เปิดให้ทดลองใช้งานเว็บไซต์หลัก (เวอร์ชั่นใหม่)Go

   วันพฤหัสบดีที่   25   เมษายน   พ.ศ. 2567

ผู้สนใจเข้าศึกษา


 กำหนดการรับสมัคร:     รอบที่ 1 :     01 พฤศจิกายน 2560 - 15 มกราคม 2561

รหัสหลักสูตร 2313MG00

MASTER OF SCIENCE (PUBLIC HEALTH) PROGRAM IN INFECTIOUS DISEASES AND EPIDEMIOLOGY

หลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาโรคติดเชื้อและวิทยาการระบาด

วิชาเอก -
ระดับ ปริญญาโท
คณะ/สถาบัน คณะสาธารณสุขศาสตร์
เว็บไซต์ http://www.ph.mahidol.ac.th
จำนวนที่คาดว่าจะได้รับตลอดปีการศึกษา จำนวน 30 คน

1. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร

 
  1. สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์  ชีววิทยา  เทคนิคการแพทย์  จุลชีววิทยา  เกษตรศาสตร์  หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ  สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต  พยาบาลศาสตรบัณฑิต  เภสัชศาสตรบัณฑิต  สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต  ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต แพทยศาสตรบัณฑิต

      2.  ได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50

      3.  ผู้สมัครจะต้องยื่นหนังสือรับรองหรือผลคะแนนความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษขั้นต่ำ

           ที่รับเข้าศึกษา (ผลสอบภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน  2  ปี นับถึงวันที่สมัคร)  คือ

  • IELTS                                                                   ที่ระดับ  3  คะแนนขึ้นไป หรือ
  • TOEFL INTERNET BASED                                 ที่ระดับ  32  คะแนนขึ้นไป หรือ
  • TOEFL ITP (เฉพาะที่จัดสอบโดยบัณฑิตวิทยาลัย)    ที่ระดับ  400  คะแนนขึ้นไป หรือ
  • MU GRAD TEST (COMPUTER BASED)             ที่ระดับ  36  คะแนนขึ้นไป

 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากประกาศ เรื่องมาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษฯ ที่ : www.grad.mahidol.ac.th

หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษที่งานศูนย์ภาษา  บัณฑิตวิทยาลัย    

โทร :  0-2441-4125  ต่อ  221-222

       4. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น อาจให้สมัครเข้าศึกษาได้ตามดุลยพินิจของ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

 

2. กำหนดการสอบคัดเลือก

กำหนดการสอบข้อเขียน
วันเสาร์ 3 กุมภาพันธ์ 2561
เวลา:9.00 - 12.00 น.
สถานที่:ประกาศสถานที่สอบข้อเขียน วันพุธ 31 มกราคม 2561 ที่ www.grad.mahidol.ac.th
 มี  การสอบข้อเขียน โดยมีรายละเอียดดังนี้
- วิชาจุลชีววิทยา
- วิชาสาธารณสุขศาสตร์

3. หลักฐานการสมัคร

ผู้สมัครต้องสแกนเอกสาร โดยใช้เครื่องสแกนเนอร์หรืออุปกรณ์ที่รองรับการสแกนเอกสารเป็นไฟล์ PDF เท่านั้น (ยกเว้นเฉพาะรูปถ่ายให้เป็นไฟล์ JPEG)

 

  1. หนังสือรับรองหรือผลคะแนนความรู้ภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา (ผลสอบภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันที่สมัคร)
  2. หลักฐานแสดงคุณวุฒิการศึกษา (ปริญญาบัตร / หนังสือรับรองจากสถาบันการศึกษาว่ากำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษาสุดท้ายหรืออยู่ระหว่างการทำวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ (โดยมีกำหนดที่จะสำเร็จการศึกษา ภายในปีการศึกษา 2560)
  3. หลักฐานแสดงผลการศึกษา (Academic Transcript / Grade Report) ฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  4. รูปถ่าย ขนาดไฟล์ไม่เกิน 2MB  (รูปหน้าตรง ชุดสุภาพไม่สวมแว่นตาดำหรือหมวก ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน)
  5. บัตรประจำตัวประชาชน
  6. ทะเบียนบ้าน
  7. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล / ทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
  8. หลักฐานอื่น ๆ ที่แต่ละหลักสูตรสาขาวิชาต้องการและระบุ เช่น หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน สำเนาใบประกอบวิชาชีพ หนังสืออนุมัติจากต้นสังกัด เป็นต้น

 

การส่งไฟล์ (Upload) เอกสารหลักฐานประกอบการสมัคร ผู้สมัครจะต้องส่งไฟล์เอกสารหลักฐานต่างๆ ตามที่แต่ละหลักสูตรสาขาวิชาต้องการหรือระบุไว้ ผู้สมัครอาจสมัครสอบคัดเลือกเข้าศึกษาได้มากกว่า 1 หลักสูตรสาขาวิชา ดังนั้นผู้สมัครจะต้องยื่นเอกสารหลักฐานประกอบการสมัครทุกครั้งที่สมัคร และ/หรือตามจำนวนหลักสูตรสาขาวิชาที่สมัคร

 
 
 

4. วิธีการรับสมัคร

สมัครผ่านระบบ Online Admission ที่ www.grad.mahidol.ac.th
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ ขั้นตอนการสมัครเข้าศึกษา

5. โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก ๒
หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาแกน 8            หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ 13            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 39            หน่วยกิต
รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน หน่วยกิต
สศจว๕๐๐ : จุลชีววิทยาและวิทยาภูมิคุ้มกันสาธารณสุข ๑ 2
สศปว๕๐๓ : ปรสิตวิทยาขั้นหลักมูล 2
สศอช๕๐๒ : การสาธารณสุขใหม่ 3
หมวดวิชาแกน หน่วยกิต
สศชส๖๐๒ : ชีวสถิติ ข 3
สศรบ๖๐๒ : หลักวิทยาการระบาด 3
   และเลือก ๑ รายวิชา จากรายวิชาต่อไปนี้
สศคร๖๖๓ : พื้นฐานอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย 2
สศบส๖๗๒ : การบริหารงานสาธารณสุขทั่วไป 2
สศสษ๖๒๐ : สุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ 2
หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
สศคร๖๑๑ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัยในงานด้านโรคติดเชื้อและวิทยาการระบาด 2
สศคร๖๑๘ : การจัดการควบคุมโรคติดเชื้อ 2
สศจว๖๑๑ : จุลชีววิทยาและวิทยาภูมิคุ้มกันสาธารณสุข ๒ 3
สศปว๖๒๗ : ปรสิตวิทยาสาธารณสุขขั้นสูง 3
สศรบ๖๐๔ : วิธีการทางสถิติในงานวิทยาการระบาด ๑ 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
   รายวิชาเลือก กลุ่มวิชาจุลชีววิทยา
สศจว๖๐๑ : จุลชีววิทยาขั้นหลักมูล 3
สศจว๖๐๒ : นิเวศวิทยาและวิทยาการระบาดของโรคติดเชื้อ 3
สศจว๖๐๔ : วิทยาภูมิคุ้มกันขั้นหลักมูล 3
สศจว๖๑๐ : จุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อมประยุกต์ 2
สศจว๖๑๒ : วิธีการทางห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาสาธารณสุขและวิทยาภูมิคุ้มกัน 3
สศจว๖๑๓ : สัมมนาโรคติดเชื้อ 2
สศจว๖๑๔ : การควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ 2
สศจว๖๑๗ : วิธีการทางห้องปฏิบัติการวิทยาภูมิคุ้มกันทางสาธารณสุข 2
สศจว๖๑๘ : สุขภาพและการเดินทาง 2
สศจว๖๒๐ : การตรวจวินิจฉัยทางจุลชีววิทยาระดับโมเลกุล 2
สศจว๖๒๑ : การป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อระดับโลก 2
สศจว๖๒๒ : สัมมนาโรครับจากสัตว์ 2
สศจว๖๒๓ : การประยุกต์เทคโนโลยีวัคซีนทางสาธารณสุข 2
สศจว๖๒๕ : วิธีการระดับโมเลกุลด้านโรคติดเชื้อ 2
สศจว๖๒๗ : วิทยาภูมิคุ้มกันของโรคติดเชื้อ 2
สศจว๖๓๒ : การประเมินความเสี่ยงทางจุลชีววิทยา 2
สศจว๖๙๕ : การศึกษาพิเศษ 2
   รายวิชาเลือก กลุ่มวิชาปรสิตวิทยาและกีฎวิทยา
สศปว๖๐๐ : ชีววิทยาระดับโมเลกุลของโรคปรสิต 3
สศปว๖๐๑ : การควบคุมโรคปรสิตระดับโมเลกุล 3
สศปว๖๐๓ : ปรสิตวิทยาสิ่งแวดล้อม 3
สศปว๖๐๙ : กีฎวิทยาทางการแพทย์ 3
สศปว๖๑๑ : เทคนิคขั้นสูงทางปรสิตวิทยา 2
สศปว๖๑๒ : โรคปรสิตทางด้านสาธารณสุข 3
สศปว๖๑๓ : การวินิจฉัยทางปรสิตวิทยา 3
สศปว๖๑๔ : ชีวสารสนเทศศาสตร์พื้นฐาน 3
สศปว๖๒๑ : การควบคุมพาหะ 3
สศปว๖๘๔ : โครงการพิเศษทางปรสิตวิทยา 3
สศปว๖๙๒ : วัคซีนวิทยาสาธารณสุข 2
สศปว๖๙๕ : สัมมนาปรสิตวิทยา 2
   รายวิชาเลือก กลุ่มวิชาวิทยาการระบาด
สศคร๖๘๖ : วิทยาการระบาดสิ่งแวดล้อมและระดับโมเลกุลทางสาธารณสุข 3
สศรบ๖๐๓ : การศึกษาทางวิทยาการระบาดของโรคติดเชื้อ 3
สศรบ๖๑๖ : วิทยาการระบาดของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและการบาดเจ็บ 3
สศรบ๖๒๑ : สัมมนาทางวิทยาการระบาด ๑ 2
สศรบ๖๖๖ : การฝึกปฏิบัติภาคสนามทางการควบคุมโรคประจำถิ่น 2
สศรบ๖๖๘ : คอมพิวเตอร์และการจัดการระบบสารสนเทศทางการศึกษาวิทยาการระบาด 3
สศรบ๖๙๗ : การศึกษาพิเศษทางวิทยาการระบาด 2
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   วิทยานิพนธ์ กลุ่มวิชาจุลชีววิทยา
สศจว๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12
   วิทยานิพนธ์ กลุ่มปรสิตวิทยาและกีฎวิทยา
สศปว๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12
   วิทยานิพนธ์ กลุ่มวิชาวิทยาการระบาด
สศรบ๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

6. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

-  นักวิชาการสาธารณสุขด้านโรคติดเชื้อ จุลชีววิทยา ปรสิตวิทยาและกีฏวิทยา ระบาดวิทยา
-  นักวิจัยด้านโรคติดเชื้อ จุลชีววิทยา ปรสิตวิทยาและกีฏวิทยา ระบาดวิทยา
-  นักวิชาการ และนักวิจัยในสถาบันวิชาการภาครัฐและเอกชน  องค์กรระหว่างประเทศและองค์กรอิสระ  
-  ผู้ถ่ายทอดความรู้ในสถาบันอุดมศึกษาด้านโรคติดเชื้อ จุลชีววิทยา ปรสิตวิทยาและกีฏวิทยา
และระบาดวิทยา
-  งานอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

7. รายละเอียดอื่นๆ

-

8. ทุนการศึกษาของหลักสูตร

-

9. ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ดูรายละเอียด ที่ https://graduate.mahidol.ac.th หัวข้อ อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา

10. ข้อมูลติดต่อ

ประธานหลักสูตร

รศ.ดร.วิศิษฎ์  ฉวีพจน์กำจร

email : wiziz.cha@mahidol.ac.th

ภาควิชาระบาดวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โทร. 02 354 8541 / 02 354 8562

ผู้ประสานงานหลักสูตร

นางเปรมประภา  นุตโรจน์

e-mail : premprapa.nut@mahidol.ac.th

ภาควิชาระบาดวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โทร. 02 354 8541 / 02 354 8562

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการสมัคร ติดต่อได้ที่ งานรับนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
โทรศัพท์ 0 2441 4125-38 ต่อ 110-115
gradthai@mahidol.ac.th