Mahidol University
Home Message from the Dean Feedback Sitemap
English Version
เกี่ยวกับบัณฑิตวิทยาลัย ข้อมูลด้านการศึกษา การรับสมัคร ข้อมูลหลักสูตรการศึกษา กิจกรรมต่างๆ งานวิจัย/วิทยานิพนธ์ ทุนการศึกษา กระดานข่าว
       
 
  ปฏิทินการศึกษา  
  ข้อบังคับ กฎ ระเบียบต่างๆ  
  ข้อกำหนดวิทยานิพนธ์  
  อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา  
  อัตราค่าใช้จ่ายอื่นๆ  
  Download แบบฟอร์มต่างๆ  
  ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ม.มหิดล  
  บริการนักศึกษา  
  ระบบพัฒนาและประกันคุณภาพ
หลักสูตรบัณฑิตศึกษา(Intranet)
 
  การจัดทำเอกสารหลักสูตรระดับ
บัณฑิตศึกษา (Intranet)
 
  จริยธรรมการวิจัย  
  การสอบ/อบรมภาษาอังกฤษ  
  Class Schedule  
Academic Information
Mahidol University
 
เรื่อง อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาสำหรับนักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล หลักสูตรนานาชาติ พ.ศ. ๒๕๕๕
 
Download PDF File
   
   

            มหาวิทยาลัยมหิดล  ขอกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา สำหรับนักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหิดล หลักสูตรนานาชาติ     
            อาศัยอำนาจตามความข้อ ๑๑ ของข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยการบริหารงบประมาณและการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑  อธิการบดีจึงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา ไว้ดังนี้
            ๑. ให้ยกเลิกประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาสำหรับนักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล หลักสูตรนานาชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕
            ๒. ค่าบำรุงการศึกษา (Education Service  Fee) ปีการศึกษาละ ๖,๘๐๐ บาท
                   (๑) ภาคการศึกษาแรก    ๓,๗๕๐ บาท
                   (๒) ภาคการศึกษาที่สอง  ๓,๐๕๐ บาท
            ๓. ค่ากิจกรรมนักศึกษา (Student Activities Fee) ภาคการศึกษาละ ๒๕๐ บาท
            ๔. ค่าบำรุงบัณฑิตวิทยาลัย (Graduate Studies Fee) ภาคการศึกษาละ ๗๕๐ บาท
            ๕. ค่าบริการ  Internet  (Internet) ภาคการศึกษาละ ๓๐๐ บาท
            ๖. Health Insurance (Additional Fee for Non-Thai Students) ปีละ ๑,๓๐๐ บาท
            ๗. ค่าหน่วยกิต (Graduate Tuition) (บรรยาย /ปฏิบัติ /สัมมนา)
            (๗.๑) กลุ่มสาขาวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี   หน่วยกิตละ ๙,๐๐๐ บาท*
            (๗.๒) กลุ่มสาขาวิชาทางด้านสาธารณสุขศาสตร์ หน่วยกิตละ ๔,๒๐๐ บาท*
            (๗.๓) กลุ่มสาขาวิชาทางด้านสังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์และศึกษาศาสตร์ หน่วยกิตละ ๔,๒๐๐ บาท*                                    
             * ค่าหน่วยกิตสำหรับนักศึกษา ที่มิได้รับทุนการศึกษาจากแหล่งทุนใด ๆ หรือได้รับทุนในจำนวนเงินที่ไม่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายในส่วนค่าหน่วยกิต หลักสูตรนานาชาติที่นักศึกษา ศึกษาและบัณฑิตวิทยาลัยอาจพิจารณาให้ทุนด้วยการลดหย่อนค่าหน่วยกิต ให้แก่นักศึกษา ทั้งนี้การลดหย่อนต้องไม่ต่ำกว่าอัตราค่าหน่วยกิต สำหรับหลักสูตรปกติ

            (๗.๔) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ หน่วยกิตละ ๓,๖๐๐ บาท


            ๘. ค่าลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ (Thesis Registration) ชำระภาคการศึกษาแรกของการลงทะเบียนวิทยานิพนธ์
            (๘.๑) กลุ่มสาขาวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
            (๑) หลักสูตรมหาบัณฑิต
            หลักสูตรมหาบัณฑิต แผน ก แบบ ก(๑) ฉบับละ  ๒๕,๒๐๐ บาท
            หลักสูตรมหาบัณฑิต แผน ก แบบ ก(๒) ฉบับละ    ๘,๔๐๐ บาท
            (๒) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
            คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร   ฉบับละ ๑๘,๐๐๐ บาท
            (๓) หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต
            สำหรับผู้ลงทะเบียน ๓๖  หน่วยกิต ฉบับละ ๒๕,๒๐๐ บาท
            สำหรับผู้ลงทะเบียน ๔๘  หน่วยกิต ฉบับละ ๓๓,๖๐๐ บาท
            สำหรับผู้ลงทะเบียน  ๗๒ หน่วยกิต ฉบับละ ๕๐,๔๐๐ บาท
            ค่าลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต แบ่งชำระ ๒ ภาคการศึกษา คือ ภาคการศึกษาแรกและภาคการศึกษาที่สองของการลงทะเบียนวิทยานิพนธ์  
          (๘.๒) กลุ่มสาขาวิชาทางด้านสาธารณสุขศาสตร์ และ
          (๘.๓) กลุ่มสาขาวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์

            (๑) หลักสูตรมหาบัณฑิต ฉบับละ ๕๐,๔๐๐ บาท แบ่งชำระ ๒ ภาคการศึกษา คือ ภาคการศึกษาแรกและภาคการศึกษาที่สอง ของการลงทะเบียนวิทยานิพนธ์          
            (๒) หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต (แบ่งชำระ ๒ ภาคการศึกษา คือ ภาคการศึกษาแรกและภาคการศึกษาที่สองของการลงทะเบียนวิทยานิพนธ์)
            สำหรับผู้ลงทะเบียน ๓๖ หน่วยกิต ฉบับละ ๑๕๑,๒๐๐ บาท
            สำหรับผู้ลงทะเบียน ๔๘ หน่วยกิต  ฉบับละ ๒๐๑,๖๐๐ บาท
            (๓) หลักสูตรการจัดการสาธารณสุขมูลฐานมหาบัณฑิต  ทั้งแผน ก แบบ ก(๑) และ แผน ก แบบ ก(๒) ฉบับละ ๑๐,๐๐๐ บาท
            (๔) หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา
            สำหรับผู้ลงทะเบียน ๓๖ หน่วยกิต ฉบับละ ๑๕๑,๒๐๐ บาท
            สำหรับผู้ลงทะเบียน ๔๘ หน่วยกิต ฉบับละ ๒๐๑,๖๐๐ บาท
            แบ่งชำระ ๒ ภาคการศึกษา คือ ภาคการศึกษาแรกและภาคการศึกษาที่สอง ของการลงทะเบียนวิทยานิพนธ์
            (๕) หลักสูตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ฉบับละ ๒๕,๒๐๐ บาท แบ่งชำระ ๒ ภาคการศึกษา คือ ภาคการศึกษาแรกและภาคการศึกษาที่สองของการลงทะเบียนวิทยานิพนธ์
            (๕.๑) หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์
            แผน กแบบ ก(๒)  ฉบับละ  ๕๐,๔๐๐ บาท
            แผน ข หน่วยกิตละ ๔,๒๐๐ บาท
            (๖) หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม
            สำหรับผู้ลงทะเบียน ๓๖ หน่วยกิต ฉบับละ ๗๕,๖๐๐ บาท
            สำหรับผู้ลงทะเบียน ๔๘ หน่วยกิต ฉบับละ ๑๐๐,๘๐๐ บาท
            แบ่งชำระ ๒ ภาคการศึกษา คือ ภาคการศึกษาแรกและภาคการศึกษาที่สองของการลงทะเบียนวิทยานิพนธ์
            (๗) หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคม เศรษฐศาสตร์และการบริหาร คณะเภสัชศาสตร์
            สำหรับผู้ลงทะเบียน ๓๖ หน่วยกิต ฉบับละ ๔๓,๒๐๐ บาท
            สำหรับผู้ลงทะเบียน ๔๘ หน่วยกิต  ฉบับละ ๕๗,๖๐๐ บาท
            แบ่งชำระ ๒ ภาคการศึกษา คือ ภาคการศึกษาแรกและภาคการศึกษา ที่สองของการลงทะเบียนวิทยานิพนธ์


           ๙. ค่าลงทะเบียนสารนิพนธ์  (Thematic Paper Registration) หน่วยกิตละ ๙๐๐ บาท ต้องชำระเมื่อลงทะเบียนครั้งแรกรวมเป็นฉบับตามจำนวนหน่วยกิตของรายวิชาสารนิพนธ์
            (๑) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับละ ๙,๐๐๐ บาท


           ๑๐. ค่าวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ (Research Supplies Fee / Thematic Paper Supplies Fee ) ชำระพร้อมค่าลงทะเบียนวิทยานิพนธ์  /  สารนิพนธ์  (ค่าวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์ / สารนิพนธ์สำหรับนักศึกษาที่มิได้รับทุนการศึกษาจากแหล่งทุนใด ๆ หรือได้รับทุนในจำนวนเงินที่ไม่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายในส่วนค่าวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์ / สารนิพนธ์ หลักสูตรนานาชาติที่นักศึกษาศึกษาและบัณฑิตวิทยาลัย อาจพิจารณาให้ทุนค่าวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์ / สารนิพนธ์ ด้วยการลดหย่อนหรือยกเว้นค่าวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์ / สารนิพนธ์ ให้แก่นักศึกษา เป็นกรณีไป)
          (๑๐.๑) กลุ่มสาขาวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
            (๑) นักศึกษาหลักสูตรมหาบัณฑิต   คนละ ๑๕๐,๐๐๐ บาท
            (๒) นักศึกษาหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต  คนละ ๓๐๐,๐๐๐ บาท
            (๓)หลักสูตรสาขาอณูพันธุศาสตร์และพันธุวิศวกรรมศาสตร์และสาขาพันธุศาสตร์   
ระดับโมเลกุลและพันธุวิศวกรรมศาสตร์
            นักศึกษาหลักสูตรมหาบัณฑิต คนละ ๑๒๐,๐๐๐ บาท
            นักศึกษาหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต คนละ ๓๐๐,๐๐๐ บาท
            (๔) นักศึกษาหลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ คนละ ๑๕,๐๐๐ บาท* แบ่งชำระ ดังนี้
            ชั้นปีที่ ๒ ภาคการศึกษาที่  ๑ ชำระ ๑๐,๐๐๐  บาท
            ชั้นปีที่ ๒ ภาคการศึกษาที่  ๒ ชำระ   ๕,๐๐๐  บาท กรณีนักศึกษาไม่สามารถสำเร็จการศึกษานักศึกษาภายใน ๒ ปีต้องชำระเพิ่มเติม ภาคการศึกษาละ  ๕,๐๐๐ บาท จนกว่าจะสำเร็จการศึกษา
            (๕) นักศึกษาหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ คนละ ๓๐,๐๐๐บาท* แบ่งชำระ ดังนี้
            ชั้นปีที่ ๒  ภาคการศึกษาที่ ๑ ชำระ ๑๐,๐๐๐  บาท
            ชั้นปีที่ ๒  ภาคการศึกษาที่ ๒ ชำระ    ๕,๐๐๐  บาท
            ชั้นปีที่ ๓  ภาคการศึกษาที่ ๑ ชำระ  ๑๐,๐๐๐  บาท
            ชั้นปีที่ ๓  ภาคการศึกษาที่ ๒ ชำระ    ๕,๐๐๐  บาท
            กรณีนักศึกษาไม่สามารถสำเร็จการศึกษาภายใน ๓ปี นักศึกษาต้องชำระเพิ่มเติม ภาคการศึกษาละ  ๕,๐๐๐ บาท จนกว่าจะสำเร็จการศึกษา
            * อัตรานี้เป็นอัตราลดหย่อนค่าวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์ สำหรับนักศึกษาที่ไม่ได้รับทุนใด ๆ หรือที่ได้รับทุนแต่วงเงินไม่เพียงพอสำหรับอัตรานานาชาติ
            (๖) หลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการพืช คนละ ๑๕๐,๐๐๐ บาท **   (แบ่งชำระ ๒ ภาคการศึกษาต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มลงทะเบียนวิทยานิพนธ์พร้อม ค่าลงทะเบียนวิทยานิพนธ์) ดังนี้           
            ชั้นปีที่ ๑ ภาคการศึกษาที่ ๒ ชำระ    ๕๐,๐๐๐  บาท
            ชั้นปีที่ ๒ ภาคการศึกษาที่ ๑ ชำระ  ๑๐๐,๐๐๐  บาท
            **  นักศึกษาที่ได้รับการพิจารณาให้ได้รับทุนค่าวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์จากหลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการพืช และบัณฑิตวิทยาลัยด้วยการลดหย่อนค่าวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์ ให้ชำระภายในวงเงินไม่เกิน ๓๐,๐๐๐ บาท และแบ่งชำระ ดังนี้
            ชั้นปีที่ ๑ ภาคการศึกษาที่  ๒  ชำระ   ๑๐,๐๐๐  บาท
            ชั้นปีที่ ๒ ภาคการศึกษาที่  ๑  ชำระ     ๕,๐๐๐  บาท
            ชั้นปีที่ ๒ ภาคการศึกษาที่  ๒  ชำระ     ๕,๐๐๐  บาท
            ชั้นปีที่ ๓  ภาคการศึกษาที่  ๑  ชำระ    ๕,๐๐๐  บาท
            ชั้นปีที่ ๓  ภาคการศึกษาที่  ๒  ชำระ    ๕,๐๐๐  บาท
            สำหรับนักศึกษาที่สามารถสำเร็จการศึกษาได้ก่อน ๓ ปีการศึกษา ให้ชำระค่าวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์ ตามภาคการศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนจริงไม่จำเป็นต้องชำระให้ครบจำนวน ๓๐,๐๐๐ บาท
            (๗) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตกรรมรากเทียม คณะทันตแพทยศาสตร์ คนละ ๑,๐๕๐,๐๐๐ บาท โดยแบ่งชำระภาคการศึกษาละ ๒๖๒,๕๐๐ บาท ๔ ภาคการศึกษา ต่อเนื่องตั้งแต่แรกเข้า

            (๑๐.๒) กลุ่มสาขาวิชาทางด้านสาธารณสุขศาสตร์
            (๑) หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคมเศรษฐศาสตร์และการบริหาร
            ผู้สำเร็จปริญญาตรีแล้วเข้าศึกษาในหลักสูตรนี้ คนละ ๑๘๐,๐๐๐ บาท (ชำระเมื่อเริ่มลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ โดยแบ่งชำระ ภาคการศึกษาละ ๔๕,๐๐๐ บาท ๔ ภาคการศึกษาต่อเนื่องกัน จนครบ อัตราที่กำหนดและต้องก่อนการขอสอบวิทยานิพนธ์)
            ผู้สำเร็จปริญญาโทแล้วเข้าศึกษาในหลักสูตรนี้ คนละ ๑๒๐,๐๐๐ บาท (ชำระเมื่อเริ่มลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ โดยแบ่งชำระ ภาคการศึกษาละ ๔๐,๐๐๐ บาท  ๓ ภาคการศึกษาต่อเนื่องกัน จนครบ อัตราที่กำหนดและต้องก่อนการขอสอบวิทยานิพนธ์)     
            (๒)  หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต คนละ๒๐๐,๐๐๐ บาท ประกอบด้วย
            ค่าธรรมเนียมสนับสนุนการฝึกภาคสนามในชุมชนหรือในพื้นที่ปฏิบัติ    
งานจริง  ๘๐,๐๐๐ บาท
            ค่าธรรมเนียมสนับสนุนการศึกษาดูงานทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ              
หรือนำเสนอผลงานวิทยานิพนธ์ในต่างประเทศ ๘๐,๐๐๐ บาท
            ค่าอุปกรณ์พิเศษในการใช้ห้องปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และการ
ส่งเสริมสุขภาพ ๔๐,๐๐๐ บาท  
            (๑๐.๓) กลุ่มสาขาวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์       
               (๑) หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา คนละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท


            ๑๑. ค่าธรรมเนียมการฝึกภาคสนาม  (Work-Site Training)
            (๑๑.๑) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
            (๑) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม  
            ENMT 606 Practices of Environmental Management and Technology  ๓ หน่วยกิต คนละ ๕๐,๐๐๐ บาท (นักศึกษาต้องชำระค่าหน่วยกิตประจำวิชาด้วย)
            (๑๑.๒) คณะทันตแพทยศาสตร์
            (๑) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตกรรมจัดฟัน  คนละ ๑๕๐,๐๐๐ บาท แบ่งชำระ ๓ ปีการศึกษาดังนี้
            ชั้นปีที่ ๑ ภาคการศึกษาที่  ๑  ชำระ   ๕๐,๐๐๐  บาท
            ชั้นปีที่ ๒ ภาคการศึกษาที่  ๑  ชำระ   ๕๐,๐๐๐  บาท
            ชั้นปีที่ ๓ ภาคการศึกษาที่  ๑  ชำระ   ๕๐,๐๐๐  บาท

            (๒) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ วิชาเอกทันตกรรม
ชุมชน คนละ ๕,๐๐๐ บาท ชำระภาคการศึกษาที่ ๑ ของชั้นปีที่ ๑
            (๑๑.๓) สถาบันโภชนาการ
            (๑) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร  คนละ ๑,๕๐๐ บาท  เมื่อลงทะเบียนรายวิชาต่อไปนี้    (นักศึกษาต้องชำระค่าหน่วยกิตประจำวิชาด้วย)
            NUND 608 Nutrition and Dietetics Practicum in Metabolic Syndrome  ๒ หน่วยกิต
            NUND 609 Nutrition and Dietetics Practicum in Enteral and Parenteral Nutrition  ๒ หน่วยกิต
            NUND 616 Advanced Food Service Management Practicum  ๒ หน่วยกิต
            NUND 617 Nutrition and Dietetics Practicum Weight Management and   
Diabetes Mellitus  ๒ หน่วยกิต
            NUND 618 Nutrition and Dietetics Practicum in Dyslipidemia and  
Cardiovascular Diseases  ๒ หน่วยกิต
            NUND 619 Nutrition and Dietetics Practicum in Community  ๒ หน่วยกิต
            NUND 620 Nutrition and Dietetics Practicum in Pediatrics ๒ หน่วยกิต
            NUND 621 Nutrition and Dietetics Practicum in Kidney Diseases  ๒ หน่วยกิต
            NUND 622 Nutrition and Dietetics Practicum in HIV/AIDS  ๒ หน่วยกิต
            NUND 623 Nutrition and Dietetics Practicum in Cancer  ๒ หน่วยกิต
            NUND 624 Nutrition and Dietetics Practicum in Elderly  ๒ หน่วยกิต
            NUND 625 Nutrition and Dietetics Practicum in Sports and Fitness  ๒ หน่วยกิต
            NUND 626 Nutrition and Dietetics Practicum in the Food Industry  ๒ หน่วยกิต


            ๑๒. ค่าธรรมเนียมการศึกษาดูงาน (Work-Site Study Fee)
            (๑๒.๑) คณะทันตแพทยศาสตร์ 
            (๑)  หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตกรรมการจัดฟัน คนละ ๔๕๐,๐๐๐ บาท แบ่งชำระ ๓ ปีการศึกษาดังนี้
            ชั้นปีที่ ๑ ภาคการศึกษาที่ ๑   ๑๕๐,๐๐๐ บาท
            ชั้นปีที่ ๒ ภาคการศึกษาที่ ๑   ๑๕๐,๐๐๐ บาท
            ชั้นปีที่ ๓ ภาคการศึกษาที่ ๑   ๑๕๐,๐๐๐ บาท
            (๒)  หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ วิชาเอกรังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเซียล คนละ ๕,๐๐๐ บาท เมื่อลงทะเบียนชั้นปีที่ ๑ ภาคการศึกษาที่ ๑
            (๓) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ วิชาเอกศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล คนละ ๑๐,๐๐๐ บาท เมื่อลงทะเบียนชั้นปีที่ ๑ ภาคการศึกษาที่ ๑
            (๔) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ วิชาเอกทันตกรรมชุมชน คนละ ๕,๐๐๐ บาท เมื่อลงทะเบียนชั้นปีที่ ๑ ภาคการศึกษาที่ ๑
            (๕) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ วิชาเอกวิทยาระบบบดเคี้ยว คนละ ๒,๐๐๐ บาท เมื่อลงทะเบียนในปีที่ ๑ ภาคการศึกษาที่ ๑
            (๑๒.๒) คณะเภสัชศาสตร์
            (๑) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคม เศรษฐศาสตร์และการบริหาร คนละ ๑๐,๐๐๐ บาท แบ่งชำระดังนี้
            ชั้นปีที่ ๒ ภาคการศึกษาที่ ๑  ๕,๐๐๐ บาท
            ชั้นปีที่ ๒ ภาคการศึกษาที่ ๒  ๕,๐๐๐ บาท
            (๑๒.๓) คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
            (๑) หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา
            SHED 537 Seminar on Comparative Educational Management  ๓ หน่วยกิต  คนละ ๕๐,๐๐๐ บาท (นักศึกษาต้องชำระค่าหน่วยกิตประจำวิชาด้วย)
            (๑๒.๔) คณะสาธารณสุขศาสตร์
            (๑) หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คนละ ๕๐,๐๐๐ บาท เมื่อลงทะเบียนชั้นปีที่ ๑ ภาคการศึกษาที่ ๑
            (๑๒.๕) สถาบันโภชนาการ
            (๑) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารเพื่อโภชนาการ
            NUFN 643 Food and Nutrition Activities Field Trip  ๑ หน่วยกิต คนละ ๕,๐๐๐ บาท (นักศึกษาต้องชำระค่าหน่วยกิตประจำวิชาด้วย)


            ๑๓.  ค่าอุปกรณ์พิเศษ  (Equipment and Facilities)
            (๑๓.๑) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
            (๑) หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ภาคการศึกษาละ   
๕,๐๐๐ บาท
            (๑๓.๒) คณะเภสัชศาสตร์
            (๑) หลักสูตรมหาบัณฑิต คนละ ๕,๐๐๐ บาท ชำระ ๔ ภาคการศึกษาต่อเนื่องนับตั้งแต่การลงทะเบียนเรียนครั้งแรก (เฉพาะนักศึกษาที่ได้รับการยกเว้น หรือลดหย่อนค่าวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์)
            (๒) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคม เศรษฐศาสตร์ และ 
การบริหาร คนละ ๑๐,๐๐๐ บาท แบ่งชำระดังนี้
            ชั้นปีที่ ๑ ภาคการศึกษาที่ ๑    ๕,๐๐๐ บาท
            ชั้นปีที่ ๑ ภาคการศึกษาที่ ๒    ๕,๐๐๐ บาท
            (๓) หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต ทุกสาขาวิชายกเว้นสาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคม เศรษฐศาสตร์ และการบริหาร คนละ ๕,๐๐๐ บาท ชำระ ๖ ภาคการศึกษาต่อเนื่องนับตั้งแต่การลงทะเบียนเรียนครั้งแรก (เฉพาะนักศึกษาที่ได้รับการยกเว้น หรือลดหย่อนค่าวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์)
             (๑๓.๓) คณะวิศวกรรมศาสตร์
            (๑) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คนละ ๒๐,๐๐๐ บาท   
แบ่งชำระดังนี้
            ชั้นปีที่ ๑ ภาคการศึกษาที่ ๑    ๑๐,๐๐๐ บาท
            ชั้นปีที่ ๑ ภาคการศึกษาที่ ๒    ๑๐,๐๐๐ บาท
            (๒) หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และวิศวกรรม คนละ ๑๐๘,๐๐๐ บาท แบ่งชำระภาคการศึกษาละ ๑๘,๐๐๐ บาท ๖ ภาคการศึกษาต่อเนื่องนับตั้งแต่การลงทะเบียนเรียนครั้งแรก
            (๑๓.๔) คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
            (๑) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ภาคการศึกษาละ ๘,๐๐๐ บาท (หลักสูตรและบัณฑิตวิทยาลัย อาจพิจารณาให้ทุนแก่นักศึกษาด้วยการลดหย่อนให้ชำระในอัตราครึ่งหนึ่งจากจำนวนเต็ม)
            (๑๓.๕) คณะทันตแพทยศาสตร์
            (๑)  หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตกรรมจัดฟัน คนละ ๓๐๐,๐๐๐ บาท แบ่งชำระ ๓ ปีการศึกษาดังนี้
            ชั้นปีที่ ๑ ภาคการศึกษาที่ ๑    ๑๐๐,๐๐๐ บาท
            ชั้นปีที่ ๒ ภาคการศึกษาที่ ๑    ๑๐๐,๐๐๐ บาท
            ชั้นปีที่ ๓ ภาคการศึกษาที่ ๑    ๑๐๐,๐๐๐ บาท
            (๒)  หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์
            (นักศึกษาอาจได้รับการยกเว้นหรือลดหย่อน ค่าอุปกรณ์พิเศษได้ตามดุลยพินิจของคณะทันตแพทยศาสตร์และบัณฑิตวิทยาลัย)
            (๒.๑) วิชาเอกทันตกรรมประดิษฐ์ คนละ ๒๐,๐๐๐ บาท  ชำระเมื่อลงทะเบียนเรียนครั้งแรก
            (๒.๒) วิชาเอกการประดิษฐ์ใบหน้าขากรรไกร ภาคการศึกษาละ ๕,๐๐๐ บาท ชำระทุกภาคการศึกษาที่ลงทะเบียน
            (๒.๓) วิชาเอกทันตกรรมหัตถการ  คนละ  ๓๐,๐๐๐ บาท ชำระเมื่อลงทะเบียนเรียนครั้งแรก
            (๒.๔) วิชาเอกรังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล คนละ ๒๐,๐๐๐ บาท แบ่งชำระภาคการศึกษาละ ๕,๐๐๐ บาท  ๔ ภาคการศึกษาต่อเนื่องนับตั้งแต่เมื่อลงทะเบียนครั้งแรก
            (๒.๕) วิชาเอกทันตกรรมชุมชน คนละ ๒๐,๐๐๐ บาท แบ่งชำระภาคการศึกษาละ ๕,๐๐๐ บาท ๔ ภาคการศึกษาต่อเนื่องนับตั้งแต่เมื่อลงทะเบียนครั้งแรก
            (๒.๖) วิชาเอกวิทยาระบบบดเคี้ยว ภาคการศึกษาละ ๕,๐๐๐ บาท ชำระทุกภาคการศึกษาที่ลงทะเบียน
            (๒.๗) วิชาเอกเวชศาสตร์ช่องปาก ภาคการศึกษาละ ๕,๐๐๐ บาท ชำระทุกภาคการศึกษาที่ลงทะเบียน
            (๓) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตกรรมรากเทียม  คนละ ๘๐,๐๐๐ บาท แบ่งชำระภาคการศึกษาละ ๒๐,๐๐๐ บาท ๔ ภาคการศึกษาต่อเนื่องตั้งแต่แรกเข้า

                              ทั้งนี้   ตั้งแต่ปีการศึกษา  ๒๕๕๕  เป็นต้นไป

                                                              ประกาศ  ณ  วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ 

Back Go to top page
You are visitor number
Since 14-11-2013
Graduate Studies
Mahidol University