ประเภทโครงการและการรองรับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
ประเภทใดประเภทหนึ่ง
ด้านบำเพ็ญประโยชน์หรืออาสาพัฒนา
ด้านศิลปวัฒนธรรม
ด้านการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม
ด้านกีฬา
ด้านวิชาการ
ด้านการนันทนาการ
ด้านบริหารงาน
ด้านพัฒนาวิชาชีพ
ด้านอื่น ๆ
รองรับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ม.มหิดล ในข้อต่อไปนี้
Mastery : ความชำนาญ, อำนาจควบคุม (ตนเอง), ความรอบรู้
Altruism : ความไม่เห็นแก่ตัว, ความเห็นแก่ผู้อื่น
Harmony : ความสามัคคี, ความปรองดอง, ความกลมกลืน, ความลงรอยกัน
Integrity : ความซื่อสัตย์, การรวมเป็นหนึ่ง, การไม่แบ่งแยก
Determination : ความมุ่งมั่น, ความตั้งใจมั่น, ความมุมานะ, ความแน่วแน่
Originality : ส่วนรวม ความแปลกใหม่,ความไม่เหมือนใคร, นวัตกรรม
Leadership : ความเป็นผู้นำ
หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันเป็นยุคของการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทำให้ทุกคนสามารถกลายเป็นผู้ผลิตและขายสินค้าได้ง่ายขึ้นซึ่งหากไม่ตระหนักถึงคู่แข่งและไม่เริ่มพัฒนานวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ หรือ สินค้าภายในองค์กร อาจจะทำให้มีคู่แข่งที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องและสามารถหันมาแย่งลูกค้าได้ บัณฑิตวิทยาลัยเป็นองค์กรหนึ่งที่ส่งเสริมการพัฒนาให้นักศึกษาจบออกไปและทำงานในองค์กรไม่ว่าจะเป็นองค์กรการศึกษา ธุรกิจ ภาครัฐ หรือ เอกชน ซึ่งนักศึกษาเหล่านั้นต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดโลกตลอดเวลา ดังนั้นการบ่มเพาะนักศึกษาให้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถ ในการพัฒนาด้วยเครื่องมือวิธีการที่ให้ความสำคัญกับกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้า (design thinking หรือ human centered design) จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะสามารถช่วยให้นักศึกษาสามารถออกไปทำงาน พัฒนาการทำงาน พัฒนานวัตกรรม สินค้า และ การบริการและพัฒนาองค์กรในอนาคตของนักศึกษาได้อย่างมีหลักการและแนวทางที่ชัดเจน Design Thinking เป็นกระบวนการคิดเชิงออกแบบที่ผสมความคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) และความคิดเชิงธุรกิจ (Business thinking)เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างเป็นระบบโดยมีหลักสำคัญคือการเข้าใจความต้องการและปัญหาของกลุ่มเป้าหมายโดยผ่านการระดมความคิดเพื่อค้นหาทางแก้ไขและการเรียนรู้และลงมือทำเพื่อสร้างคุณค่าและนวัตกรรม ซึ่ง Design Thinking สามารถนำความคิดสร้างสร้างสรรค์และแนวทางการแก้ปัญหามาต่อยอดออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรมให้จับต้องได้ รวมทั้งการเข้าใจผู้คน การทำงานเป็นทีม ตลอดจนสร้างคุณค่า และสามารถสร้างผลประโยชน์ในเชิงพาณิยช์ได้เช่นกัน การคิดแบบ Design Thinking สามารถนำไปใช้ในการพัฒนานวัตกรรมได้ตั้งแต่นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation) การพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม (Product Innovation) และ นวัตกรรมการบริการ (Service Innovation) ที่สร้างคุณค่าที่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้า โครงการนี้จะช่วยเพิ่มทักษะทางความคิดสร้างสรรค์ผ่านการเรียนรู้แบบ Design Thinking ให้นักศึกษาได้มีการคิดอย่างเป็นระบบ ใช้หลักการของ design thinking พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้นักศึกษากล้าคิดและทำสิ่งใหม่ๆ เพื่อในอนาคตนักศึกษาสามารถใช้เป็นทักษะพื้นฐานเพื่อพัฒนาต่อยอดสร้างคุณค่าให้เป็นนวัตกรรมเพื่อให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
วัตถุประสงค์
เพื่ออธิบายหลักการของ Design process และเทคนิคการพัฒนานวัตกรรมทั้งด้านผลิตภัณฑ์และการบริการให้ตรงใจลูกค้า
กลุ่มเป้าหมาย
- นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาต่าง ๆ (นักศึกษาไทย) จำนวน 100 คน
- คณะกรรมการทำงานในกิจกรรม จำนวน 0 คน
วิธีการอบรม
หัวข้อในการบรรยาย
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- นักศึกษาสามารถอธิบายหลักการคิดแบบสร้างสรรค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมสินค้าและการบริการ
- นักศึกษาสามารถอธิบายหลักการของ Design Thinking Process เพื่อสร้างสรรค์ผลงานด้านผลิตภัณฑ์และบริการให้ตรงใจลูกค้า