุขภาพ 3
สมพส๕๐๒ : มานุษยวิทยาการแพทย์ 3
สมพส๕๐๓ : จิตวิทยาสุขภาพ 3
สมพส๕๐๔ : เศรษฐศาสตร์สุขภาพ 3
สมพส๕๐๕ : สถิติสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
สมพส๖๐๓ : ทฤษฎีและประเด็นเชิงประจักษ์ในการวิจัยและบริหารการบริการสุขภาพ 3
สมพส๖๐๔ : มานุษยวิทยาเควียร์ทางเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ 3
สมพส๖๐๕ : ระบาดวิทยาสังคม : ทฤษฎีและวิธีการ 3
สมพส๖๐๗ : การศึกษาดูงานในอาเซียนด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
สมพส๖๐๘ : โลกาภิวัตน์และสุขภาพ 3
สมพส๖๐๙ : เพศภาวะ เพศวิถี และสุขภาพ 3
สมพส๖๑๐ : ทฤษฎีสังคมวิทยาสุขภาพ 3
สมพส๖๑๑ : ทฤษฎีสังคมวิทยาสุขภาพร่วมสมัย 3
สมพส๖๑๒ : ทฤษฎีองค์การ 3
สมพส๖๑๓ : การวิเคราะห์และการพัฒนาระบบสุขภาพ 3
สมพส๖๑๔ : สถาบันการศึกษาและความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพ 3
สมพส๖๑๕ : งานและความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพ 3
สมพส๖๑๖ : ทฤษฎีสตรีนิยม 3
สมพส๖๑๗ : การวิจัยนโยบายและระบบสุขภาพ 3
สมพส๖๑๘ : การเคลื่อนย้ายของประชากรและสุขภาพระหว่างประเทศ 3
สมพส๖๑๙ : วิธีการวิจัยเชิงปริมาณขั้นสูง 3
สมพส๖๒๐ : แนวคิดและทฤษฎีทางมานุษยวิทยาและมานุษยวิทยาการแพทย์ 3
สมพส๖๒๒ : วัฒนธรรม ความทุกข์ทางสังคมและสุขภาพ 3
สมพส๖๒๓ : การวิเคราะห์การตัดสินใจในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ 3
สมพส๖๒๔ : การวิจัยประเมินผลประเด็นทางการแพทย์และสาธารณสุข 3
สมพส๖๒๕ : มานุษยวิทยาดิจิตอลและสุขภาพ 3
สมพส๖๒๖ : หลักการของตัวกำหนดสุขภาพเชิงสังคม 3
สมพส๖๒๗ : สังคมศาสตร์อนามัยการเจริญพันธุ์ 3
สมพส๖๒๘ : การวิจัยและการปฏิบัติด้านการพัฒนาสุขภาพ 3
สมพส๖๒๙ : สังคมในฐานะตัวกำหนดสุขภาพ 3
สมพส๖๓๑ : บุคลิกภาพ สุขภาพ และความเจ็บป่วย 3
สมพส๖๓๒ : จิตวิทยาสังคมและจิตวิทยาเชิงบวกทางสุขภาพ 3
สมพส๖๓๓ : จิตวิทยาอปกติ 3
สมพส๖๔๑ : การวางแผนและนโยบายสาธารณสุข 3
สมพส๖๔๒ : นโยบายสาธารณะและสุขภาพ 3
สมพส๖๔๓ : ระบบประกันสุขภาพ 3
สมพส๖๕๐ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ 3
สมพส๖๖๐ : การอ่านตามกำหนดทางสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
สมพส๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36
สมพส๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48

6. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

-  นักวิชาการด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข
-  นักวิจัยด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข
-  นักวิเคราะห์นโยบายด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข
-  ผู้นำองค์กรด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข
-  ผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขในระดับอุดมศึกษา

7. รายละเอียดอื่นๆ

-

8. ทุนการศึกษาของหลักสูตร

9. ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ดูรายละเอียด ที่ https://graduate.mahidol.ac.th หัวข้อ อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา

10. ข้อมูลติดต่อ

ประธานหลักสูตร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โธมัส กวาดามูซ

Email : thomas.gua@mahidol.ac.th

ภาควิชาสังคมและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Tel. 028002840-60 ต่อ 1228

ผู้ประสานงานหลักสูตร

นางสาวธิดาพร บุญเม่น

Email: tidaporn.bon@mahidol.edu

ภาควิชาสังคมและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Tel 028002840-60 ต่อ 1277

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการสมัคร ติดต่อได้ที่ งานรับนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
โทรศัพท์ 0 2441 4125-38 ต่อ 110-115
gradthai@mahidol.ac.th