word  PDF
COURSE OUTLINE
1.รหัสและชื่อรายวิชา: SHPE630 : POPULATION EDUCATION FOR DEVELOPMENT 3(3 -0 -0 )
สมปศ๖๓๐ : ประชากรศึกษาเพื่อการพัฒนา 3(3 -0 -0 )
2. หลักสูตรและประเภทของรายวิชา : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประชากรศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นรายวิชาในหมวดวิชาเลือก
3. วัตถุประสงค์ ของรายวิชา
4. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา :
Tentative Schedule
สัปดาห์ที่ /ครั้งที่ หัวข้อ จำนวนชั่วโมง อาจารย์ผู้สอน
บรรยาย ปฏิบัติ ศึกษาด้วยตัวเอง
1 ๑. แนะนำรายวิชา กระบวนการเรียนการสอน และการประเมินผล ๒. บทนำ ๑) ประวัติ ความเป็นมาของประชากรศึกษา ๒) ความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงระหว่างประชากรศึกษากับศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ๓) ขอบข่ายของประชากรศึกษา ในบริบทและกระบวนทัศน์ใหม่ ๔) ความคิดรอบยอดศัพท์ทางประชากร 3 - 6 -
2 ภาวะประชากร และการเปลี่ยนแปลงภาวะประชากรในระดับครอบครัว ภาค ประเทศภูมิภาค และระดับโลก ๑. นัยยะสำคัญของการศึกษาภาวะประชากรและกระบวนการเปลี่ยนแปลงภาวะประชากร ๒. ตัวแปรภายในระบบ และนอกระบบประชากรที่ทำให้ภาวะประชากรเปลี่ยนแปลง ๓. แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงภาวะประชากรโลกและประเทศไทยโอกาสและวิกฤตทางประชากร 3 - 6 -
4 ทิศทางพลวัตรประชากรกับการพัฒนาคุณภาพประชากร ๑. ประชากร สิ่งแวดล้อม และการพัฒนา ๒. แนวทางการพัฒนาคุณภาพประชากรโลก ๓. แนวทางการพัฒนาคุณภาพประชากรไทย 3 - 6 -
5 ๑. ทฤษฎีกระแสหลัก (Main stream) และกระแสรอง (Competitive Theories) ในการอธิบายทำนายและ ควบคุม ปรากฏการณ์ทางประชากร ๒. วิพากย์ทฤษฎี : ปรากฏการณ์และงานวิจัย 3 - 6 -
6 การวางแผนและการกำหนดนโยบายโดยใช้ข้อมูลประชากร ๑. นัยสำคัญของข้อมูลประชากรในการวางแผนและกำหนดนโยบาย ๒. เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล ๓. ข้อควรระวังในการใช้และการตีความผลการวิเคราะห์ข้อมูลประชากร ๔. กรณีตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลประชากรในการวางแผนและกำหนดนโยบายเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 3 - 6 -
7 นโยบายประชากรในบริบทจุลภาคและมหภาค ๑. ความรวบยอดที่สำคัญเกี่ยวกับนโยบายประชากร ๒. แนวคิดเกี่ยวกับยุทธวิธีการควบคุมการเปลี่ยนแปลงประชากรและพัฒนาคุณภาพประชากร ๓. นโยบายประชากรในไทย ภูมิภาคและโลก (นโยบายเจริญพันธุ์ นโยบายผู้สูงอายุ นโยบายทำแท้งฯลฯ) ๔. วิเคราะห์ผลสืบเนื่องของนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ และนโยบายประชากรของประเทศไทย 3 - 6 -
8 ภาวะสมรสในบริบทจุลภาคและมหภาค ๑. ความสำคัญ ความหมายสถานภาพ และชนิด การสมรส ดัชนีในการเปรียบเทียบเรื่องการสมรส ๒. แนวคิดทฤษฎีที่อธิบายการสมรสและคุณภาพชีวิตสมรส ๓. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตสมรส ๔. ภาวะสมรสและแบบแผนการสมรส ๕. นโยบายหรือแนวทางควบคุมหรือกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงภาวะสมรส. ๖. แนวโน้มใหม่และประเด็นใหม่เกี่ยวกับภาวะสมรส เช่นทัศนะใหม่ต่อการตั้งครอบครัว (Family Formation) การหย่าร้าง การสมรสข้ามชาติ 3 - 6 -
9 ภาวะเจริญพันธุ์ ในบริบทจุลภาคและมหภาค ๑. ความคิดรวบยอดที่สำคัญเกี่ยวกับภาวะเจริญพันธุ์ ๒. แนวคิดหรือทฤษฎีและวาทกรรม(Demographic discourse) เกี่ยวกับภาวะเจริญพันธุ์ ๓. ปัจจัยทั้งในและนอกระบบประชากรที่มีผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ ๔. ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภาวะเจริญพันธุ์ ๕. นโยบายแนวทางควบคุมหรือกระตุ้นการเปลี่ยนแปลง ภาวะเจริญพันธุ์ ๖. ประเด็นใหม่เกี่ยวกับภาวะเจริญพันธุ์ เช่น อนามัยเจริญพันธุ์ (Reproductive Health) บทบาทเพศ (Gender) จริยธรรมการโคลนนิ่ง สิทธิเจริญพันธุ์ 3 - 6 -
10 ภาวการณ์ตายและการเจ็บป่วยใน บริบทจุลภาคและมหภาค ๑. ความคิดรวบยอดที่สำคัญเกี่ยวกับภาวะการตายและการเจ็บป่วย ๒. แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยและการตาย ๓. ระดับและแนวโน้มของภาวะการตายและการเจ็บป่วย ๔. ปัจจัยทั้งในและนอกระบบประชากรที่มีผลต่อภาวะการตายและการเจ็บป่วย ๕. ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภาวะการตายและการเจ็บป่วย ๖. นโยบาย และแนวทางในการลดอัตราการตายและการเจ็บป่วย ๗. ประเด็นใหม่ เกี่ยวกับภาวะการตายและการเจ็บป่วย เช่น โรคที่กลับมาใหม่ ระบบบริการฉุกเฉิน การแพทย์ทางเลือก การประกันสุขภาพ สิทธิการตาย 3 - 6 -
11 การย้ายถิ่นในบริบทจุลภาคและมหภาค ๑. ความคิดรวบยอดที่สำคัญเกี่ยวกับการย้ายถิ่น ๒. แนวคิดหรือทฤษฎีที่เกี่ยวกับการย้ายถิ่น ๓. ระดับและแนวโน้มของการย้ายถิ่น ๔. ปัจจัยทั้งในระบบและนอกระบบประชากรที่มีผลต่อการย้ายถิ่น ๕. ผลกระทบของการย้ายถิ่นและความเป็นเมือง ๖. เมืองและความเป็นเมือง ๗. นโยบาย และแนวทางในการแก้ปัญหาการกระจายตัวและการตั้งถิ่นฐาน ๘. ประเด็นใหม่เกี่ยวกับการย้ายถิ่น เช่น คนไร้สัญชาติ การย้ายถิ่นของผู้สูงอายุ 3 - 6 -
12 กำลังแรงงานในบริบทจุลภาคและมหภาค ๑. ความคิดรวบยอดที่สำคัญเกี่ยวกับเรื่องแรงงาน ๒. แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับแรงงาน ๓. ระดับและแนวโน้มของสถานการณ์แรงงาน ๔. ปัญหาแรงงานด้านปริมาณและคุณภาพ ๕. นโยบายระดับจุลภาคและมหภาคเกี่ยวกับแรงงาน ๖. ประเด็นใหม่เกี่ยวกับเรื่องแรงงาน เช่น แรงงานต่างด้าว แรงงานผู้สูงอายุ การว่างงาน สวัสดิการ แรงงาน 3 - 6 -
13 นำเสนองานเดี่ยว 9 - 18 -
14 ประเด็นเร่งด่วนที่ควรพัฒนาสร้างองค์ความรู้ในทางประชากรศึกษา 3 - 6 -