วันมาฆบูชา (Magha Puja Day)

Magha Puja Day is one of the most important Buddhist celebrations which falls on the full moon day of the third lunar month (about last week of February or early of March).
วันมาฆบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาลนา ตรงกับวันเพ็ญเดือน 3 (ประมาณสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ หรือต้นเดือนมีนาคม)

This day marks the great four events that took place during Lord Buddha's lifetime, namely;
วันนี้ เป็นวันที่ระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล กล่าวคือ

1) 1250 Buddhist monks from different places came to pay homage to Lord Buddha at Valuwan Vihara in Rajgaha, the capital of Magaha State, each of his own initiative and without prior notification or appointment.
ภิกษุจำนวน 1,250 รูปจากที่ต่างๆกันเดินทางมาเองโดยมิได้นัดหมายแต่ประการใด เพื่อสักการะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เวฬุวันวิหาร ในกรุงราชคฤห์ เมืองมคธ

2) all of them were the enlightened monks (or Arahantas)
ภิกษุทั้งหมดล้วนแต่เป็นผู้ได้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุกองค์

3) all of them had been individually ordained by Lord Buddha himself (Ehi Bhikkhu)
ภิกษุเหล่านั้นล้วนเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือ พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ทั้งสิ้น

4) They assembled on the full moon day of the third lunar month.
วันนั้นเป็นวันเพ็ญ เดือนมาฆะ

On the evening of that day, Lord Buddha gave the assembly a discourse "Ovadha Patimokha" laying down the principles of His Teachings summarised into three acts, i.e. to do good, to abstain from bad action and to purify the mind.
ในตอนเย็นของวันนั้น พระพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาฏิโมกข์" อันเป็นหลักสอนสำคัญที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนา เป็นพระพุทธพจน์ 3 คาถากึ่ง นั่นคือ ทำความดี, ละเว้นความชั่ว, และทำใจให้บริสุทธิ์

It was unclear as to when the Magha Puja Ceremony took place. However, in a guide book of ceremonies for the twelve months written by King Chulalongkorn (Rama V), it is said that,
พิธีมาฆบูชานี้ไม่แน่ชัดว่าเกิดขึ้นเมื่อใด อย่างไรก็ตาม ในหนังสือพระราชพิธีเฉลิมฉลอง 12 เดือน ที่พระราชนิพนธ์โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) กล่าวไว้ว่า

In the past, the Magha Puja was never performed, the ceremony has just been practised during the reign of King Mongkut (Rama IV)"
ในอดีต พิธีมาฆบูชานี้ไม่เคยกระทำกัน เพี่งมาประกอบพิธีกรรมในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)

Having realized the significance of this day, King Rama IV ordered the royal Magha Puja Ceremony tobe performed in the Emerald Buddha Temple in 1851 and to be continued forever. Later the ceremony was widely accepted and performed throughout the kingdom.
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับสั่งให้ประกอบพิธีมาฆบูชาขึ้นในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในปี 2394 และกระทำสืบต่อๆกันมา แพร่หลายในราชอาณาจักรจนกระทั่งทุกวันนี้

The day is declared as a public holiday so that people from all walks of life can go to the temple to make merit and perform other religious activities in the morning and to take part in the candlelit procession or "Wien Tien" in Thai in the evening.
วันนี่้ได้รับการประกาศเป็นวันหยุตนักขัตฤกษ์ เพื่อให้ประชาชนทุกสาขาอาชีพ ไปวัดเพื่อทำบุญและประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในตอนเช้า และ ร่วมเวียนเทียนในตอนค่ำ

At the same time, at this auspicious time, His Majesty the King will preside over the religious rites to mark the occasion at the Emerald Buddha Temple and will later lead hundreds of people in a candlelit procession held within the temple's compound.
ในเวลาเดียวกัน เนื่องในโอกาสอันเป็นมงคลนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จไปประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาที่วัดพระศรีรัุตนศาสดารม และทรงนำพสกนิกรเวียนเทียนร่วมเวียนเทียนภายในวัดนี้ด้วย

In fact, the candlelit procession can be held at any time suitable to the public's convenience, either in the morning or in the evening. However, in Bangkok it will usually take place in the evening at about 8.00 p.m. and the procession will be led by Buddhist monks.
ในความเป็นจริงแล้ว การเวียนเทียนสามารถกระทำในช่วงเวลาใดก็ได้เพื่อความสะดวกของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นช่วงเช้าหรือช่วงเย็น อย่างไรก็ตาม ในกรุงเทพฯ มักนิยมกระทำาการเวียนในช่วงเย็น ประมาณ 20.00 น. และจะมีพระสงฆ์เป็นผู้นำ

In general, most Buddhists are not aware of the Significance of this day. As a result, a number of people taking part in the ceremony may be less than on other days such as Visakha Puja or Asanha Puja Days. Even so Magha Puja Day carries an equal meaning to all Buddhists
โดยทั่วไปแล้ว พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ ไม่ค่อยรู้ถึงความสำคัญของวันนี้ ส่งผลให้ จำนวนผู้เข้าร่วมพิธีนี้อาจน้อยกว่าวันอื่นๆ เช่น วันวิสาขบูชา หรือ วันอาฬหบูชา แม้กระนั้น วันมาฆบูชาก้อยังมีความสำคัญต่อพุทธศาสนิกชนอยู่ดี